posttoday

วงถกปมค่าไฟแพงเดือด นักวิชาการอัดวางแผนระบบพลังงานผิดพลาด

04 กันยายน 2567

ตัวแทนภาคการเมือง จี้รัฐบาลทบทวบแผน PDP 2024 เอื้อธุรกิจภาคเอกชน สร้างภาระประชาชนแบกค่าไฟแพง นักวิชาการแนะแก้โครงสร้างค่าไฟให้เกิดความเป็นธรรม

องค์กรส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและต่อต้านการผูกขาด Fair Competition & Anti-Monopoly Organization จัดการเสวนาหัวข้อ "สาเหตุไฟฟ้าแพง ประชาชนเดือดร้อนเพราะใคร?" เมื่อ4กันยาน2567 ที่โรงแรม เอส 31 ห้อง Ballroom 2 ชั้น5 ระหว่างเวลา 13.30 -17.00 น. โดยการสัมนาแบ่งออกเป็น2ช่วง 

ช่วงแรก ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ตัวแทนพรรคประชาชน รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ตัวแทนสภาองค์กรของผู้บริโภค นายรณกาจ ชินสำราญ นักวิชาการด้านไฟฟ้า และนายรพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ หัวหน้าทีมวิจัย Climate Finance Network Thailand ร่วมแชร์ประสบการณ์ค่าไฟแพงบนเวทีเสวนา

ดร.เดชรัต เริ่มต้นอธิบายถึงสาเหตุสำคัญค่าไฟแพง เกิดจากการวางแผนระบบพลังงานที่ผิดพลาด การไปทําสัญญาในการผูกมัดให้ภาระตกอยู่กับประชาชนนําไปสู่ปัญหาข้อที่สองคือการมีโรงไฟฟ้าที่มาเกินความจำเป็น คนรับภาระคือผู้ใช้ไฟ ชนิดของโรงไฟฟ้าที่เอื้อกับกลุ่มทุนการเลือกว่าจะเอาโรงไฟฟ้าใดเข้าสู่ระบบ ก็หวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีการทบทวนแผน PDP 2024: "แผนไฟฟ้าแห่งชาติ" ที่อยู่ระหว่างการยกร่างยังไม่ประกาศใช้

วงถกปมค่าไฟแพงเดือด นักวิชาการอัดวางแผนระบบพลังงานผิดพลาด

ความแปลกประหลาดเรื่องสุดท้ายที่จะพูดคือการที่รัฐบาลในแผนพีดีพีกําหนดว่าจะไม่ต่อสัญญากับเขื่อนที่เราเคยรับซื้อไฟฟ้าอยู่ในลาวที่จะหมดสัญญา ซึ่งเขื่อนเหล่านี้เราเสียค่าไฟอยู่1.78บาทแต่จะไปรับซื้อจากเขื่อนใหม่ราคา 2.8 บาท อันนี้ก็คือสิ่งที่มันเป็นปัญหาที่เราต้องตั้งคําถามมีการประมูลที่โปร่งใสหรือไม่

รศ.ดร.ชาลี กล่าวว่า การผลิตไฟฟ้าเป็นจุดเริ่มต้นค่าไฟแพง ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า การเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าและค่าเชื้อเพลิง  มีโรงไฟฟ้ากันเยอะเกินความจำเป็นไปพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีความผันผวนเช่นก๊าซแอลเอ็นจีจํานวนมาก ระบบส่งไฟฟ้าก็เป็นต้นทุนสายส่งเหล่านั้นจะต้องมีการลงทุน

วงถกปมค่าไฟแพงเดือด นักวิชาการอัดวางแผนระบบพลังงานผิดพลาด

ถ้าเราจะลองไฮไลท์ทําไมค่าไฟจึงแพงก็อาจจะมาดูเรื่องของภูเขาน้ำแข็ง หลายคนมักจะนึกถึงข้างบนก็คือค่าเชื้อเพลิง เราได้ยินเสมอว่าค่าเอฟทีทําไมจึงต้องจ่ายแพงมากเป็นพิเศษในช่วงหลังๆ ก็เพราะว่ามีช่วงนึงตอนที่มียูเครนรบกับรัสเซียจะเห็นได้ว่าช่วงนั้นราคาเนี่ยคูณเข้าไปเลยจึงทําให้เกิดหนี้ก๊าซธรรมชาติตอนช่วงนั้นเป็นแสนล้านแล้ว
 

กฟผ.ก็เป็นผู้แบกรับหนี้เหล่านี้ไป ท้ายสุดทุกวันนี้ก็ยังจ่ายหนี้ไม่หมดก็เป็นปัญหาเฉพาะส่วนบนผิวน้ำ ถ้ามองลงมาข้างใต้ เรามีโรงไฟฟ้าล้นเกิน โครงสร้างราคาก๊าซที่ยังมีปัญหาอยู่ขณะเดียวกันการพยากรณ์ใช้ไฟฟ้าสูงเกินแผน PDP ที่ยังผิดพลาดล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ทําให้ค่าไฟฟ้าของเราแพง  
 
ด้านนายรณกาจ กล่าวว่า ค่าไฟแพงเกิดจากโครงสร้างการกําหนดราคาที่เป็นนโยบายของภาครัฐ แทนที่จะถูกปล่อยให้ลอยตัวช่วงปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีรัฐบาลใหม่ให้คํามั่นสัญญาว่าจะทําให้ค่าไฟถูกลง แต่วิธีการกลับไปใช้การตรึงค่าไฟคือกดเพดานค่าไฟลงมาผลกระทบคือทําให้ กฟผ.มีหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้นทุนของแอลพีจีที่แพงก็ดันไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเอื้อให้บริษัทเอกชน แทนที่จะเอามาใช้ในภาคการผลิตของไฟฟ้าเพื่อให้ประชาชนมีกําไรจากการที่เราใช้ค่าไฟลดลง 

วงถกปมค่าไฟแพงเดือด นักวิชาการอัดวางแผนระบบพลังงานผิดพลาด

อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหา คือโครงสร้างของค่าไฟ ที่ทุกคนสงสัยว่าไม่เป็นธรรมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าความพร้อมจ่ายต่าง ค่าภาษี ค่าเอฟทีที่มีความสงสัยกันอยู่ตลอด ขอเสนอปรับปรุงโครงสร้างค่าไฟให้เป็นธรรม เช่น ค่าความพร้อมจ่าย กําลังการผลิตที่มันสูงต่างๆควรต้องเร่งทําอย่างเร่งด่วน อยากจะฝากคําถามชัด ๆ สะท้อนดังๆไปถึงภาครัฐว่ากล้าจริง ๆ หรือไม่ที่จะแก้ปัญหานี้ให้เป็นรูปธรรมจริง ๆ

ชณะนายรพีพัฒน์ กล่าวว่า วันนี้เราเจอกับค่าไฟแพงแล้ว แพงอีก และแพงต่อ ที่แปลกใจก็คือเข้าใจว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นคนผลิตแต่ปรากฎว่าเป็นเอกชนผลิตมากกว่าก็ควรจะเปลี่ยนชื่อเป็นการไฟฟ้าฝ่ายจัดซื้อแทนเพราะว่ากว่า 70 เปอร์เซนต์มาจากเอกชน หรือพีพีเอเป็นความลับทางการค้าทั้งที่เราจ่ายค่าไฟแต่ไม่ไม่สามารถเลือกได้อยากซื้อไฟกับใคร โชคดีที่คู่สัญญาเขาเป็นเอกชนรายใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็เลยพอจะรู้บ้าง

โครงสร้างสัญญาจะส่งผ่านต้นทุนทุกอย่างมาที่ผู้บริโภคผ่านตัวเลข 2 ตัว ที่เรียกว่า availability payment กับ energy payment ถ้าเราไปดู ค่าความพร้อมจ่ายนี่คือจากรายงานประจําปีของบริษัทๆ หนึ่ง เขาบอกว่าแค่ตั้งโรงไฟฟ้า ตั้งให้มันพร้อมจ่ายสร้างให้เสร็จการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะจ่ายเงินทุกบาททุกสตางค์ ค่าสร้าง ค่าเมเทแนนซ์ ค่าต้นทุนในการระดมเงินทุน ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ทุกบาทโดยที่ไม่ต้องจ่ายไฟฟ้าแปลเป็นไทยง่ายง่ายว่าแค่พยากรณ์ความไฟฟ้าต้องการสูงสูงไปเท่าไหร่ไม่เป็นไรเพราะประชาชนเป็นคนจ่าย 

 

วงถกปมค่าไฟแพงเดือด นักวิชาการอัดวางแผนระบบพลังงานผิดพลาด

มาดูค่าอีพีกันบ้าง เอนเนอร์จีเพย์เมนท์ จ่ายไฟฟ้าหนึ่งหน่วยเมื่อเผาก๊าซไปหนึ่งหน่วยปุ๊บทุกบาททุกสตางค์ กฟผ จ่ายถ้าแปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือราคาเชื้อเพลิงจะผันผวนแค่ไหนประชาชนก็เป็นคนจ่าย ดังนั้นพยากรณ์เกินไม่มีปัญหาประชาชนจ่ายค่าเชื้อเพลิงแพงแค่ไหนก็ไม่มีปัญหาเพราะประชาชนจ่ายทุกอย่างถูกพาสทรูมาที่เราทั้งหมด

คําว่าเชื้อเพลิงที่มันแพงที่มันผันผวนถ้าเราไปดูโครงสร้างในปัจจุบันใช้พลังงานประมาณหกสิบกว่าเปอร์เซ็นต์จากก๊าซธรรมชาติและอีกยี่สิบเปอร์เซ็นต์มาจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นที่มาจากอ่าวไทยที่เหลือสิบเปอร์เซ็นต์มาจากพม่าอีกประมาณสามสิบสี่สิบเปอร์เซ็นต์ต้องซื้อเป็นแอลเอ็นจี ต้องนําเข้าจากต่างประเทศและมีความผันผวนเป็นทุนเดิมอยู่แล้วถูกพาสทรูมาที่บิลค่าไฟของเราทุกคน 

บทเรียนอย่างหนึ่งก็คือว่า ธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน แต่ว่าเราก็ต้องยอมรับกันไปแพงอีกและในอนาคตจะอาจจะแพงขึ้นอีกแพงเพราะว่าเรามุ่งมั่นอยากจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังถือว่าล่าช้าที่สุดในอาเซียน

รัฐบาลมีแผนว่าจะมีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตรงนี้เป็นต้นทุนมหาศาลแต่ว่ายังไม่มีกลไกทางการเงินที่รองรับรัฐบาลมีแผนบอกว่าจะใช้แต่ยังไม่มีบอกว่าใครจะเป็นคนจ่าย กลับมาคําถามเดิม  ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ เอกชนจ่ายรัฐบาลจ่ายหรือสุดท้ายจะถูกผลักมาที่ผู้บริโภค