posttoday

ดรีมเกิร์ลส์ เสียงดีจาก 3 ค่าย

24 กรกฎาคม 2555

การพบกันครั้งแรกของนักร้องเสียงดีจาก 3 ค่าย ปานธนพร แวกประยูร ศิลปินจากค่ายอาร์เอส ลูกหว้าพิจิกา จิตตะปุตตะ

โดย...นกขุนทอง / ภาพ วีรวงศ์ วงศ์ปรีดี

การพบกันครั้งแรกของนักร้องเสียงดีจาก 3 ค่าย ปาน-ธนพร แวกประยูร ศิลปินจากค่ายอาร์เอส ลูกหว้า-พิจิกา จิตตะปุตตะ จากค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ ปุยฝ้าย-ณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล จากทรูแฟนเทเชีย (เอเอฟ 4) ซึ่งไม่เพียงได้ประชันพลังเสียงในการร้องเพลงเท่านั้น ทว่าเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ท้าทายของศิลปิน เมื่อถูกวางตัวให้เป็นนักแสดงเด่นของละครเวทีชื่อก้อง Dreamgirls

Dreamgirls ดัดแปลงจากเรื่องราวความสำเร็จของบริษัท โมทาวน์ เรคอร์ด (Motown Record Corporation) กับเรื่องอื้อฉาวภายในวงดนตรีเดอะ ซูพรีมส์ และพัฒนาการของดนตรีริทึมแอนด์บลูส์แบบแอฟริกันอเมริกัน ในช่วงทศวรรษ 1960-1970

เรื่องราวของการเดินทางตามความฝันของนักร้องสาว 3 คน ประกอบด้วย เอฟฟี ไวท์ ผู้ก่อตั้งและนักร้องนำผู้มีพรสวรรค์ ดีนา โจนส์ และลอเรล โรบินสัน ที่เริ่มต้นด้วยการประกวดร้องเพลงในนามวงเดอะ ดรีมเมตส์ (The Dreammettes) และได้รับโอกาสให้เป็นนักร้องแบ็กอัพของ จิมมี เออร์ลี นักร้องโซลชื่อดัง ก่อนที่ เคอร์ทิส เทย์เลอร์ จูเนียร์ เซลส์ขายรถคาดิลแล็ก ที่ผันตัวมาเป็นผู้จัดการวง และตั้งวงเดอะ ดรีมส์ (The Dreams) ให้พวกเธอใหม่

ดรีมเกิร์ลส์ เสียงดีจาก 3 ค่าย

ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ ดีนา โจนส์ กลายมาเป็นนักร้องนำแทน เอฟฟี ไวท์ เดอะ ดรีมส์ กลายมาเป็นวงนักร้องหญิงที่โด่งดัง แต่ชื่อเสียงและความสำเร็จต้องแลกเปลี่ยนกับมิตรภาพที่สูญเสียไป

ในปี 2006 ละครเวทีเรื่องนี้นำมาทำเป็นภาพยนตร์โดยดรีม เวิร์กส์ พิกเจอร์ส และพาราเมาต์ พิกเจอร์ส ได้รับรางวัลภาพยนตร์เพลงยอดเยี่ยม ลูกโลกทองคำครั้งที่ 64 และรางวัลดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยมในการประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 79

และในปี 2012 ดรีมบอกซ์ ได้นำมาทำเป็นละครเวทีให้ผู้ชมได้เต็มอิ่มกับบทเพลงในภาคภาษาไทย...

ลูกหว้า รับบท ดีนา โจนส์

ลูกหว้าพิจิกา จิตตะปุตตะ รับบท ดีนา โจนส์ นักร้องแบ็กอัพของเดอะ ดรีมเมตส์ ที่ต่อมากลายเป็นนักร้องนำของวงเดอะ ดรีมส์ แม้เธอจะเคยมีประสบการณ์ด้านการร้องเพลงมากว่า 10 ปี และผ่านงานแสดงละครเวทีมาหลายเรื่อง เช่น พระมหาชนก วาห์คาบาเร่ คู่กรรมเดอะมิวสิคัล เป็นต้น แต่สำหรับการก้าวขึ้นมาสู่บทบาทสำคัญของเรื่องเช่นนี้ นับเป็นบทบาทที่ท้าทายและแทบต้องนับหนึ่งกันเลยทีเดียว

“คาแรกเตอร์มีครบรสจริงๆ ตัวละครมีพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลง อยู่กับเพื่อนจะสนุกสนานร่าเริง พอขึ้นมาเป็นผู้นำวงก็จะเก่งเรื่องการจัดการ จะต้องเล่นหลายอารมณ์ สนุก เศร้า รัก” ลูกหว้า พูดถึงตัวละครที่เธอต้องสวมบทบาท ซึ่งอีกหนึ่งความกดดันก็คือ ตัวละคร ดีนา โจนส์ เมื่อครั้งเป็นภาพยนตร์ ผู้รับบทนี้คือ “บียอนเซ โนลส์” นักร้องผู้โด่งดัง

ดรีมเกิร์ลส์ เสียงดีจาก 3 ค่าย

 

“มีหลายๆ คนทักว่าเราต้องเล่นเป็นบียอนเซในหนัง ก็ตื่นเต้น กดดัน เพราะถึงเราจะไม่คิดเทียบ แต่ยังไงก็คงมีคนเปรียบเทียบ แต่การตีความของหนังกับละครเวทีจะแตกต่างกัน ในหนังจะมีความเป็นคอมเมอเชียล ทันสมัยกว่า แต่ละครเวทีจะใกล้เคียงของเก่า ในเรื่องของการแต่งตัว และละครเวทีมันออนสเตจการแสดงเท่านั้น แต่หนังมีกล้อง มีแสง มีการตัดต่อ”

สำหรับดนตรี การร้องในเรื่องจะเป็นยุคทศวรรษ 19601970 ซึ่งเป็นแนวที่ลูกหว้าชอบฟังอยู่แล้ว แต่ไม่เคยร้องและไม่สันทัดเท่าไหร่ “การร้องยากกว่าการแสดง ถึงเราเป็นนักร้อง แต่การร้องเพลงในแบบคนผิวสี แถมยังร้องแบบภาษาไทยนั้นยาก ต้องร้องให้ดูเป็นสากล แต่ฟังเป็นภาษาไทยแล้วรู้เรื่อง ต้องปรับการร้องจากที่เราเคยร้องแบบป๊อป ให้ดูเป็นการเล่าเรื่องแบบมิวสิเคิล อารมณ์เพลงใช้การตีความร่วมกับผู้กำกับ อาศัยการค่อยๆ เข้าใจบท ค่อยๆ ตีความ หาวิธีการร้องให้เหมาะกับเพลงนั้น

ในเรื่องมีทั้งอารมณ์โกรธ ดีใจ เสียใจ ยากตรงคำร้อง แค่พูดเป็นทำนองก็ยากแล้ว ประสบการณ์ก็ช่วยได้ ทำให้เราเข้าใจในเรื่องดนตรีได้เร็วขึ้นประมาณหนึ่ง แต่ต้องมาเพิ่มเติมกันอีก อย่างเพลงชื่อ Move ร้องว่า Move, Move ถ้าเราร้องว่า ไป ไป มันก็ง่าย แต่มีนนิงของมูฟ คือ ย้ายออกไป เราก็เปลี่ยนเนื้อร้องมาเป็น ย้าย ย้าย ย้ายออกไปจากใจฉัน”

ดรีมเกิร์ลส์ เสียงดีจาก 3 ค่าย

การได้มาร่วมทำงานด้วยกันของศิลปิน 3 ค่าย ลูกหว้า มองว่าเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก “ถ้าไม่มีเวทีนี้อาจจะยากมากที่ได้มาร้องเพลงด้วยกัน ดีใจที่มีโอกาสแบบนี้ สนุกมาก เคสนี้มีความสุขมาก ทุกคนแลกเปลี่ยนกันได้หมด

ใน 3 คน เขาเลือกมาแล้วว่า แต่ละคนมีโทนเสียงที่เข้ากันได้ ในเรื่องพี่ปานต้องร้องเสียงกว้างที่สุด ลอเรล (ปุยฝ้าย) จะเสียงแหลม ดีนา (ลูกหว้า) จะเสียงกลางๆ ในชีวิตจริงเราก็ร้องกันหลากหลายรูปแบบ ทุกคนร้องเสียงสูงต่ำได้หมด เขาเลือกจากความเหมือนที่แตกต่าง พอมาร่วมกันทำให้เพลงมีมิติ อย่างเพลงไลน์ประสานยากมาก เราเต้นด้วยร้องด้วย เราจะร้องอย่างเดียว มีลืมท่า ต้องใช้ความพยายามเต็มที่ เราต้องให้กำลังใจกัน เราต้องปรับ แม้พวกเราจะมีพื้นฐาน แต่ไม่ได้มาแบบสบายแน่ๆ ต้องมาเพิ่มกันอีก เราก็จะถ่ายเทแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราขาดกันได้”

ปุยฝ้าย กับบท ลอเรล โรบินสัน

ปุยฝ้ายณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล รับบท ลอเรล โรบินสัน นักร้องแบ็กอัพของเดอะ ดรีมเมตส์ และเดอะ ดรีมส์ เธอบอกว่า ได้บทนี้มาเพราะความบังเอิญ ในวันออดิชันที่มีนักร้องหญิงของเมืองไทยมาคัดตัวกันหลายคน ระหว่างที่เธอรอคิวอยู่นั้น ก็ได้เปิดเพลงนักร้องผิวสีและร้องตาม ซึ่งเป็นจังหวะเสียงสูงปรี๊ดๆ จนไปสะกิดหูผู้กำกับดนตรี สุธี แสงเสรีชน อย่างจัง

ดรีมเกิร์ลส์ เสียงดีจาก 3 ค่าย

“ดีใจมากๆ ที่ได้มาเล่นเรื่องนี้ นับเป็นโปรเจกต์ใหญ่ที่สุดที่เคยแสดงมา ฝ้ายชอบร้องเพลงมาก และก็โชคดีมากๆ ตั้งแต่จบเอเอฟ 4 (5 ปีที่แล้ว) ก็ได้เล่นละครเวทีทุกปี ตั้งแต่โจโจซัง แม่นาค น้ำใสใจจริง นางเหมียวย้อมสี สุนทราภรณ์ ละครเวทีเทิดพระเกียรติความฝันอันสูงสุด ทุกอย่างเป็นมิวสิเคิลหมดก็เป็นประสบการณ์ เพราะละครเวทีเป็นศาสตร์ที่ท้าทาย ตอนเราแสดงไม่มีกล้อง ไม่มีผู้กำกับ ไม่มีสวิตชิง ทุกอย่างคือคนดู เราจะสื่อสารยังไงให้คนเข้าใจเพลงที่เราร้อง ไม่ใช่แค่เนื้อเพลงอย่างเดียว แต่ความรู้สึกด้วย”

แม้จะผ่านงานมิวสิเคิลมาหลายเรื่อง แต่เรื่องนี้ปุยฝ้ายบอกหินมาก... “ละครเรื่องนี้นักร้องมีปัญหาทุกคน เรื่องนี้เสียงแหบไม่ได้ ร้องเต็มตลอด เรื่องอื่นจะร้องแบบป๊อป คลาสสิก ร้องแบบคลาสสิกคือหลบเสียงได้ แต่กฎของเรื่องนี้ห้ามหลบเสียง เรื่องนี้พวกเราเจ็บป่วย พี่ปานก็ป่วย เพราะเป็นการร้องที่เราเพิ่งเซย์ไฮกับมัน ต้องให้เวลากับมัน ให้เส้นเสียงเราค่อยๆ แข็งแรง

ตอนนี้ต้องดูแลเส้นเสียงอย่างดี ตั้งแต่อาหารเลย ห้ามกินของมัน ของทอด นม รอบไหนซ้อมไม่ต้องเต็มที่ทุกรอบก็ได้ ไม่งั้นเส้นเสียงจะบาดเจ็บมาก และฝ้ายได้ปรึกษากับคุณหมอ คุณหมอแนะนำว่าอย่าหลบเสียงบ่อย ต้องใช้บ่อยๆ แต่ค่อยๆ เพิ่ม เพื่อให้เส้นเสียงแข็งแรง จะได้ชิน แรกๆ ที่เราร้องบาดเจ็บเลย เพราะมันรับไม่ได้ ส่องกล้องมามีตุ่มที่เส้นเสียงเลย การร้องแบบนี้เป็นอะไรที่แปลกใหม่ เป็นการร้องเสียงหลังกะโหลก คนดำชอบร้องแบบโวยวาย วี้ดๆ ถ้าเราร้องถูกลมจะไม่กระแทกเส้นเสียงเราแรง”

ร้องคนเดียวว่ายากแล้ว พอมาร้อง 3 คน ปุยฝ้ายบอกเสียงดังลั่นว่า ยากกว่า... “ร้อง 3 คนจะประสานกันตลอด เราต้องฟังเสียงคนอื่นด้วย และต้องคอนโทรลเสียงของเราให้บาลานซ์กับเพื่อนๆ จะใจจดใจจ่อร้องแต่ของเราก็ไม่ได้ และร้อง 3 คนเป็นเพลงโชว์ต้องมีท่าด้วย ตั้งใจร้องก็จะลืมท่า (หัวเราะ) และเวลาเข้ากัน 3 คน พี่ปานกับพี่ลูกหว้าจะต้องทะเลาะกัน เราก็เป็นตัวห้ามและต้องเสียงสูง โน้ตที่ร้องอยู่ข้างบนสุดเลย

ดรีมเกิร์ลส์ เสียงดีจาก 3 ค่าย

เสียงฝ้ายกว้าง สูงก็ร้องได้ แต่นี่มาแบบสูงเต็มๆ เสียงห้ามหลบ ก็คิดตลอดเราจะรอดไหมเนี่ย เพราะเราร้องเสียงสูงแบบนักร้องผิวสีได้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่เราถนัด ต้องมาฝึก ต้องเอาให้ได้ แรกๆ กลัวจะไปถ่วง เพราะหลายเพลงจะต้องร้องไปด้วยกัน แต่โชว์ร้องกัน 3 คนพอเข้าด้วยกันโอเค ทำได้ สนุกมาก เรารู้สึกว่าเสียงมาจาก 3 ทางแล้วเดินไปด้วยกัน ลืมไปเลยว่าเราเป็นคนไทย เพราะเพลงและเวทีแสงเสียงทำให้เราอินหลุดเข้าไปเลย”

ปาน รับบท เอฟฟี ไวท์

ปานธนพร แวกประยูร รับบท เอฟฟี ไวท์ ผู้ก่อตั้งและนักร้องนำวงเดอะ ดรีมเมตส์ และต่อมากลายเป็นนักร้องแบ็กอัพของวงเดอะ ดรีมส์ นับเป็นครั้งแรกกับการแสดงของปาน หนำซ้ำยังรับบทเด่นสุดในเรื่องอีกด้วย ระหว่างที่เธอเล่าถึงการทำงานในบทบาทใหม่นี้ เรานับคำว่า ยาก ได้หลายที จนสรุปใจความได้ว่า ยากจริงๆ นั่นแหละ

“ปานร้องเพลงมา 13 ปี คำว่ามืออาชีพต้องดูว่าเรามืออาชีพแบบไหน ถ้าร้องของตัวเองคนเดียวไม่มีปัญหา แต่ร้องแบบคนดำเขาไม่เหมือนเราเลยนะ เรานุ่มนิ่ม แต่เขาพลังเยอะมาก ปานต้องปรับทุกอย่าง เรียนร้องเพลง หาช่องเสียง โน้ตที่สูงขนาดนั้นใช้ยังไง ต้องใช้ทั้งร่างจริงๆ มาต่อเติมในส่วนที่มันจะต้องใช้ ยากตั้งแต่โครงสร้างของเพลงไม่ใช่เมโลดีเพลงไทย เป็นทางของเขา แล้วยากตรงที่เราต้องร้องแบบออริจินัลคีย์ ต้องซ้อมเยอะๆ ให้เข้าปาก ดัดมันให้ได้ เป็นงานที่ท้าทายมาก”

ร้องเพลงยากแล้ว การแสดงก็ยากเข้าไปอีกสำหรับมือใหม่ “เคยดูของเก่า ทั้งหนังและละครเวที แต่ตอนที่ดูไม่ได้ใส่ใจมาก ไม่ได้ใส่ใจวิถีของทางโน้น เพราะเขาร้องโหดมาก พอได้มาเล่น ไม่ได้ดู กลัวติด มาฟังผู้กำกับอยากได้อะไร เพราะแต่ละฉบับก็ตีความแตกต่างกันไป อย่างภาษาไทยมีข้อจำกัดเยอะ และภาษาไทยคำให้อารมณ์ความรู้สึกยิ่งกว่าภาษาเขาอีก

ดังนั้น งานนี้ทุกอย่างเราต้องเปิดใจ แอ็กติงให้ผู้กำกับช่วย ละครเวทีมันสดมาก เราไม่เคยแสดง เคยเห็นแต่งานเบื้องหลัง ไม่เคยเล่นเอง ก็ยากดี สนุกดี แรกๆ ก็ขัดๆ ทำไมเราต้องแสดงด้วย แต่ผู้กำกับเก่ง สอนให้เราคิด เหตุผลอะไรที่ต้องพู