posttoday

8 เรื่อง ที่ต้องทำก่อนอายุ 40

12 กันยายน 2552

โดย...สวลี ตันกุลรัตน์

โดย...สวลี ตันกุลรัตน์

พักนี้เป็นอะไรไม่รู้ เพื่อนๆ ร่วมมหาวิทยาลัยชอบเอารูปเก่าๆ สมัยยังเอ๊าะๆ มารำลึกความหลังกันผ่าน

เครือข่ายออนไลน์ (สงสัยจะเป็นธรรมชาติของคนอายุเยอะ) ยิ่งเห็นยิ่งขำ ยิ่งดูยิ่งรู้สึกถึง "ความเปลี่ยนแปลง"

ในวันนั้น วันที่อายุขึ้นเลข 2 ใหม่ๆ ชีวิตเต็มไปด้วยความหวัง ไร้ขีดจำกัด และดูเหมือนว่าไม่ว่าอะไรๆ ก็สามารถเป็นไปได้ทั้งนั้นในความฝันของเรา

แต่วันเวลาวิ่งเร็วเสียยิ่งกว่าความเร็วของอินเทอร์เน็ตแถวๆ นี้เสียอีก เงยหน้าขึ้นมาอีกที อายุปาเข้าไป 30 กว่าๆ แล้ว

หลายคนทำได้ตามความฝันที่วาดไว้หลายคนแต่งงานมีครอบครัว ขณะที่บางคนลืมไปแล้วว่าเคยฝันอะไรเอาไว้เมื่อวันวาน รู้เพียงแต่ว่าขอเอาชีวิตวันนี้ให้รอดไปได้เป็นพอ แต่แทบทุกคนจะรู้ว่าชีวิตจริงไม่ง่ายเหมือนอย่างฝัน คนวัยนี้คงเคยได้ยิน

คำว่า Generation X กับ Generation Y โดยคนที่ถูกเรียกว่า Gen X จะเกิดปีพ.ศ.2510-2518 ขณะที่ Gen Y เกิดในช่วงปีพ.ศ. 2519-2530

แต่ไม่ว่าจะอยู่ Gen X หรือ Y พออายุขึ้นเลข 3 เป็นวัยที่ต้องบอกว่าเป็น "ผู้ใหญ่เต็มตัว"

ขณะที่บางคนเป็นผู้ใหญ่ที่ผ่านวันวานด้วยความหลงระเริงมาอย่างเต็มคราบ

เพราะถ้าลองไปดูผลการสำรวจคนในวัยทำงานที่อายุไม่เกิน 35 ปีของสหรัฐอเมริกา ที่ AFL-CIO เผยผลการสำรวจที่แสนเศร้าออกมาสดๆ ร้อนๆ เมื่อเดือนก.ค.2552 ในวันแรงงานของเขานี่เอง

31% มีรายได้มากกว่ารายจ่าย 4% ยัง (จำใจ) อาศัยอยู่กับพ่อแม่ 31% ไม่มีประกันสุขภาพ เพราะไม่มีเงินจ่ายเบี้ยประกัน

51% ไม่เคยวางแผนสำหรับการเกษียณ 31% ยังไม่คิดจะแต่งงาน เพราะกลัวจะพากันอดตาย

36% ต้องพับแผนที่จะเรียนต่อ เพราะเป็นห่วงว่าค่าใช้จ่ายในการเรียนจะทำให้

ต้องกินแกลบแทนข้าว

เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เราต้องตกที่นั่งลำบากแบบเดียวกันนี้ เลยขออนุญาตเอาใจคนวัยเดียวกัน เพราะมีหลายอย่างที่เราต้องทำก่อนที่ชีวิตจะล่วงเลยไปถึงอายุ 40 1) ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล

มีหลายๆ ครั้งหรือแทบจะเรียกว่าเป็นประจำเลยก็ได้ที่วิธีการใช้จ่ายในช่วงอายุ20 ปีจะเป็นการใช้เงินกันอย่างสุรุ่ยสุร่ายไร้เหตุผล และหมดไปกับ "ความบันเทิง"เสียเป็นส่วนใหญ่

แต่ทันทีที่อายุขึ้นเลข 3 ก็ต้องบอกกันว่าหมดเวลา "ปาร์ตี้" แล้ว เพราะนับจากนี้ไปการใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ของเราจะต้องให้สมกับที่เป็น "ผู้ใหญ่" กับเขาสักที 2) ปลดหนี้บัตรเครดิต

มีงานวิจัยของ Fidelity Investment

พบว่า คนใน Gen Y มักเลือกที่จะใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าที่ต้องการแทนที่จะออมเงินระยะสั้นๆ เพื่อซื้อของ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกถ้าช่วงอายุ 20 ปีจะเป็นช่วงวัยแห่งการสร้างหนี้ แต่ก่อนที่อายุจะถึง 40 ปี เราต้องจัดการหนี้พวกนี้ให้หมดโดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อบุคคล

เพราะฉะนั้นภารกิจปลดหนี้น่าจะเป็นภารกิจแรกที่ต้องสะสางสำหรับคนในวัย30 ปี เพราะถ้ายังจ่ายแต่หนี้ขั้นต่ำไปเรื่อยๆ คงจะใช้เวลาอีกเป็นสิบๆ ปีที่จะเพราะนับจากนี้ต้องหาเงินเพื่อมาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้3) วางแผนเกษียณ

ไม่ผิดอะไรถ้า 10 ปีที่ผ่านมาเราจะไม่เคยคิดถึงการวางแผนสำหรับชีวิตหลังเกษียณ แม้ว่าการเริ่มต้นเร็วจะได้เปรียบกว่าก็ตาม แต่นับจากนี้ไปการวางแผนเกษียณจะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกแล้ว

เพราะฉะนั้นจากที่ไม่เคยออมก็จำเป็นต้องเริ่มออม หรือจากที่เคยเก็บออมเล็กๆน้อยเดือนละ 500-600 บาท จำเป็นต้อง

เพิ่มจำนวนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้

และอย่าเพิ่งคิดถึงการออมเพื่อการศึกษาบุตรจนกว่าคุณจะได้วางแผนเพื่อการเกษียณของตัวเองให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะเงินกู้เพื่อการศึกษาหาได้ไม่ยาก แต่ไม่เคยมีสถาบันการเงินไหนให้กู้เพื่อการเกษียณ4) ซื้อบ้านหลังแรก

ได้เวลาสำหรับการซื้อบ้านหลังแรกแล้ว ไม่ว่ามันจะเป็นแค่ห้องรูหนู หรือทาวน์เฮาส์ชานเมือง เพราะราคาบ้านไม่เคยรอใคร ยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไป หรือจะรอเก็บออมเพื่อซื้อบ้านด้วยเงินสด อาจจะทำให้การมีบ้านเป็นความฝันที่ไกลออกไปทุกทีๆ

นอกจากนี้ การซื้อบ้านหลังแรกอาจจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำๆ แบบนี้5) เงินสำรองกรณีฉุกเฉิน

ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ถ้าในช่วงอายุ20 ปีเราจะยังไม่มีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เกิดเหตุไม่คาดฝันในชีวิต แต่คงจะเป็นเรื่องแน่ๆ ถ้าเรายังไม่มีเงินส่วนนี้ก่อนอายุจะถึง 40 ปี

และที่สำคัญ ต้องเป็นเงินสำรองแบบเต็มอัตรา 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือนตามสูตรเดิม นอกจากนี้หากเป็นคนทำงานที่ทำธุรกิจส่วนตัวขอแนะนำให้เพิ่มเงินส่วนที่เก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินให้ได้ถึง 12 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน6) ประกันชีวิต-สุขภาพ

ถึงจะคิดว่าการทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เป็นเรื่องไม่จำเป็น แต่อย่ามองข้ามการทำประกันโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะคนที่มีครอบครัว มีลูก หรือมีคนที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพราะชีวิตเป็นเรื่องไม่แน่นอน

นอกจากนี้ คนในช่วงอายุ 30 ปียังไม่ถือว่า "อายุมาก" ทำให้เบี้ยประกันยังไม่สูงเช่น ผู้ชายอายุ 35 ปีทำประกันชีวิต ความคุ้มครอง 1 ล้านบาท เบี้ยประกันประมาณ1.5-1.8 หมื่นบาทต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ1,000 กว่าบาทเท่านั้น7) ลงทุน

อย่ากลัวที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเช่น หุ้น เพราะอายุขนาดนี้ยังมีเวลาเหลือมากพอที่จะปล่อยให้ราคาหุ้นเติบโตงอกเงยไปพร้อมกับอายุของเรา เพราะฉะนั้นวิกฤตการเงินที่ผ่านมาถือว่า "โชคเข้าข้าง"เพราะเป็นจังหวะดีที่จะเริ่มต้นลงทุน

สำหรับคนที่ไม่เคยมีการลงทุนต้องเริ่มต้นลงทุน ส่วนคนที่ลงทุนไปบ้างแล้วต้องจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปคนในวัยนี้ยังสามารถลงทุนในหุ้นได้สูงถึง 80-90% หรืออย่างน้อยๆ ก็ราวๆ50% ขึ้นไป 8) มองหาโอกาสเติบโต

เชื่อได้เลยว่าคนในวัยนี้จะต้องตั้งเป้าหมายชีวิตชัดเจนบนพื้นฐานของความเป็นจริงกันแล้ว แต่อาจจะถึงเวลาที่ต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่ในวันนี้มันยังอยู่บนเส้นทางที่ไปสู่เป้าหมายหรือไม่

นี่อาจจะถึงเวลาที่ต้องออกไปหาความรู้เพิ่มเติม พัฒนาทักษะ ศึกษาต่อ เพื่อให้เข้าใกล้เป้าหมายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ช่วงเวลาแบบนี้น่าจะเป็นโอกาสดีที่อาจจะมองหาช่องทางในการเริ่มธุรกิจส่วนตัว แล้วอย่าลืมคืนกำไรสู่สังคมบ้าง

วันนี้ยังไม่สายที่จะสร้างความแข็งแรงทางการเงินให้กับตัวเอง แต่ถ้าปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานกว่านี้ มันอาจจะสายไปแล้วจริงๆ ก็ได้