posttoday

พบขยะพลาสติกแม้ในส่วนลึกที่สุดของโลก

14 พฤษภาคม 2562

นักสำรวจสหรัฐพบขยะพลาสติกขณะสำรวจก้นมหาสมุทรมาเรียนา

นักสำรวจสหรัฐพบขยะพลาสติกขณะสำรวจก้นมหาสมุทรมาเรียนา

วิกเตอร์ เวสโคโว อดีตนายทหารเรือเกษียณอายุชาวสหรัฐ พร้อมทีมงานได้ประสบความสำเร็จและเป็นผู้สร้างสถิติครั้งที่ 3 ที่สามารถดำดิ่งอยู่ภายในเรือดำน้ำที่สามารถทนแรงกดดันมหาศาลในการลงสำรวจยังส่วนที่ลึกที่สุดของโลกของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา

รายงานระบุว่าทีมสำรวจได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ถึงความสำเร็จของเขาในการดำดิ่งลงไปยังความลึก 10,927 เมตรในส่วนลึกที่สุดของโลกใต้มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งลึกกว่าครั้งที่ผ่านมาถึง 11 เมตร ส่งผลให้เขากลายเป็นเจ้าของสถิติโลกคนใหม่

การสำรวจครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Five Deeps ของบริษัท Insight Equity Holdings ซึ่งเป็นเงินกองทุนส่วนตัวของเขาในการลงสำรวจส่วนที่ลึกที่สุดทั้ง 5 มหาสมุทรทั่วโลก

 

พบขยะพลาสติกแม้ในส่วนลึกที่สุดของโลก fivedeeps.com

 

สำหรับยานสำรวจที่ใช้ในภารกิจนี้มีชื่อว่า DSV Limiting Factor มีความกว้าง 4.6 เมตร และสูง 3.7 เมตร ก้นมหาสมุทร

โดยช่วง 6 เดือนก่อนหน้านี้ทีมของเขาได้ลงไปสำรวจยังก้นมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ความลึก 8,376 เมตร ร่องลึกก้นสมุทรเซาธ์แซนด์วิช 7,433 เมตร และ และร่องลึกก้นสมุทรชวาในมหาสมุทรอินเดีย ที่ 7,192 เมตร โดยหลังจากนี้เตรียมจะลงสำรวจยังร่องลึกก้นสมุทรมอลลอยดีพในทะเลกรีนแลนด์ต่อไป

 

 

สำหรับการลงสำรวจร่องลึกมาเรียนาแห่งนี้ นับเป็นการลงสำรวจครั้ง 4 ทีมงานได้พบกับสิ่งมีชีวิต 4 สายพันธุ์ใหม่เป็นสัตว์จำพวก crustacean รวมถึงสิ่งมีชีวิตจำพวกปลากที่ความลึกถึง 8 พันเมตร

อย่างไรก็ดี จากคลิปวิดิโอของทีมสำรวจได้พบว่ามีชิ้นส่วนขยะพลาสติกจมลงไปถึงก้นร่องมาเรียนาด้วย ซึ่งทางทีมงานระบุว่า ตลอดภายกิจสำรวจในส่วนของร่องลึกแห่งอื่นๆทางทีมงานก็พบกับชิ้นส่วนของขยะพลาสติกเช่นกัน โดยทางทีมงานจะเก็บสิ่งมีชีวิตบางส่วนที่พบเพื่อไปค้นหาว่ามีไมโครพลาสติกปะปนอยู่กับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกเหล่านี้หรือไม่

 

พบขยะพลาสติกแม้ในส่วนลึกที่สุดของโลก

 

ทั้งนี้ สำหรับความสำเร็จในการสำรวจร่องมาเรียนาในครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1960 เมื่อยานสำรวจ Trieste ของกองทัพเรือสหรัฐสามารลงไปได้ถึงความลึก 10,912 เมตร และในครั้งที่สองเป็นยานสำรวจของผู้สร้างภาพยนตร์ดัง เจมส์ คาเมรอน ในปี 2012 ที่ความลึก 10,898 เมตร ขณะที่ก่อนหน้านี้ในปี 1996 และ 2009 ก็เคยมีทีมสำรวจส่งยานลงไปเช่นกันแต่ไม่สามารถดำลงไปได้ลึกเท่าที่กล่าวในข้างต้น

ภาพ : fivedeeps.com