posttoday

ด้านมืดของสังคมญี่ปุ่น สิ่งที่คนไทยจะต้องตระหนักรู้

04 กรกฎาคม 2560

โดย...สมพจน์ พัดสุวรรณ FINNOMENA Insight

โดย...สมพจน์ พัดสุวรรณ FINNOMENA Insight

ถ้าพูดถึงประเทศญี่ปุ่น คุณจะนึกถึงอะไรบ้าง

ประเทศที่มีระเบียบวินัยเรียบร้อย

ประเทศที่ทำงานหนักมีความมุ่งมั่นในเรื่องที่ทำ มีนวัตกรรมที่ทันสมัยมากมาย

ประเทศที่คนไทยไปเที่ยวกันเยอะ เพราะมีทั้งอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม

แต่ช้าก่อน!!!!!!!

แล้วอะไรเป็นด้านมืดของสังคมญี่ปุ่น ที่ผมกล่าวถึง ???

ญี่ปุ่น สังคมที่กลืนกินตัวเอง คนแก่มีจำนวนมากขึ้น คนวัยทำงานน้อยลง

ญี่ปุ่น สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20%

ญี่ปุ่น อาชญากรรมที่ผู้สูงวัยก่อเหตุมากขึ้น ต้องการเข้าคุก เพราะเงินบำนาญไม่พอ และในคุกมีทั้งอาหารและยารักษาโรค

ญี่ปุ่น ตายอย่างเดียวดาย ปรากฏการณ์สำหรับผู้สูงวัย ไม่มีบุตรหลานดูแล ไม่มีเงินแม้ค่าทำศพ แม้ตายไปแล้วยังไม่มีใครรับรู้

ทำไมคนไทยจะต้องตระหนักรู้กับเหตุการณ์เหล่านี้ ??

คำตอบคือ “สังคมไทยจะเข้าสังคมผู้สูงอายุ ในปี 2568 หรืออีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า”

สิ่งที่คนไทยจะต้องเจอ!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

1) อายุของคนไทยจะยืนยาวขึ้น

ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 75 ปี ในปี 2568 อายุขัยน่าจะอยู่ที่ 85 ปี ยิ่งอายุยาวนานขึ้น ยิ่งต้องเตรียมเงินเยอะ

2) ค่าครองชีพทำให้ของแพงขึ้น

เงินเฟ้อในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาณ 4% ปัจจุบันข้าวจานละ 40 บาท อีก 20 ปีข้างหน้าจะราคาจานละ 90 บาท ทุกอย่างแพงขึ้น2 เท่า เงินเฟ้อทำให้ของแพงขึ้น ค่าเงินในอนาคตจะมีค่าลดลง

3) ค่ารักษาพยาบาลมีแต่แพงขึ้น ปีละ 5-8% ต่อปี

ค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลจะเบียดเบียนเงินเก็บสำหรับผู้สูงวัยมากที่สุด ปัจจุบันเป็นไข้หวัดจ่าย 1,500 บาท อีก 20 ปีข้างหน้าจะต้องจ่าย 7,000 บาท ถ้านอนโรงพยาบาล ค่าห้องวันละ 4,500 บาท อีก 20 ปีข้างหน้าอาจจะต้องจ่าย 2.1 หมื่นบาท หลังเกษียณไม่มีรายได้ คุณจะทำอย่างไรกับค่ารักษาพยาบาล

4) โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เศรษฐกิจก็จะโตช้าลง

ครอบครัวยุคใหม่มีลูกคนเดียว ทัศนคติเปลี่ยนไป จากมีลูกเยอะๆ จะได้ไว้ช่วยกันทำงาน เป็นมีลูกเยอะเป็นภาระทำให้เครียด จึงมีลูกคนเดียว จำนวนประชากรวัยทำงานก็มีน้อยลง การพัฒนาประเทศก็จะช้าลง เศรษฐกิจก็จะโตช้าลง

ทำไมมันร้ายแรงแบบนั้นล่ะ!!!!!!!!!!!! เพราะว่า

จำนวนเงินต้องเตรียมเพื่อการเกษียณนั้นมากกว่าที่คุณคิด

ลองคิดแบบง่ายๆ สมมติคุณอายุ 40 ปี ต้องการเงินใช้หลังเกษียณปีละ 2.4 แสนบาท มูลค่าเงินในปัจจุบัน

ต้องการเกษียณอายุ 60 ปี หรืออีก 20 ปี จากเงิน 2.4 แสนบาท ที่จะต้องมี

จะกลายเป็นเงิน 5.3 แสนบาท เนื่องจากเงินเฟ้อ 4%

ต้องการมีเงินใช้ไปจนสิ้นอายุขัย 80 ปี หรืออีก 20 ปี  

คุณควรจะมีเงินขั้นต่ำ 10 ล้านบาท ถ้าคิดแบบคร่าวๆ

แต่เป็นที่น่าเสียใจที่เป้าหมายการเกษียณเป็นสิ่งที่สำคัญมากของชีวิต

แต่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามไป เพราะคนให้น้ำหนักกับปัจจุบันมากกว่าอนาคต

ขอสบายวันนี้ก่อน ทำให้ไม่เคยคิดเรื่องเป้าหมายการเกษียณในอนาคต

สิ่งที่คุณควรจะทำ คือ

1) แผนจัดการค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณ

เมื่อล่วงถึงอายุใกล้เกษียณแล้ว สิ่งที่ทุกคนจะต้องเจอ คือ ปัญหาเรื่องสุขภาพ และข่าวร้าย คือ เงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลปีละ 5-8% ซึ่งจะนำมาสู่ปัญหาเรื่อง “เงินค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ” ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ

เริ่มต้นจากจัดทำสรุปแผนสวัสดิการสุขภาพหลังเกษียณ เพื่อตรวจสอบว่าหลังเกษียณแล้วยังมีสวัสดิการสุขภาพอะไรอยู่บ้าง

ถ้ายังขาด ให้มีแผนสวัสดิการสุขภาพตลอดชีวิต (Long Term Health Plan) โดยการโอนไปให้ประกันสุขภาพให้ครอบคุมถึงอายุขัยที่คาดการณ์ไว้และต้องลงทุนเงินเพื่อให้มูลค่าเพียงพอให้การจ่ายเบี้ยประกันในอนาคต

2) เร่งมูลค่าเงิน ให้ชนะเงินเฟ้อ ด้วยการลงทุน

ทำไมต้องเร่งมูลค่าเงินให้ชนะเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อทำให้มูลค่าเงินในอนาคตลดลง

ดังนั้น คุณจะต้องลงทุน เพื่อเร่งมูลค่าเงิน ให้ชนะเงินเฟ้อ

ในปัจจุบันมีทางเลือกในการลงทุนเพื่อการเกษียณเยอะ

โดยเฉพาะการลงทุนที่สามารถได้เงินภาษีแทนได้ อาทิ RMF, LTF หรือประกันแบบบำนาญ

เมื่อได้เงินภาษีคืน ก็ให้นำเงินคืนภาษีมาลงทุนต่อเพื่อเพิ่มเติมความมั่งคั่ง

จงเปลี่ยนทัศนคติของคุณใหม่

“จากเกษียณเริ่มเมื่อไรก็ได้ เป็นเกษียณต้องเริ่มเดี๋ยวนี้”

จงวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณไว้เป็นเป้าหมายหลักของชีวิตคุณ