posttoday

นักวิทยาศาสตร์เผย "กินมื้อเช้าน้อย ส่อแววเครียดมาก"

23 สิงหาคม 2562

หากตอนนี้กำลังเริ่มรู้สึกหงุดหงิด ไม่ต้องคิดมากเดี๋ยวจะเครียด แค่หาอะไรรองท้องหรือมองหามื้อเช้าก็ช่วยลดความรู้สึกนี้ลงได้แล้ว

หากตอนนี้กำลังเริ่มรู้สึกหงุดหงิด ไม่ต้องคิดมากเดี๋ยวจะเครียด แค่หาอะไรรองท้องหรือมองหามื้อเช้าก็ช่วยลดความรู้สึกนี้ลงได้แล้ว

หลายครั้งเราพบเห็นไลฟ์สไตล์คนเมืองที่มักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการกินอาหารเช้า เพราะความเร่งรีบ ไม่มีเวลาเตรียม หรือคิดว่าเผลอแป๊บเดียวก็มื้อเที่ยง แล้วเคยสังเกตตัวเองบ้างไหมว่า วันไหนที่ไม่ได้กินมื้อเช้า พอสายหน่อยแล้วรู้สึกหงุดหงิดง่าย หรืออารมณ์อ่อนไหวง่าย

นักวิทยาศาสตร์เผย "กินมื้อเช้าน้อย ส่อแววเครียดมาก"

ที่เป็นแบบนี้นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการศึกษามาแล้ว พบว่า คนที่กินอาหารเช้าน้อยเท่าไร ยิ่งเกิดความเครียดได้มากเท่านั้น และอารมณ์จะอ่อนไหวง่าย หงุดหงิดง่าย ในทำนองเดียวกันหากคุณกินอาหารมื้อกลางวันที่ให้พลังงานน้อย ก็จะมีผลเช่นเดียวกัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า อาหารที่กินเข้าไปมีผลต่ออารมณ์และความเครียด

โดยได้ทำการศึกษาโดยแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้กินอาหารเช้าและกลางวันตามปกติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะให้กินอาหารที่มีพลังงานต่อมื้อต่ำ ผลที่ได้คือ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องอารมณ์ แต่กลุ่มที่ได้รับพลังงานต่ำจะเกิดความเครียด มีความกระวนกระวาย และมีความอดทนน้อยลงในการทำงาน

นักวิทยาศาสตร์เผย "กินมื้อเช้าน้อย ส่อแววเครียดมาก"

ส่วนที่ประเทศอังกฤษ นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงผลการศึกษาการกินอาหารเช้าที่มีไขมันมาก ว่าจะทำให้สมองทำงานช้าลง เฉื่อย ล้า ขาดความคิดสร้างสรรค์ และมีความเพ้อฝันมากขึ้น ซึ่ง University of Sheffield ได้ตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าวและพบว่า ในกระบวนการย่อยไขมันจะไปลดความกระฉับกระเฉง ความคล่องแคล่วว่องไวของสมองและร่างกายลง

ส่วนในท้ายของบทความดังกล่าวยังได้เปรียบเทียบความสำคัญของอาหารแต่ละมื้อว่า "อาหารเช้าเปรียบเหมือนพระราชา อาหารกลางวันเปรียบเหมือนพระราชินี ส่วนอาหารมื้อค่ำเปรียบเหมือนยาจก" เข้าตำราที่คนไทยคุ้นเคยในเรื่องการบริหารมื้ออาหารเพื่อลดพุงที่ว่า "เช้ากินอย่างราชา กลางวันแค่ธรรมดา ตกเย็นเป็นยาจก"