posttoday

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เรื่องสำคัญที่อย่ามองข้าม

06 กันยายน 2560

ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 1,000 คน เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เด็กมีโอกาสได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 1,000 คน เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เด็กมีโอกาสได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น การมีอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยภายในรถจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ “ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก” ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาความรุนแรงได้หากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น ด้วยเหตุนี้ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้แนะข้อควรปฏิบัติและการเลือกที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ดังนี้

>>การเลือกใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

&<0026; เปลเด็กอ่อน เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดหรือเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 2.5 กก.

&<0026; ที่นั่งชนิดหันหน้าไปทางด้านหลังรถ เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 9 กก. และมีส่วนสูงประมาณ 75 ซม. หรือเด็กตั้งแต่แรกเกิด-1 ขวบ โดยจัดวางที่นั่งเด็กไว้บริเวณเบาะหลังรถ และให้เด็กนั่งหันหน้าไปด้านหลัง ซึ่งที่นั่งประเภทนี้จะช่วยรองรับคอและกระจายแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุชนจากด้านหน้า

&<0026; ที่นั่งชนิดหันหน้าไปทางหน้ารถ เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 9-18 กก. ส่วนสูงตั้งแต่ 75-110 ซม. หรืออายุประมาณ 1-5 ขวบ โดยติดตั้งไว้บริเวณเบาะหลัง ซึ่งที่นั่งชนิดนี้สามารถใช้ได้ทั้งหันไปด้านหน้าและด้านหลังรถ

&<0026; ที่นั่งเสริม เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 18-27 กก. ความสูงประมาณ 110-135 ซม. อายุประมาณ 5-10 ขวบ โดยที่นั่งเสริมนี้จะช่วยให้เด็กสามารถคาดเข็มขัดนิรภัยภายในรถยนต์ได้พอดีกับลำตัว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งนิรภัยชนิดใดก็แล้วแต่ หากเป็นไปได้ควรพาเด็กๆ ไปทดลองนั่ง เพื่อให้มั่นใจว่าที่นั่งเหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็ก

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เรื่องสำคัญที่อย่ามองข้าม

>>การนำเด็กโดยสารรถยนต์

&<0026; ให้เด็กใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ไม่ควรให้เด็กเล็กคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ใหญ่ เพราะเมื่อเข็มขัดไม่พอดีกับร่างกายของเด็ก เข็มขัดจึงอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เมื่อประสบอุบัติเหตุแรงรัดของเข็มขัดนิรภัยจะทำให้เกิดแรงกระแทกหรือกระตุกอย่างรุนแรง ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากกระดูกต้นคอหัก กระดูกสันหลังหรือท้องแตกได้

&<0026; หากเป็นเด็กโต สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ใหญ่ได้ แต่เด็กต้องมีความสูงเพียงพอที่จะนั่งตัวตรงห้อยขากับเบาะรถและหลังพิงพนักได้ถนัด โดยส่วนล่างของเข็มขัดนิรภัยต้องพาดผ่านกระดูกเชิงกราน และส่วนบนพาดผ่านหน้าอกในระดับพอดี

&<0026; กรณีไม่มีที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ควรให้เด็กนั่งเบาะหลังรถค่อนไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อออกให้ห่างจากคอนโซลและกระจกรถให้มากที่สุด รวมทั้งห้ามนำเด็กนั่งบริเวณเบาะด้านหน้ารถ และไม่นำเด็กนั่งตักผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร เพราะหากประสบอุบัติเหตุ เด็กจะได้รับอันตรายจากการกระแทก เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อีกทั้งเด็กอาจถูกถุงลมนิรภัยอัดใส่ใบหน้า ทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ &O5532;