posttoday

บี.กริมชูมาตรฐานอาคารเขียวบี.กริมชูมาตรฐานอาคารเขียว

15 มิถุนายน 2556

บี.กริม องค์กรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ก่อตั้งปี 2421 ดำเนินธุรกิจหลายภาคส่วนตั้งแต่พลังงาน เครื่องปรับอากาศ สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ คมนาคม และอสังหาริมทรัพย์

โดย...วันพรรษา อภิรัฐนานนท์/ ภาพ ไม่มีเครดิต

บี.กริมชูมาตรฐานอาคารเขียวบี.กริมชูมาตรฐานอาคารเขียว

บี.กริม องค์กรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ก่อตั้งปี 2421 ดำเนินธุรกิจหลายภาคส่วนตั้งแต่พลังงาน เครื่องปรับอากาศ สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ คมนาคม และอสังหาริมทรัพย์ โดยเป็นผู้นำทั้งด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาบริการสาธารณะ สร้างสรรค์เพื่อสังคม

ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม เล่าถึงการให้บริการสาธารณะ (Social Development Programs) ว่า ปีนี้ บี.กริม ครบรอบ 135 ปี โดยจะให้การสนับสนุนต่อเนื่องในโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ทั้งการศึกษา คุณภาพชีวิต โครงการด้านศาสนาและวัฒนธรรม โครงการด้านชีวิตความเป็นอยู่ ดนตรี กีฬา วัฒนธรรม ศิลปะ รวมทั้งโครงการด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท แคเรียร์ (ประเทศไทย) บริษัทในกลุ่ม บี.กริม ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญการออกแบบอาคารเขียวและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จัดบรรยายพิเศษแก่สถาปนิกผู้ออกแบบ Distinguished Sustainability Lecture Series ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานการออกแบบอาคารสีเขียว เทรนด์ระดับโลกในการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การบรรยายพิเศษดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมของบี.กริม ที่จัดขึ้นครั้งแรกปี 2554 ในรูปแบบของงานสัมมนาระดับภูมิภาค มุ่งให้ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านอาคารเขียวได้เผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ งานสัมมนาจัดขึ้นรวม 13 ครั้ง ในหลายประเทศ ประกอบด้วย เอเชีย เอเชียตะวันออกกลาง และบราซิล รวมผู้สัมมนา (มืออาชีพ) กว่า 1,500 คน

จอห์น แมนไดค์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท ยูไนเต็ด เทคโนโลยี–ไคลเมท คอนโทรล แอนด์ ซีเคียวริตี้ กล่าวในงานสัมมนาว่า แคเรียร์ซึ่งเป็นแบรนด์ในเครือยูไนเต็ด เทคโนโลยีฯ ถือเป็นผู้ริเริ่มเรื่องอาคารเขียว โดยเป็นบริษัทแรกที่ร่วมมือกับสมาคมอาคารเขียว หรือ World Green Building Council ในปี 2536

ในปีที่ผ่านมา แคเรียร์ร่วมวิจัยกับ World Green Building Council พบว่าอาคารเขียวเติบโตเป็น 2 เท่าทุก 3 ปี จากการศึกษาในปี 25512553 อาคารเขียวเพิ่มจาก 13% เป็น 28% และ 51% ตามลำดับ (สำรวจจากผู้เชี่ยวชาญการก่อสร้างอาคาร 900 คน ใน 62 ประเทศ)

“ต้นทุนอาคารเขียวสูงกว่าปกติ 510% แต่ช่วยลดการใช้พลังงานและปริมาณการใช้น้ำ การลงทุนในอาคารเขียวจึงให้ผลดีทั้งด้านธุรกิจและด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แคเรียร์จึงอยากมีส่วนร่วมในการผลักดันให้อาคารเขียวเติบโตมากยิ่งขึ้นทั่วโลก” จอห์น แมนไดค์ กล่าว

ฮัสตัน ยูแบงค์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสากลด้านอาคารเขียว เล่าว่า ปกติคนจะใช้เวลา 90% ทำกิจกรรมภายในอาคาร ถ้าการออกแบบเป็นไปตามแนวคิดอาคารเขียว นอกจากประหยัดพลังงาน ก็ยังลดสารพิษปนเปื้อนที่มากับวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง สุขภาพมนุษย์จะดีขึ้น

“คุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคารประกอบด้วย อากาศ แสง ความร้อน เสียง และกลิ่น โดยในสหรัฐอเมริกา พบว่า Sick Building Syndrome อาคารมีส่วนทำให้คนเจ็บป่วย ทำให้ต้องสูญเสียเงินค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก เช่น ในปี 2002 ต้องใช้จ่ายเพื่อการนี้ถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ”

จักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ รองประธานคณะกรรมการ สถาบันอาคารเขียวไทย เล่าว่า ความเป็นผู้นำด้านอาคารเขียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยเป็นรองก็แค่สิงคโปร์ โดยมี 70 อาคาร ที่ลงทะเบียนขอรับรองจากมาตรฐานบ้านอาคารและชุมชน LEEDTM (Leadership in Energy and Environmental Design)ซึ่ง 18 อาคารได้รับการรับรองเรียบร้อยแล้ว คิดเป็น 18% หรือ 577,038 ตารางเมตร

“แคเรียร์ตั้งเป้าเปลี่ยนตลาดให้เป็นอาคารเขียวภายในคนรุ่นถัดไป นั่นหมายถึง การประหยัดและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”