posttoday

ติดตามการประชุม กนง. และสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงิน

18 พฤษภาคม 2563

คอลัมน์ มันนี่วีก (Money week) โดย...วรันธร ภู่ทอง, มนัสวิน ฐิติสมบูรณ์ สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย

สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทยประเมินว่าเงินบาทผันผวนสูงต่อเนื่อง โดยอยู่ในกรอบ 31.80-32.30 ในสัปดาห์นี้ปัจจัยต่อการเคลื่อนไหวเงินบาทที่สำคัญมาจากการตัดสินนโยบายการเงินของ ธปท. โดยคาดว่า ธปท. มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25bps มาอยู่ที่ 0.50% จากการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจทหดตัวลงมากโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 จากผลของการระบาดของโควิด-19 และมาตรการปิดเมือง นอกจากนี้ การประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 1 ที่มีแนวโน้มหดตัวลงจะเป็นปัจจัยต่อเงินดอลลาร์เช่นกัน ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทจะมาจากการผ่อนคลายการปิดเมืองที่เริ่มขึ้นในวันที่ 17 พฤษภาคมจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา แต่ยังต้องประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดรอบสองจากการผ่อนมาตรการ สำหรับประเด็นสำคัญในต่างประเทศที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ติดตามการเผยแพร่รายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป แถลงการณ์ของประธานเฟด นายเจอร์โรม โพเวลต่อหน้าสภาคองเกรส การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนประชุมประจำปี และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินโดนีเซีย

ภาพรวมตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องโดยเคลื่อนไหวในกรอบ 32.00-32.30 เนื่องจากพัฒนาการด้านการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีผู้ติดเชื้อรายวันน้อยถึงไม่มีมากว่า 2 สัปดาห์ ทำให้รัฐบาลเริ่มพิจารณาจะผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองในระยะที่ 2 ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นต่อการถือครองเงินบาท และเงินกดดันเงินบาทให้แข็งค่า ในขณะที่เงินสกุลในเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่า ตามทิศทางของดัชนีค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากสมาชิกของเฟด หลายท่านออกมาคัดค้านความเห็นที่ตลาดล่วงหน้าเริ่มคาดการณ์ว่า เฟดจะเริ่มใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบในช่วงต้นปี 2021 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดล่วงหน้ายังคงมุมมองความเป็นไปได้ดังกล่าวไว้ ในด้านนโยบายการเงิน เฟดประกาศซื้อกองทุน ETFs ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนในวันี้ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ นักลงทุนเริ่มกังวลว่าความตึงเครียดด้านการค้าของสหรัฐฯ และจีนจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวหา จีนว่าเป็นต้นเหตุของการระบาดขอไวรัสและจำเป็นต้องรับผิดชอบ โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ประกาศใช้คำสั่งพิเศษจำกัดบริษัทหัวเว่ยและแซดทีอีของจีนไม่ใช้ทำการค้าในสหรัฐฯ อีกทั้ง ประธานาธิบดีทรัมป์ยังแสดงความเห็นว่าไม่ต้องการคุยกับสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนในตอนนี้ และกำลังเพ่งเล็งบริษัทของจีนที่มาค้าขายกับสหรัฐฯ แต่ไม่ได้ทำตามข้อกำหนดของสหรัฐฯ โดยเสริมด้าจะทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องชาวอเมริกัน ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ยกระดับความกังวลของนักลงทุนทั่วโลกต่อความตึงเครียดด้านการค้าของสหรัฐฯ และจีน ทั้งนี้ เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.06 ในวันศุกร์ (เวลา 17.10 น.)

ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับแรงสนับสนุนจากการที่นักลงทุนกลับเข้าสู่โหมดปิดรับความเสี่ยง โดยประเด็นสำคัญมาจากความกังวลที่มีต่อการผ่อนปรนการปิดเมืองในหลายประเทศ เนื่องจากเห็นการกลับมาระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีน เกาหลีใต้ และเยอรมนีอีกครั้ง ขณะที่นักลงทุนมีความกังวลต่อแผนการเปิดเมืองของประเทศสหรัฐฯ ภายหลังจากที่นายแอนโทนี ฟอซี ผู้อำนายการสภาบันผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติชี้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะสูงขึ้นหากผ่อนมาตรการปิดเมืองเร็วเกินไป และเตือนว่าการระบาดระลอกสองอาจเกิดขึ้นในช่วงหลังของปีนี้ นอกจากนี้อีกประเด็นที่มีการพูดถึงคือเรื่องของความเป็นไปได้ในการลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นติดลบของธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายหลังจากที่นักลงทุนในตลาดฟิวเจอร์ให้ความเป็นไปได้ว่าดอกเบี้ยจะติดลบในช่วงปีหน้า อย่างไรก็ตามสมาชิกเฟดบางท่านได้ให้ความเห็นต่อต้านการลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นติดลบ โดยเชื่อว่าไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมจะใช้ในสหรัฐฯ และมองว่าเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้ให้ผลดีเท่าเครื่องมือผ่อนคลายทางการเงินอื่นๆ สอดคล้องกับความเห็นของคุณเจอโรม โพเวล ประธานเฟดที่กล่าวว่าประสิทธิภาพของนโยบายนี้ยังไม่ชัดเจน และคณะกรรมการยังไม่ได้พิจารณาใช้ตอนนี้ ขณะเดียวกันคุณโพเวลได้แสดงความกังวลถึงความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่รุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ในภาพรวมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯปรับตัวลดลง

ขณะที่ประเด็นในประเทศมีการประกาศความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยเดือนเมษายนลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 1999 โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยรายงานตัวเลขความเชื่อมั่นลดลงมาอยู่ที่ 47.2 จาก 50.3 ในเดือนก่อน สาเหตุหลักมาจากความกังวลผลระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งผลการทบจากมาตรการปิดเมืองและภัยแล้ง โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวในปี 2020 ที่ -3.52% ถึง -5.0% นอกจากนี้ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 จะมีการประชุมนโยบายการเงินของไทย ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คาดหวังให้ ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25bps จึงเห็นแรงเกร็งกำไรดังกล่าวผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ส่งผลให้ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุ 1, 2, 3, 5, 7 และ 10ปี อยู่ที่ 0.57% 0.61% 0.66% 0.81% 1.01% และ 1.17% ตามลำดับ

ติดตามการประชุม กนง. และสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงิน

กระแสเงินทุนต่างชาติในสัปดาห์ที่ผ่านมาไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิประมาณ 5,976 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 481 ล้านบาท ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 5,495 ล้านบาท และไม่มีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ