posttoday

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

04 มกราคม 2565

คุณค่าการนำสิ่งของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycling) อีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ที่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับโลก ตระหนักถึงความสำคัญมาโดยตลอดด้วยมุ่งหวังให้การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนของโลกเกิดประโยชน์สูงสุด

โดยกิจกรรมสำคัญที่ GC ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่2 คือโครงการ Upcycling Upstyling ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “Home & Living” อีกกลยุทธ์หลักที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายในประเทศ ด้วยวิธีการ Collaboration การทำงานร่วมกันตลอดกระบวนการระหว่าง แบรนด์ผลิตภัณฑ์ (Owner) นักออกแบบ (Designer) และ ผู้พัฒนาวัสดุรีไซเคิล (Converter) ถ่ายทอดผ่านผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆภายในที่พักอาศัย ได้อย่างน่าสนใจ    

Swing Collection ชวนแกว่งโลกให้เติบโตยั่งยืน 

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คุณศุภพงศ์ สอนสังข์ นักออกแบบ Jird Design Gallery กล่าวว่า “โครงการฯนี้ เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการใช้วัสดุเหลือใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่มาใช้ประโยชน์ได้จริงในกลุ่มของใช้ของตกแต่งบ้าน อย่างผลงาน Swing Collection อันเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง Jird, MBJ  และ Patom รองรับกลุ่มเป้าหมายครอบครัว เป็นหลัก”   

โดยแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ Swing Collection มาจากแรงบันดาลใจ ความสนใจ ในตัวของเล่นที่แปลงร่างได้เป็นทุนเดิม ภายใต้โจทย์การทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อไปนำไปสู่กระบวนการ Upcycling วัตถุดิบพลาสติก แกลลอน พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่เก้าอี้ชิงช้า ให้คุณสมบัติ แข็งแรง ทนทาน และสวยงาม เพื่อทดแทนการใช้ ‘ไม้’ วัสดุหลักในการทำเฟอร์นิเจอร์ที่หาได้ยาก และ มีราคาสูงในปัจจุบัน

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คุณอรรถโชติ บรรจงเกียรติ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เอ็ม.บี.เจ. เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (MBJ) กล่าวในฐานะ Converter ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้พัฒนาขึ้นจาก พลาสติก แกลลอน วัสดุหลักสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Swing Collection ด้วยกระบวนการคิดใหม่ ออกแบบใหม่ ผ่านการทำงานร่วมกัน ภายใต้โครงการ Upcycling Upstyling ของ GC ที่สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ (Commercial) ได้จริงในอนาคต

ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้มีจุดเด่น คือ การใช้ไม้เทียม (WPC) อีกหนึ่งวัสดุหลักในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้อย่างกว้างขวางปัจจุบัน ด้วยการนำ WPC ที่มีส่วนประกอบจาก ‘พลาสติก แกลลอน’ หนึ่งในส่วนผสมหลักของวัสดุ มีสัดส่วนกว่า 60% เพื่อให้ได้วัสดุ WPC ที่มีคุณสมบัติ ทนทาน แข็งแรง และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน โดยเฉพะในกลุ่มเด็กเล็ก

“ทุกวันนี้ มีพลาสติกใช้แล้วจำนวนมากที่กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของประเทศไทย ซึ่งจากการทำงานร่วมกับพันธมิตรภายใต้โครงการฯของ GC ในปีนี้บริษัทภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้มีส่วนร่วมรณรงค์การใช้วัสดุเหลือใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งต่อแนวคิด Upcycling ให้โครงการฯ เติบโตต่อไปเพื่อสนับสนุนการใช้วัสดุเดิมซ้ำ ลดการใช้วัสดุใหม่ ที่จะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนและเติบโตในสังคมร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม” คุณอรรถโชติ กล่าว

คุณอนัฆ นวราช ผู้อำนวยการปฐม ออร์แกนิก ลิฟวิ่ง กล่าวว่า “กิจกรรมครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการฯของ GC ที่ยอดเยี่ยม ด้วยจะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้สังคมในวงกว้างตระหนักถึงการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการใช้วัสดุจากของเสียที่สามารถนำกลับมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ ที่เรียกว่า Upcycling ได้อย่างเป็นรูปธรรม จากความร่วมมือระหว่างพันธมิตรด้านต่างๆตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อย่างครบวงจร”  

โดยไอเดียผลิตภัณฑ์ Swing Collection มาจากโจทย์ที่ได้รับ คือผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จัดวางนอกสถานที่ ที่พัฒนาขึ้นจากวัสดุหลักพลาสติกใช้แล้วและเศษไม้ ที่ได้จากฟาร์ม ปฐม ออร์แกนิก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีปริมาณต่อวันจำนวนมากเพียงพอที่จะนำมาหลอมรวมเป็นเนื้อเดียว ก่อนพัฒนาเป็นวัสดุใหม่ WPC เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ดังที่เห็น ซึ่ง ปฐม ออร์แกนิก ในฐานะเจ้าของแบรนด์ ยังเตรียมนำเก้าอี้ชิงช้าชิ้นนี้ไปใช้งานจริงทั้งในส่วนธุรกิจ ฟาร์ม และ ร้านกาแฟ (Café’) ของตัวเอง เช่นกัน

SHARE to CHAIR วนกลับของเดิมสู่สิ่งใหม่ให้ดีขึ้น

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คุณศุภรัตน์ ชินะถาวร กรรมการผู้จัดการ บริษัทปาร์ตี้ สเปซดีไซน์ จำกัด (P.S.D.) กล่าวว่า “บริษัทฯมีโอกาสเข้าร่วมโครงการฯ ร่วมกับ GC ต่อเนื่องปีที่2 ซึ่งเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีในการต่อยอดพร้อมส่งต่อแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Upcycling ให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำได้อีกครั้ง ที่จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันตลอดกระบวนการระหว่างนักออกแบบ คอนเวอเตอร์ และแบรนด์ผลิตภัณฑ์”

ขณะที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ SHARE to Chair ชิ้นนี้ บริษัทฯวางแนวคิดหลักคือการนำกลับมาใช้ใหม่ผ่านสัญลักษณ์ ‘หัวลูกศรหมุนกลับ’ เพื่อสะท้อนต่อไปยัง Branding ของผลิตภัณฑ์แอร์โรว์ คือ ลูกศร ด้วยเช่นกัน ที่จะถูกนำมาแสดงไว้ในทุกผลิตภัณฑ์ Upcycling ของแบรนด์ทั้ง ชุดชั้นวางของเก้าอี้ซึ่งเป็นผลงานชิ้นดังกล่าว รวมไปถึง ถุงบรรจุสินค้าเครื่องแต่งกายแอร์โรว์ เป็นต้น ที่สะท้อนถึงชื่อโครงการ Upcycling Upstyling ไปพร้อมกันด้วย

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คุณวิริทธิ์พล ชัยถาวรเสถียร กรรมการผู้จัดการ บริษัทประชาอาภรณ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในฐานะเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย ‘Arrow’ ว่าบริษัทเข้าร่วมโครงการฯ ต่อเนื่องเป็นปีที่2เพื่อตอกย้ำการเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์การใช้วัสดุซ้ำจากของเสียที่เกิดขึ้น อย่างถุงพลาสติกเครื่องแต่งกายแอร์โรว์เพื่อแปรรูปเป็นวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้ผลงาน SHARE to CHAIR ที่สามารถนำไปใช้งานด้านการตกแต่งหน้าร้าน (Display) ให้กับช้อปแบรนด์แอร์โรว์ ได้จริง

“การได้มีโอกาสทำงานร่วมกับพันธมิตรนักออกแบบ และคอนเวอเตอร์ ผ่านโครงการฯครั้งนี้ของ GC ในการพัฒนาวัสดุพร้อมรีดีไซน์ใหม่เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้ประโยชน์จริงในอนาคต ซึ่งจะยังส่งผลดีต่อการสร้างการรับรู้ในสังคมถึงผลิตภัณฑ์ Upcycling ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกเหนือจากการเข้ามาแก้ปัญหาลดการใช้พลาสติกที่มาจากถุงบรรจุหรือโพลีเอสเตอร์อื่นๆของบริษัทในฐานะเจ้าของสินค้า” คุณวิริทธิ์พล กล่าว

นายวัฒนา กฤษณาวารินทร์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยนำ โพลีแพค จำกัด กล่าวว่า ในฐานะ คอนเวอเตอร์ บริษัทได้นำประสบการณ์และความชำนาญของโรงงานด้านการแปรรูปวัตถุดิบพลาสติกใช้แล้วเพื่อให้ได้วัสดุใหม่ PCR เม็ดพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากพลาสติกต่างๆที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว พร้อมนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ขณะเดียวกันยังเป็นการตอบโจทย์หลักในภาพรวมของโครงการฯ GC ในครั้งนี้ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)อีกด้วย ที่จะผลักดันให้เกิดการรับรู้ของสังคมในวงกว้างด้านความยั่งยืนร่วมกัน

“บริษัทรับโจทย์หลักคือ พัฒนาวัสดุพลาสติกใหม่ในรูปแบบเส้นพร้อมนำไปใช้ร่วมกับการออกแบบให้ได้ผลิตภัณฑ์ SHARE to CHAIR สำหรับใช้ในการจัดวางตกแต่งสินค้าให้กับเจ้าของแบรนด์ และยังสามารถพับเก็บเป็นที่นั่งได้ ด้วยคุณสมบัติใหม่ของเม็ดพลาสติกรียูสมีคุณสมบัติให้ความเหนียว ทนทาน รองรับน้ำหนักได้ดี” นายวัฒนา กล่าว

Mello Hello สวัสดีโลกส่องสว่าง ใบใหม่

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

ดร.กรกต อารมย์ดี Creative Director บริษัท กรกต อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวในฐานะนักออกแบบผลงานผลิตภัณฑ์  Mello Hello โคมไฟส่องสว่างที่ได้แรงบันดาลใจจากการพัฒนาวัสดุเหลือใช้ ถาดบรรจุภัณฑ์อาหาร และเชือกถัก(เข็มขัด)ในแหอวน เข้าสู่กระบวนการหลอมรวมเพื่อให้ได้เนื้อพลาสติกใหม่ก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อผลงานดังกล่าว ที่เปลี่ยนแปลงจากรูปลักษณ์ของวัสดุเดิมได้อย่างชัดเจน และ สวยงาม พร้อมทำตลาดเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าของใช้ของตกแต่งบ้าน ร้านอาหาร รีสอร์ท โรงแรม ฯลฯ ในอนาคต

“บริษัทฯ ยินดีอย่างมากที่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการฯเป็นครั้งที่สองกับทาง GC หลังจากได้รับประสบการณ์การทำงานร่วมกันในปีแรกที่ผ่านมา ซึ่งการทำงานในปีนี้เรามีความหนักแน่นและเข้มข้นมากขึ้น จากการส่งต่อทักษะงาน Handy Craft อย่างต่อเนื่องไปยังชุมชนบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งชาวบ้านกลุ่มนี้มีทักษะฝีมืองานหัตถกรรม ซึ่งถือว่าเป็นโครงการฯที่มีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชุมชน และจะยังเป็นต้นแบบส่งต่อไปยังชุมชนอื่นๆให้เติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน” ดร.กรกต กล่าว

คุณรักษ์พงศ์ สมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ เอ็นแมช (Enmach) กล่าวในฐานะ Converter ผลิตภัณฑ์โคมไฟส่องสว่าง ในชื่อผลงาน Mello Hello ว่า ชิ้นงานที่ได้พัฒนาจากวัสดุเดิมพลาสติกบรรจุภัณฑ์ถาดอาหาร ซึ่งเป็นของเสียจากธุรกิจร้านอาหาร โดยตัวถาดพลาสติกจะถูกนำมาเข้ากระบวนการบดพร้อมรีดให้แบนเป็นเส้น เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุใหม่ตามที่ลูกค้าต้องการ โดยมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับเส้นหวายทั่วไป ก่อนส่งต่อไปยังชุมชนหัตถกรรมต่างๆ เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โคมไฟส่องสว่าง ภายใต้ผลงาน Mello Hello       

“การเข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งการส่งต่อและสร้างการรับรู้ในสังคมวงกว้างเป็นอย่างดี ต่อการนำของเสียที่เกิดขึ้นในภาคการผลิตให้หมุนวนกลับมาสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเส้นพลาสติกที่ได้จากการแปรรูปถาดอาหาร ที่สามารถใช้ทดแทนหวายสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่างๆในตลาดสินค้ารีไซเคิลได้เช่นกัน” คุณรักษ์พงศ์ กล่าว

คุณจักรวาล แม้นสุวรรณ ผู้อำนวยการจัดซื้อ บริษัทโออิชิ จำกัด (มหาขน) กล่าวว่าในฐานะเจ้าของแบรนด์ โออิชิ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้บรรจุภัณฑ์ถาดอาหารจากวัสดุพลาสติกบางส่วนโดยตรง ด้วยมองเห็นความสำคัญจากการนำวัสดุต้นทางดังกล่าว มาแปรรูปสู่วัสดุใหม่ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างพันธมิตร นักออกแบบ โรงงานผู้แปรรูปวัสดุ และ เจ้าของแบรนด์อย่างโออิชิ ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการแก้โจทย์ใหญ่เดียวกัน คือ Recycle ถาดอาหารสู่ Upcycling ภายใต้ผลิตภัณฑ์ใหม่ Mello Hello โคมไฟส่องสว่างที่ผลิตขึ้นจากวัสดุรีไซเคิล        

“ปกติแล้วพลาสติกใช้แล้วภายในร้านอาหาร จะถูกนำไปขายเป็นเศษพลาสติกให้กับร้านของเก่า แต่จากโครงการฯนี้ของ GC ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีไอเดียต่างๆ ทั้งด้านการออกแบบ ผู้พัฒนาวัสดุ และเจ้าของแบรนด์เองมีช่องทางในการพัฒนาวัสดุใหม่ๆเกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้งานจริงในรูปแบบผลิตภัณฑ์ดีไซน์ใหม่ อย่างผลงาน ชิ้นนี้ที่ต่อยอดจากบรรจุภัณฑ์ถาดอาหารในร้านไปสู่โคมไฟส่องสว่างได้ และยังช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ในอนาคตผ่านการสร้างการรับรู้เรื่องราวไปยังกลุ่มเป้าหมายประชาชนต่อไปด้วย” คุณจักรวาล กล่าว