posttoday

รวมที่สุด 'Fake News สุขภาพ' ปรากฏการณ์ข่าวปลอมในรอบ 1 ปี

23 ธันวาคม 2562

"กัญชารักษามะเร็ง" เต็ง 1 Fake News ด้านสุขภาพ สสส.เปิดปรากฏการณ์ข่าวปลอมด้านสุขภาพในรอบ 1 ปี จากการสำรวจพฤติกรรมบนโลกออนไลน์

 "กัญชารักษามะเร็ง" เต็ง 1 Fake News ด้านสุขภาพ สสส.เปิดปรากฏการณ์ข่าวปลอมด้านสุขภาพในรอบ 1 ปี จากการสำรวจพฤติกรรมบนโลกออนไลน์

ข้อมูลจากเอกสารจับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2563 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุ จากการสำรวจพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2561-มิถุนายน 2562 พบว่า 4 เพจ บน Facebook Page ที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ Fake News ด้านสุขภาพ ได้แก่ชัวร์ก่อนแชร์’ ‘อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์’ ‘หมอแล็บแพนด้าและความรู้สนุก ๆ แบบหมอแมวเมื่อเลือกดูเฉพาะ 5 ข่าวที่ได้รับ engagement มากที่สุดของแต่ละเพจ โดยคัดเลือกเฉพาะข่าวที่ไม่ซ้ำกัน สรุปเป็น 18 ข่าว ได้ดังนี้

  1. กัญชารักษามะเร็ง
  2. อังกาบหนูรักษามะเร็ง
  3. หนานเฉาเว่ยรักษาสารพัดโรค
  4. บัตรพลังงานรักษาสารพัดโรค
  5. ไข่มุกย่อยยากสะสมตามร่างกาย
  6. ยาฉีดต้าน HIV
  7. คนเป็นเบาหวานห้ามกินทุเรียน
  8. ฉี่จักจั่นรักษาโรค
  9. มันหมูสารพัดสรรพคุณ
  10. ความฉลาดของลูกได้จากแม่
  11. อาหารเค็มคืออาหารที่มีไอโอดีน
  12. เนื้อไก่มีฮอร์โมนเร่งโต
  13. น้ำมะพร้าวแก้อาการบ้านหมุน
  14. ไข่มุกปลอมทำจากยาง
  15. ดี คอนแทค รักษาดวงตา
  16. ผงชูรสเป็นสารอันตราย
  17. เครื่องตรวจสุขภาพควอนตั้ม
  18. จุกนมปลอมใส่น้ำผึ้งสำหรับทารก
    1. รวมที่สุด 'Fake News สุขภาพ' ปรากฏการณ์ข่าวปลอมในรอบ 1 ปี

      รวมที่สุด 'Fake News สุขภาพ' ปรากฏการณ์ข่าวปลอมในรอบ 1 ปี

      รวมที่สุด 'Fake News สุขภาพ' ปรากฏการณ์ข่าวปลอมในรอบ 1 ปี

      จะพบว่าประเด็นน้ำมันกัญชา, อังกาบหนู, หนานเฉาเหว่ย และบัตรพลังงานเป็น 4 ข่าว อันดับต้นแห่งปีที่มีข้อความมากที่สุด ได้รับ engagement มากที่สุด และได้รับการแชร์มากที่สุด

      ขณะที่ข่าวปลอมเรื่องความฉลาดของลูก ได้จากแม่มากกว่าพ่อติดอันดับข่าวปลอมที่ได้รับ Engagement มากที่สุดและได้รับการแชร์มากที่สุด

      สำหรับช่องทางที่มีการพูดถึง Fake News มากที่สุด ซึ่งในที่นี้หมายถึงการพูดถึงข่าวปลอมในทุกแง่ทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ข่าวปลอม การให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม หรือการพูดคุยเกี่ยวกับข่าวปลอมนั้นๆ ซึ่งพบว่า Facebook เป็นช่องทางที่มีการพูดถึงข่าวปลอมมากที่สุดถึง 65% ซึ่งมีทั้งการเผยแพร่ข่าวปลอม และการให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม ตามด้วย Twitter 13% ข้อความจากสำนักข่าวต่างๆ ซึ่งเป็นการให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม 12% Youtube 6% Pantip 3% และอินสตาแกรม 1%

       

      ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.)