posttoday

ธปท.เตือนแก๊งหลอกตุ๋นเงินออนไลน์ระบาด

16 กรกฎาคม 2555

ธปท.เตือนผู้ค้าขายทางอินเตอร์เน็ต-ผู้ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กระวัง! แก๊งหลอกโอนเงินค่าภาษี ค่าธรรมเนียมสั่งซื้อสินค้า

ธปท.เตือนผู้ค้าขายทางอินเตอร์เน็ต-ผู้ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กระวัง! แก๊งหลอกโอนเงินค่าภาษี ค่าธรรมเนียมสั่งซื้อสินค้า

ธปท.เตือนแก๊งหลอกตุ๋นเงินออนไลน์ระบาด

นางชนาธิป  จริยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้การร้องเรียนในเรื่องถูกหลอกลวงทางโทรศัพท์ลดลง สะท้อนจากผลสำรวจคนร้องเรียนลดลง เพราะที่ผ่านมาธปท. หน่วยงานราชการอื่นๆ รวมถึงภาคเอกชน ได้ให้ความรู้ในเรื่องการหลอกลวงของกลุ่มมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์มาอย่างต่อเนื่อง  แต่กลับพบว่ากลุ่มมิจฉาชีพยังคงพัฒนาการหลอกลวงใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ด้วยการหันไปหลอกลวงผ่านอินเตอร์เน็ตหรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพิ่ม ดังนั้น จึงอย่างให้ผู้บริโภคที่ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กและผู้ค้าทางออนไลน์ระมัดระวังให้มากขึ้น

"ระยะหลัง มีร้องเรียนเข้ามาว่าถูกหลอกผ่านอินเตอร์เน็ต หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้น ล่าสุด มีกรณีการสั่งสินค้าจากธุรกิจคนไทยที่ขายผ่านเว็บโซด์ของตัวเอง หรือเว็บไซด์อื่นๆ ในอินเตอร์เน็ต โดยมิจฉาชีพจะทำทีมาสั่งสินค้าจากพ่อค้า แม่ค้าคนไทยที่ขายผ่านเน็ต แล้วอ้างว่าจะต้องมีค่าธรรมเนียมการโอนเงินเข้ามา หรือค่าธรรมเนียมการสั่งซื้อสินค้า หรือค่าภาษีอะไรต่างๆ จึงขอให้พ่อค้าแม่ค้าคนไทย ส่งเงินไปให้ก่อน และถ้าผู้ค้าขายทางเน็ตยอมจ่ายเงินไปก่อนก็จะเสียเงินฟรี จึงอยากให้ตรวจสอบลูกค้าให้ดีก่อน เพราะส่วนใหญ่การทำธุรกิจเหล่านี้ ไม่มีค่าธรรมเนียมในลักษณะนี้"นางชนาธิปกล่าว

นางชนาธิป กล่าวว่า ขอให้ประชาชนระมัดระวังการหลอกลวงที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตลอดเวลา โดยเฉพาะผ่านทางโซเชียล เน็ตเวิร์คที่มีมากขึ้น ถ้ามีคนเข้ามาเป็นเพื่อนหรือลูกค้าที่มาจากต่างประเทศ และมีการพูดถึงเรื่องค่าธรรมเนียม ภาษี หรือเงินอะไรที่ให้เราโอนไปให้เขาก่อน ก็ขอให้ระมัดระวังว่าจะถูกหลอกลวง อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจในรายละเอียดในการทำธุรกิรรมการเงินเหล่านี้ หรือเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ที่ไม่แน่นใจว่าหลอกลวงหรือไม่ ประชาชนผู้บริดภคสามาระโทรเข้ามาสอบถามที่ศคง.ได้ที่เบอร์ 1213 เพราะที่ผ่ามามีผู้เสียหายหลายรายที่ถูกหลอกให้โอนเงินไปแล้ว 1-2 ครั้ง

ทั้งนี้ ศคง.และธปท.ได้มีการเตือนการหลอกลวงผ่านโซเชียล เน็ตเวิร์ก โดยเฉพาะเฟสบุ๊ค ไปแล้ว ว่าให้ระวังบุคคลที่อาจจะเป็นมิจฉาชีพ เพราะมิจฉาชีพส่วนใหญ่ที่เข้ามาเป็นเพื่อนจะคุยกันอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะหลอกลวง เช่น ต้องการมาทำธุรกิจ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย หรือทำทีมาขอซื้ออสังหาริมทรัพย์จากเหยื่อเอง โดยให้เหยื่อเป็นคนจัดการเรื่องการซื้อขายให้ แล้วจะขอโอนเงินมาให้ในชื่อของเหยื่อ แต่จะมีข้อติดขัดว่าจะต้องส่งค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชีมาให้ก่อน หรือมีค่าภาษีการเปิดบัญชีในต่างประเทศ ขอให้เหยื่อโอนเงินมาให้ก่อน แล้วจะคืนให้พร้อมเงินที่โอนเข้าบัญชี เป็นต้น ซึ่งหากเหยื่อหลงเชื่อเพราะเห็นว่าเป็นเพื่อนกัน ก็จะถูกหลอกให้เสียเงินฟรี สร้างความเสียหายได้ไม่น้อย