posttoday

เอกชนอยู่ในวิกฤตเกิน6 เดือนไม่ไหว เร่งกระจายวัคซีนช่วยฟื้นอุตฯท่องเที่ยวหนุนเปิดประเทศในไตรมาส3

27 เมษายน 2564

เอกชนอยู่ในวิกฤตเกิน6 เดือนไม่ไหว เร่งกระจายวัคซีนช่วยฟื้นอุตฯท่องเที่ยวหนุนเปิดประเทศในไตรมาส3

จากการเสวนาออนไลน์ 'ผลกระทบจากโควิด กับทิศทางการท่องเที่ยว และงานวิจัยด้านการ ท่องเที่ยวในอนาคต' จัดโดย สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานฯ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิในภาควิชาการ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ร่วมเผยข้อมูลทิศทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ในอนาคต ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19

เศรษฐกิจฟื้นตัวปี2567-โรงแรมที่พักไทยรอ 7ปี

ดร. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ผู้อำนวยการแผนงานยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาสำหรับการท่อง เที่ยวไทยหลังโควิด-19 กล่าวว่า วิวัฒนาการรูปแบบการท่องเที่ยวประเทศไทยช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 เป็นการพัฒนาผลิตภัฯฑ์ท่องเที่ยวตามอุปสงค์ตลาด (Demand Push) ส่วน วิวัฒนาการของโลกเป็นรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอุปทานตลาด (Supplu Push)

จากการวิเคราะห์ตลาดข้อมูลสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (PATA) ใน 5ปีที่ผ่านมาพบว่า 7 ตลาดกลุ่มประเทศท่องเที่ยวของไทย มีตำแหน่งแตกต่างกัน โดย รัสเซีย เป็นตลาดดาวรุ่งของไทย ส่วนจีน เกาหลีใต้ เป็นตลาดที่คว้าไม่ทัน ขณะที่อาเซียน เป็นตลาด ตั้งรับปรับตัว ส่วนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก โอเชียเนีย และ อเมริกาเหนือ เป็นตลาดในภาวะถดถอย

โดย 9 จังหวัดการท่องเที่ยวของไทย ที่มีกศักยภาพสูงในช่วงก่อนแพร่ระบาดโควิด-19 คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ นครปฐม บีงกาฬ กาญจนบุรี สระบุรี หนองคาย และ อุทัยธานี รวมถึง 6 จังหวัดชายะเลที่มีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสูงสุด คือ ภูเก็ต ชลบุรี เพชรบุรี พังงา สตูล และ ระนอง

"หลังโควิด-19 เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2567 ส่วนจีนคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2556 โดยการเดินทางเพื่อพักผ่อนจะฟื้นตัวเร็วกว่าการเดินทางเพื่อธุรกิจ ซึ่งคาดว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในแต่ละเซ็คเตอร์ คือ อุตสาหกรรมการบิน ในปี2569 อุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก ปี2571 และธุรกิจทัวร์ ปี2573 เป็นต้นไป" ดร. มิ่งสรรพ์ กล่าว

ทั้งนี้ จากทิศทางดังกล่าวคาดอนาคตการท่องเที่ยวของไทย หลังโควิด-19 จะเป็นรูปแบบ นิว นอร์มอล มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเดิมอย่างสิ้นเชิง ประกอบด้วย ความคุ้นเคย ไว้เนื้อเชื่อใจ และเชื่อถือได้ (Trust tourism) ความเป็นส่วนตัว (Privacy & Exclusivity)การติดตามได้ทุกเมื่อที่จำเป็น (Traceability & Trackability) และจะได้เห็นการฟื้นตัวอุตฯการท่องเที่ยวในรูปแบบตัวเค (K-shape recovery) จากการกว้านซื้อกิจการโดยทุนใหญ่

ขณะเดียยกันยังมี 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนสำคัญที่มีผลต่อเนื่องในระยะยาวต่อภาค อุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ ชีวิตยืดหยุ่นและเลื่อนไหล ในกลุ่มคนชั้นกลางและสูงวัย การใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล (IoT, VR/AR/MR) การเข้าสู่เศรษฐกิจไร้เงินสด คริปโค และ ความเหลื่อมล้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานทดแทน สุดท้ายอิทธิพลจีน การเมืองไทย และระบบการบริหารเมือง

ศ.ดร. มิ่งสรรพ์ กล่าวว่าเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในอนาคตนั้น ได้มีข้อ เสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ 1. ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้เศรษฐกิจท่องเที่ยว พร้อมต่อยอดโครงการเป๋าตัง 2.การกำกับเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม 3.บูรณาการ และพัฒนาท่องเที่ยว กลุ่มอาหาร การแพทย์ และเศรษฐกิจฐานราก 4.การใช้มาตรการระดับมหภาคจัดการ ปัญหาฝุ่นควัน 5. กระจายอำนาจให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มากขึ้น รวมถึง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการทำานร่วมกับ อปท. มากขึ้น

ด้านที่ 6.ยกระดับภาษาจีนให้เป็นภาษาที่สอง 7.สนับสนุนการใช้สื่อออนลไน์นำ Asset on Location ที่เป็น One time product ให้เป็น All time product 8.การใช้มาตรการคลัง เช่น ภาษี ค่าธรรมเนียมมากำกับดูแลจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากเกิน (Overtourism) 9.กองทุนที่ มาจากการเก็บภาษีนักท่องเที่ยวและนำเงินนี้มาใช้จ่ายเวลาที่เกิดปัญหา

10.ออกพันธบัตรเพื่อสร้างกองทุนรับซื้อหนี้ของธุรกิจเอกชน เช่น โรงแรม โดยให้เจ้าของเดิมได้ พักชำระหนี้และยังบริหารต่อไปได้ 11.ส่งเสริมให้มัคคุเทศน์ท้องถิ่นเป็น ยูทูเบอร์ หรือ สร้างเวที ให้เป็น Blogger หรือ อินฟูลเอ็นเซอร์ ท้องถิ่นเพื่อให้สามารถสร้างแฟนคลับกับนักท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง 12. Re-skill มัคคุเทศน์ให้สามารถเข้าสู่อาชีพใหม่ เช่น มัคคุเทศน์จีนให้ค้า ขายออนไลน์บน อีคอมเมิร์ซ จีนได้ รวมถึงให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานทั้งในเมืองและชนบท ไม่โฟกัสเฉพาะท่องเที่ยวชุมชนเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะด้านตลาด คือ Rebrand บางจังหวัด เช่น ระยอง ชลบุรี บางส่วน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือบางพื้นที่ให้เป็น เมดิคัล ฮับ อย่างแท้จริง มีการศึกษาวิจัยด้านอุปสงค์ควรให้สำคัญมากขึ้นกับการศึกษาตามกลุ่ม เช่น ตามไลฟ์สไตล์ ตามเจนเนอเรชัน มีการศึกษาตลาดนักท่องเที่ยวชาวไทยและประเทศอาเซียน และมีการวิจัยเพื่อ Re-Planing ตลาดโอเชียเนียและอเมริกาเหนือ

ขณะที่ข้อเสนอแนะงานวิจัยเมืองท่องเที่ยวนั้น เห็นว่าควรให้มีการวางแผนระดับเมืองสำหรับ การท่องเที่ยวของจังหวัดเมืองเอกที่มีศักยภาพสูง การสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับเมือง ท่องเที่ยวให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร ไปจนถึงการบูรณาการวางแผนเมืองเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานแยกกันทำอย่างอิสระ

แรงงานสาขาที่พักแรม-ร้านอาหาร รายได้หดตัวมากสุด

ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ผู้อำนวยการแผนงานการศึกษาผลกระทบจากไวรัส-19 ต่อภาค เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวไทย กล่าวว่าจากการวิจัยผลกระทบต่อตลาดแรงงานของสาขาการผลิต พบว่า แรงงานที่ได้รับผลกระทบทั้งการจ้างงานและรายได้ลดลงมากที่สุด คือ แรงงานในสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร คาดว่าจะมีผู้ว่างงาน 1.29ล้านคน และรายได้จากการทำงานจะลดลงร้อยละ 46 รองลงมาคือ ภาคเกษตรกรรม และขายส่งขายปลีก คาดว่ามีผู้ว่างงาน 1.00 ล้านคน และ 9.33 แสนคน ตามลำดับ

ในลำดับถัดมา คือ แรงงานในกิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ คาดว่ามีผู้ว่างงาน 2.87แสนคน และ รายได้จากการทางานจะลดลงร้อยละ 30 แรงงานในอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และ นันทนาการ ได้รับผลกระทบในลาดับถัดไป โดยสาเหตุเนื่องมาจากเป็นสาขาที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงจากมาตรการระงับกิจกรรม

นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคของมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ทำให้สวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น 18.3 พันล้านเหรียญ GDP เพิ่มขึ้น3.99% อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.51% รายได้ภาษีเพิ่มขึ้น 4.69% การส่งออกลดลง 1.18% การบริโภคเพิ่มขึ้น 14.19%การลง ทุนเพิ่มขึ้น 0.24%และการจ้างงานเพิ่มขึ้น3.32%

โดยการส่งออกที่ลดลงเกิดจากแรงกดดันด้านทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้า/บริการสาหรับ การบริโภค ซึ่งสาขาที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากมาตรการมากที่สุด คือTrade (ขยายตัว 6,010 ล้านเหรียญ) สาขา Recreational and other services, Petroleum/coal products, Dwellings และ Transport nec(ขยายตัว 1,337 ถึง 2,241 ล้านเหรียญ) มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.70 คน ต่อ เงินกระตุ้น 1 ล้านบาท

ปี'64รายได้ท่องเที่ยว 8.5 แสนล.-เร่งวัคซีนฟื้นศก.ไตรมาส3

ด้าน ดร.อดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) กล่าวว่า ปัจจุบัน ATTA มีฐานสมาขิกประมาณ 1,200 ราย จำนวน 1,500 องค์กร ที่ดำเนินธุรกิจบริการ ท่องเที่ยวประเภทต่างๆในประเทศ โดยข้อมูล (กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา) ในปี 2559 -2563 พบว่ามีจำนวนท่องเที่ยวอยู่ที่ 32,529,598 คน 35,591,978 คน 38,178,194 คน 39,916,251 คน และ 6,702,398 คน ตามลำดับ

โดยเป้าหมายในปี 2564 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 4 ล้านคน มีรายได้ราว 3 แสน ล้านบาท และจากแคมเปญไทยเที่ยวไทย อยู่ที่ 100-120 ล้านคนต่อครั้ง สร้างรายได้ประมาณ 5.5 แสนล้านบาท รวมรายได้การท่องเที่้ยวในปีนี้อยู่ที่ 8.5 แสนล้านบาท

สำหรับจุดหมายและพฤติกรรม ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวช่วงโควิด แบ่งตามรายจัหวัด พบว่า เชียงใหม่อยู่ที่ 6,007,763 คน รายได้ 49,481 ล้านบาท ลดลง 54.96% อยุธยา 3,560,866 คน รายได้ 6,154 ล้านบาท ลดลง67.87% กาญจนบุรี 6,068,266 คน รายได้ 15,127 ล้านบาท ลดลง 45.43% ชลบุรี 6,964,743 คน รายได้ 62,499.43 ล้านบาท ลดลง 77.38% ภูเก็ต 4,003,290 คน รายได้ 108,464 ล้านคน ลดลง75.51%

โดยนักท่องเที่ยวในช่วงโควิด นิยมกิจกรรมที่สนใจ คือ ถ่ายรูป 47.67% ธรรมชาติ 34.11%อาหาร 29% ขับรถเที่ยว 28.12% และไหว้พระ 27.06%

ดร.อดิษฐ์ กล่าวว่าจากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบตรงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยของไทย จากเดิมเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวแบบกระจุกตัว แต่หลังจากโควิด มองว่าจะเข้าสู่ยุคการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยให้ใช้วิสัยทัศน์เป็นตัวกำหนด (Vision Centrix) เพื่อรอง รับวิถีปกติใหม่ 'นิว นอร์มอล' พร้อมเริ่มทำการตลาดใหม่ทั้งหมด (Set Zero Marketting) โดยเฉพาะการได้ทรัพยกรทาง ธรรมชาติจากแหล่งท่องเที่ยวคืนกลับ หลังมีโอกาสได้พักฟื้นตลอดช่วงที่ผ่านมา

พร้อมมองว่า สถานการณ์ในขณะนี้ ภาครัฐควรเร่งกระจายวัคซีนให้เข้าถึงประชาชนทุกภาคส่วนให้ได้โดยเร็วและครอบคลุมมากที่สุด เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่ควรจะเริ่มฟื้นคืนกลับมา จากนโยบายการเปิดประเทศได้ในไตรมาส3 ปีนี้ และเป็นไปตามแนวโน้มเดียวกับในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ขณะที่แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว เพื่อรองรับตลาดในอนาคต ประกอบด้วย 6 เทรนด์หลัก คือ ด้านสุขภาพและความปลอดภัยต้องมาก่อน (Safety And Health First)2. การเข้าถึงง่าย (Easy to Access) 3.ศักยภาพในการรองรับ (Carrying Capacity) 4.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Concern) 5.เปิดประสบการณ์ใหม่ (Unseen Experience)6.บริการพิเศษเหนือความคาดหมาย (Exclusive Service Beyond Standard)

"ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิดครั้งนี้ ไม่ควรอยู่ในภาวะวิกฤตนานเกิน 6 เดือน เพราะจากบทเรียนไครซิสเศรษฐกิจต่างๆในช่วงที่ผ่านมา ทั้งภัยพิบัติสึนามิ หรือ SARS จะเห็นว่าเป็นวิกฤตเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจะกินเวลาไม่เกิน 6เดือนและมีการฟื้นตัว ซึ่งไม่ควรจะนานมากไปกว่านี้ เพราะเราไม่มีบับเบิล ไม่มีกันชนนานเกินกว่า 6 เดือน" ดร.อดิษฐ์ กล่าว

โดย ดวงใจ จิตต์มงคล