posttoday

รพ.เอกชน ชี้แผนคุมวิกฤตโควิดระบาดรอบ3 ต้องใช้ยุทธวิธีแบบทหารสกัดลุกลามก่อนถึง'จุดตาย'

17 พฤษภาคม 2564

"ปัญหาโควิดของบ้านเราในเวลานี้ คือ ต้องยับยั้งเคสคนไข้จากสีเขียว ที่เป็นโพสิทีฟเฉยๆ ไปสู่สีเหลือง ผู้มีอาการนิดหน่อย ต้องไม่ให้ไปต่อสีแดง หรือ มีเข้าสู่ภาวะวิกฤตเข้าห้องไอซียู"

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดระลอก3 รายใหม่ที่เพิ่มขึ้นกว่า 3-4 พันคน ต่อเนื่องทุกวันในเวลานี้ เรียกได้ว่าเข้าสู่ภาวะ 'Outbreak' การแพร่ระบาดไร้ขีดจำกัดอย่างสมบูรณ์แบบ จากจุดเริ่มต้นคลัสเตอร์ทองหล่อ เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และกระจายต่อไปทั่วประเทศ กระทั่งลุกลามถึงคลัสเตอร์เรือนจำ ด้วยยอดผู้ติดเชื้อสะสมในไทยอยู่ที่ 9,635 ราย และ ผู้เสียชีวิต 25 ราย (17 พ.ค.)

นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค และ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนอาเซียน เปิดเผยในฐานะที่ปรึกษาสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ว่าแนวทางการจำกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 3 ที่มีแนวโน้มลุกลามไปยังผู้ติอติดเชื้อรายใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ในขณะนี้ และยังไม่มีท่าทีคลี่คลายนั้น

หากพิจารณาในทางปฏิบัติแล้ว มีความเป็นไปได้ว่าอาจต้องใช้ยุทธวิธีทางการทหารมาปรับใช้ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ด้วยในเวลานี้เปรียบเสมือนกับการทำสงคราม เพื่อต่อสู้เอาชนะกับ โรคโควิด-19

"ปัญหาโควิดของบ้านเราในเวลานี้ คือ ต้องยับยั้งเคสคนไข้จากสีเขียว ที่เป็นโพสิทีฟเฉยๆ ไปสู่สีเหลือง ผู้มีอาการนิดหน่อย ต้องไม่ให้ไปต่อสีแดง หรือ มีเข้าสู่ภาวะวิกฤตเข้าห้องไอซียู แล้วก็ใช้เครื่องช่วยหายใจ ด้วยทั้ง 3 ระดับการรักษา ต้องการดูแลรรักษากันคนละระดับ ขณะที่บ้านเราต้องยอมรับว่ามีจำนวนแพทย์สัดส่วน 5 คนต่อการดูแลผู้ป่วย 1 หมื่นคน ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับในต่างประเทศ" นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าว

ขณะที่แนวทางการป้องกัน เพื่อไม่ให้ไปถึงขั้นวิกฤตทางการแพทย์ นั้น จะต้องวางแผนยับยั้ง ตั้งแต่ กลุ่มสีขาว คือ ผู้ที่ยังไม่ได้รับเชื้อโคงิด-19 ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ จากการเข้ารับวัคซีนให้ได้มากที่สุด ซึ่งหากเป็นไปตามแผนที่รัฐบาลวางไว้ คาดว่าภายในสิ้นปี 2564 จะมีสัดส่วนราว 60-70% ของประชากรไทย หรือ ราวกว่า 40 ล้านคน ที่ได้รับวัคซีนจากประชากรทั้่งประทศมียู่ราว 70 ล้านคน

ขณะที่กลุ่มสีเขียว หรือ ผู้มีผลตรวจเป็นบวก (Positive) แนวทางเบื้องต้น คือ การป้องกันตัวเองในรูปแบบกักตัวเองเพื่อสังเกตุอาการอยู่ที่บ้าน (Home Quarantine) โดยต้องป้องกันพร้อมระมัดระวังตัวเองเต็มที่ โดยเฉพาะการใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงสมาขิกในครอบครัวด้วย ส่วนกลุ่มสีเหลือง เป็นผู้เข้ารับการรักษาแล้ว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาปฎฺิชีวนะ เพื่อต้านเชื้อโควิด ซึ่งแม้ว่าอาจมีผลข้างเคียง การดื้อยา ในรายที่มีอาการไม่มากนัก แต่จะส่งผลดีมากกว่า คือ การยับยั้งการแพร้กระจายเชื้อทั้งต่อตัวเองและไปยังผู้อื่น

โดยทั้งหมดเพื่อป้องกันและสะกัดไม่ให้เกิดการขยายต่อไปในขั้นสีแดง ที่ผู้ป้่วยจะต้องอยู่ในภาวะวิกฤต ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะทาง เข้ามาดูแล ที่อาจไม่เพียงพอ หากมีผู้ป่วยจำนวนมาก

"ต้องเข้าใจโจทย์ก่อนว่า เรามีหมอน้อย จากคนไข้สามกลุ่ม คือ กลุ่มสีเขียว ต้องการหมอดูแลวันเว้นวัน กลุ่มสีเหลืองต้องการหมอดูแลวันละหนึ่งชั่วโมง และกลุ่มสีแดง ที่หนักขึ้นมาต้องการหมอดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งตอนนี้เรามีคนไข้ไอซียู แตะหลักพันกว่า และมีผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ราวๆ 200-300 คนไข้กลุ่มนี้ต่างต้องใช้หมอดูแล 2คน ต่อ 24 ชั่วโมง ดังนั้นจะต้องเร่งลดคนไข้สีเขียวให้น้อย ลดสีเหลืองให้น้อย เพื่อไม่ให้ไหลข้ามามายังโซนวิกฤตสีแดง" นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าว

พร้อมเสริมต่อว่า แนวทางการควบคุมการระบาดโควิด-19 ในเบื้องต้นตามมาตรฐานสากล ที่ทุกคนควรยึดปฏิบัติในขณะนี้ คือ การดูแลตัวเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย และ ควบคุมพฤติกรรมตัวเองอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีต้นทุนการปฎิบัติที่ค่อนข้างต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโควิดแพร่ระบาดต่อไปยังในขั้นวิกฤตคนไข้หนัก ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกับในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มโพสิทีฟ ที่มีการกักตัวอยู่ที่บ้าน (Home Quarantine) โดยใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือสม่ำเสมอ

"เพราะฉะนั้นการจัดการ หรือ การคอนโทรลโควิดในวันนี้ ไม่ใข่แค่ทางการแพทย์เฉยๆ แต่ทุกวันนี้เหมือนสงคราม คือ ต้องจัดการกองกำลังการลุกลามจากสีเขียว ไม่ให้ไปสีเหลือง ไม่ให้ไปสีแดง ซึ่งจะต้องวางแผนว่าจะจัดการอย่างไร ซึ่งต่างจากวิธีทางการแพทย์ด้วยปกติเวลารักษาโรคจะต้องวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเป็นโรคอะไร เป็นใส้ติ่งหรือเปล่า การรักษาจะต้องนำไปผ่าตัด หรือ เคสนี้เป็นโรคหัวใจหรือเปล่า ก็จะต้องนำไปสวนหัวใจขยายหลอดเลือดหรือไม่" นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าว

ขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้เปรียบเสมือนการ 'เทกะจาด' จากการเคลื่อนไหวของกลุ่มชนจำนวนมาก จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งมีรูปแบบคล้าย 'ม็อบ' เห็นได้จากจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทุกวันในจตุดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยวิธีจัดการม็อบอาจต้องใช้ยุทธวิธีทางการทหารเข้ามาจัดการม๊อบ หรือ แมส คือ การควบคุมการไหลบ่าของในแต่ละกลุ่ม เพื่อยับยั้งไม่ให้ไปถึงจุดวิกฤต

นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวว่า "Critical Path ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ในครั้งนี้ คือการสกัดไม่ให้เข้าไปยังกลุ่มสีแดง เนื่องจากบุคลากรทางกาารแพทย์มีจำกัด ที่ต้องยับยั้งไม่ให้มีการไหลเข้ามาในจุดนี้ เพราะตรงนี้ คือ จุดตายเราจะเสียเมืองก็ตรงนี้ ดังนั้นต้องใช้ยุทธวิธีควบคุมไม่ให้มาไม่ถึงตรงนี้ เพราะเรามีหมอเน้อย ดูแลไม่ไหว ไม่ใช่ไม่อยากดู แต่ถ้าถล่มตัวนี้ มันจะทลาย แต่ในเวลานี้อาจถูกมองข้ามไป ด้วยไปโฟกัสว่าเป็นโจทย์ทางการแพทย์

พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า การใช้วัคซีน คือ นำมาใช้ขณะที่บ้านเมืองมีความสงบ ด้วยหากพิจารณาระยะเวลาการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ยังต้องใช้ระยะเวลาร่วมเดือน ดังนั้นในช่วงเวลาสงคราม คือ ต้องวางแผนป้องกันไมให้มีการข้ามพื้นที่จากกลุ่มสีขาว ไปสู่สีเขียว เพื่อไม่ให้ลุกลาม ไปยังสีเหลือง และสีแดง ด้วยการตัดตัดไฟแต่ต้นลม

โดย-ดวงใจ จิตต์มงคล