posttoday

ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป-Zipmex ผ่าโลกการลงทุน 'สินทรัพย์ดิจิทัล' มูลค่าเทรดปี64 แตะหนึ่งล้านล้านบาท

20 สิงหาคม 2564

ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป-ซิปเม็กซ์ ชี้เทรนด์การลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล โอกาสเพิ่มมูลค่าธุรกิจบริการในอนาคต รับโลกแแห่งการเงินยุคใหม่

ม.ล.หริรัศมิ์ ทองใหญ่ Project Director บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด หรือ THG กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ "สินทรัพย์ดิจิทัล ทางเลือกลงทุนใหม่ หรือแค่ช่องทางเก็งกำไร" ในหัวข้อ "การรองรับการซื้อขายจากผู้ประกอบการ"จัดโดยกองบรรณาธิการโพสต์ทูเดย์ ออนไลน์ ว่าในมุมของผู้ประกอบการธุรกิจมองเห็นโอกาสจากสินทรัพย์ดิจิทัลในมุมกว้าง จากการใช้งาน Utility Token (ยูทิลิตีโทเค็น)ในผลิตภัณฑ์หรือบริการของผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆที่ออกผลิตภัณฑ์เหรียญดิจิทัลนั้นๆ เพื่อใช้งานจริงทั่วไปในรูปแบบอีกหนึ่งบริการ (Service) เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นจากการสแกนโทเคน ผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล (e-Wallet) ได้ทันที

“การใช้ประโยชน์ ‘ยูทิลีตี โทเคน’ นำมาประยุกต์ใช้ในผู้ประกอบการธุรกิจทางการแพทย์เพื่อให้บริการด้านต่างๆ อาทิ โปรแกรมการตรวจสุขภาพ การโปรโมทบริการทางการแพทย์แผนกต่างๆ หรือ บริการด้านอื่นๆ เป็นต้น ที่สามารถนำมาใช้เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้ระยะยาวในอนาคตซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางเพิ่มประสิทธิภาพในการรับบริการของผู้บริโภคทั่วไป”  ม.ล.หริรัศมิ์ กล่าว

'ดิจิทัล แอสเซท' โอกาสเพิ่มมูลค่าผู้ให้บริการ-สะดวกผู้ใช้งาน

สำหรับมุมมองด้านการลงทุนในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ (Investment Healthcare)นั้น จากการค้นหาข้อมูลในต่างประเทศพบว่า มีการนำบิทคอยน์ เข้ามาใช้แลกเปลี่ยนในบริการทางการแพทย์ ตลอดจนการเข้าไปลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพกลุ่มสุขภาพ (Healthcare) ซึ่งขึ้นอยู่กับสกุลเงินดิจิทัล(Crpto Currency)ต่างๆ รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อคเชน โดยในต่างประเทศมีการนำไปใช้พื่อสร้างความมั่นใจในข้อมูลการแพทย์ การจัดหาและผลิต (Supply)ด้านยา ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวมีความแม่นยำและสนับสนุนความปลอดถัยฝในกิจการด้านสุขภาพ

“ในประเทศไทย เริ่มมีความพร้อมระดับหนึ่งจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในกลุ่มนักลงทุนที่เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งต้องดูว่าผู้มาซื้อนั้นมีความพร้อมมากน้อยเพียงใดในขณะนี้ ด้วยจะต้องศึกษาประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่อายุ 18-29 ปีมีความสนใจการลงทุนดิจิทัล แอสเซท มีการรวมกลุ่มชุมชนดีไฟ (DeFi Community) ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ด้วยปัจจัยสำคัญในเวลานี้คือการให้ความรู้สินทรัพย์ดิจิทัล ว่าไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องเรียนรู้และเข้ามาใช้จริง”  ม.ล.หริรัศมิ์ กล่าว

ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป เตรียมพร้อม ผุดบริการรองรับเงินตราดิจิทัล 

ขณะที่กลุ่มธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป หรือ THG มีความสนใจในด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมด้านต่างๆเพื่อพัฒนาระบบรองรับการใช้โทเคน ประเภทต่างๆ ทั้ง อินเวสเมนต์ โทเคน และ ยูทิลิตี โทเคน พื่อนำมาแลกกับบริการด้านการแพทย์ต่างๆ เช่น การรับนัดจองคิวบริการทางการแพทย์ วอเชอร์บริการตรวจสุขภาพ ผ่านแอปพลิเคชันของ THG ได้ในอนาคต คาดใช้ระยะเวลาราว 1-2 เดือนนับจากนี้ จะเริ่มเห็นแผนงานชัดเจน

ม.ล.หริรัศมิ์ กล่าวว่าปัญหาอุปสรคในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลของไทยในขณะนี้ มองว่าปัจจัยสำคัญ คือ การเรียนรู้และการทำความคุ้นเคยเพื่ออยู่ร่วมกับสินทรีพย์ดิจิทัล ที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลิตภัณฑ์บริการในอนาคต พร้อมยกตัวอย่างในประเทศเอกวาดอร์ มีการใช้เหรียญดิจิทัล (บิทตอยน์) จนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งในจุดนี้ถือว่าไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ แต่ผู้คนทั่วไปสามารถยอมรับความแตกต่างพร้อมปรับตัวเพื่อเข้าไปใช้งานได้ไม่ยาก โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจ และ มองว่าสิ่งดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาที่จะนำมาใช้งานปกติในชีวิตประจำวัน

ส่วนในด้านผู้ประกอบการ คือ ความเสี่ยงในการสูญเสียซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงกว่า 83% จากการเข้าไประดมทุนในรูปแบบไอซีโอ (ICO:Initial coin offering) และ Scamming  การหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีที่มีจำนวนมาก ที่การนำใช้งานแต่ละประเภท (Usecase) ของกลุ่มผู้ลงทุนจะแตกต่างกันออกไป  ซึ่งผู้สนใจทั้งในกลุ่มนักลงทุนทั่วไป หรือ ผู้ปะกอบการที่เตรียมเข้ามาในอุตสาหกรรมการเงินดิจิทัล จำเป็นต้องบปรับเปลี่ยนวิธีคิด (Mindset) ด้วยแต่ละกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน มีการรับรู้และความเข้าใจ และประสบการณ์ที่ได้รับแตกต่างกันออกไป

ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป-Zipmex ผ่าโลกการลงทุน 'สินทรัพย์ดิจิทัล' มูลค่าเทรดปี64 แตะหนึ่งล้านล้านบาท

Zipmex ชี้ ‘สินทรัพย์ ดิจิทัล’ คือ Mega Trend 

ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ซีอีโอ Zipmex Thailand กล่าวว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ มีการอำนวยความสะดวกเพื่อเข้าถึง ดิจิทัล แอสเซท ผ่านการดาวน์โหลดแอปพลิเตชันเพื่อซื้อขายสินทรัพย์ฯได้ทันที ส่วนในประเทศไทย ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆของภูมิภาคอาเซียนที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใต้กฎหมายสินทรัยพ์ดิจิทัล (พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561) ที่เปิดโอกาสให้มีศูนย์ซื้อขายสินทรัยพ์ เป็นตัวแทน(ดีลเลอร์) การทำธุรกรรมแทนนักลงทุนที่สนใจ

โดยมองว่าอุตสาหกรรมสินทรัยพ์ดิจิทัลในประเทศไทยจะเป็นโอกาสใหม่ในการลงทุนที่กำลังเติบโตและถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยมีใบอนุญาตรองรับ และยังไม่ต้องผ่านคนกลาง ทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นโดยผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้ม Mega Trend ด้วยเทคโนโลยีบล็อคเชน และ คริปโต เคอเรนซี

ขณะที่สถานการณ์โควิด-19ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่เข้ามากระทบการดำเนินชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป เห็นได้จากความนิยมเป็นจำนวนมากขึ้นในซูเปอร์แอปพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งประเทศไทยเอง มีข้อได้เปรียบด้านออนไลน์แบงค์กิงที่ดีมาก ทำให้โครงสร้างพื้นฐาน (Infra Structure) ด้านการเงินมีความแข็งแกร่งละปลอดภัยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน

ส่วนปัจจัยด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมองว่าเป็นเรื่องดีที่ผู้ประกอบการ นักลงทุนจะต้องประกอบธุรกิจภายใต้กฎกติกา รวมถึงโครงสร้างภาษีต่างๆ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นปัจจัยลบ แต่อาจเป็นต้นทุนของการทำธุรกิจที่ใหม่อยู่ ด้วยในขณะนี้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลถือเป็นช่วงเริ่มต้น (Early Stage) ที่ภาคกฎหมายจะต้องติดตามให้ทันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฯต่อไป

คนไทยเปิดบัญชีกว่าล้านราย ลงทุน ‘สินทรัพย์ ดิจิทัล’

ทั้งนี้ หากนับจากต้นปี 2564 ถึงในปัจจุบัน Zipmex พบว่าในประเทศไทย มีผู้เปิดบัญชีลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านคน จากในอดีตมีจำนวนนักลงทุนหลักสอง-สามแสนบัญชี มีมูลค่าการซื้่อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นับจากต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ประมารณ 6-7 แสนล้านบาท และมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (Trade Volume) ในประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ1ล้านล้านบาท

“Zipmex วางบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับลูกค้าที่สนใจเข้ามาซิ้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ในด้านต่างๆ พร้อมอำนวยความสะดวกสบาย ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยของระบบ มีการแยกสินทรัพย์ฯ ของลูกค้า มีหน้าที่ปกป้องนักลงทุน ตลอดจนเป็นตัวแทนถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ด้านต่างๆ ให้กับนักลงทุน ทั้งเรื่องนโยบายต่างๆ และสิทธิประโยชน์ของลูกค้าให้มากที่สุด โดยเฉพาะในด้านคัสโตเมอร์ เอ็กพีเรียนซ์ ความปลอดภัย และความกลัวอันเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่่่รู้ ของลูกค้าหรือนักลงทุน” ดร.เอกลาภ กล่าว     

ขณะที่ พฤติกรรมการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านการซื้อขาย (Trade) พบว่ามีความนิยมผ่านการใช้เหรียญประเภทต่างๆ จากปัจจัย ดิจิทัล แอสเซท ที่ค่อนข้างมีความผันผวนสูง สามารถเก็งกำไรได้ ทำให้นักลงทุนที่สนใจสามารถเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนได้สะดวก ซึ่ง ZipMex มองเห็นเทรนด์ดังกล่าวเช่นกัน จากความสนใจารลงทุนในระยะยาวที่มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงการเริ่มเก็งกำไร ซึ่งเห็นว่าเป็นพฤติกรรมการลงทุนที่คล้ายคลึงกันหมดหมดในทุกตลาดเงิน

นอกจากนี้ ในส่วนของกลุ่มลูกค้าสถาบันการเงิน องค์กรขนาดใหญ่ ต่างเริ่มเห็นทิศทางการลงทุนภายใต้ กลยุทธ์ "ไมโคร สตราติจี" จากการถือเงินตราดิจิทัลสกุลที่ได้รับความนิยม โดยในประเทศไทยเองได้มีการวางบประมาณเพื่อซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือการเข้ามาลงทุนในระบบ เพื่อกระจายความเสี่ยงการลงทุนเช่นกัน เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการผันผวนของสกุลเงินดอลลาร์ในอนาคต ตามมาตรการนโยบายการเงินต่างๆของสหรัฐอเมริกาที่อาจส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักดัยให้ Tesla ผู้ผลิตนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ่ารายใหญ่ในสหรัฐฯ เริ่มนำธุรกิจเข้ามาอยู่ในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล เช่นกัน

ดร.เอกลาภ กล่าวว่า ปัจจุบัน Zipmex ได้ให้บริการพร้อมนำสินทรัพย์ดิจิทัล ให้สามารถนำไปใช้จองทรัพย์ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้แล้วเช่นกัน พร้อมมองต่อไปว่าอนาคตของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล จะมีความเกี่ยวข้องร่วมกันทั้งฝั่งผู้กำกับดูแล ผู้ให้บริการ และ ผู้ลงทุน หรือ ผู้ใช้งานจริง จากความต้องการแลกเปลี่ยนเงินตราดิจิทัลไปสู่มูลค่าเงินบาท ซึ่งผู้กำกับดูแลควรอำนวยความสะดวกในด้านนี้ รวมถึงในกรณี สินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่น การซื้อขายบ้าน คอนโดมีเนียม ที่จะต้องมีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อรองรับการทำธุรกรรมระหว่างกัน เป็นต้น

“สินทรัพย์ดิจิทัลถือเป็นของใหม่ ด้วยมีอายุไม่ถึง 13 ปี ยังมีความผันผวนระดับหนึ่ง แต่เปรียบเทียบต่อปี จะพบว่ามีความผันผวนลดลงเรื่อยๆ สอดคล้องกับในหลายประเทศที่มีการนนำเทคโนโลยีบล็อคเชนมาใช้ในการโอนชำระเงิน เป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งอาจยังไม่ต้องมีคริปโตฯก็ได้ แต่มีการใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนเข้ามา ซึ่งลูกค้าที่สนใจเข้ามาลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนระดับหนึ่ง ด้วยการลงทุนทุกประเภทล้วนมีความเสี่ยง และ ความผันผวน พร้อมตรวจสอบตนเองว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยระดับใด”  ดร.เอกลาภ กล่าว

ผู้สนใจ สามารถรับชมเนื้อหาเต็มรูปแบบงานสัมมนา POSTTODAY CRYPTOCURRENCY FORUM 2021 "สินทรัพย์ดิจิทัล ทางเลือกลงทุนใหม่ หรือแค่ช่องทางเก็งกำไร" ในหัวข้อเสวนา

  • ความท้าทายในการกำกับดูแลและการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล   

คุณจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

  • คริปโต’สินทรัพย์ดิจิทัล ช่องทางลงทุนหรือเก็งกำไร      

คุณพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ผู้ก่อตั้งเพจ Blockchain Review และกรรมการสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย

คุณกานต์นิธิ ทองธนากุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน Merkle Capital

ผู้ก่อตั้งเพจ Bitcoin Addict Thailand และเพจ Kim DeFi Daddy

  •  กฎหมายและภาษีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล     

คุณอัครราชย์ บุญญาศิริ นักวิชาการภาษีชำนาญการพิเศษ กรมสรรพากร

คุณกุลรัตน์ ผ่องสถาพร Partner, Baker McKenzie

ผ่านช่องทาง https://bit.ly/2Uxc6Hl