posttoday

ดีอีเอส บอกพร้อมแล้ว 5G ปี64 เตรียม "คิกออฟ" เศรษฐกิจดิจิทัล

12 พฤศจิกายน 2563

ดีอีเอส เผยบริการ 5G จะเริ่มชัดในปี2564 พร้อมควบรวม "กสท-ทีโอที" เป็นบริษัทโทร คมนาคมแห่งชาติ ให้บริการสาธารณประโยขน์คลุมทุกภาคส่วน

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ "เศรษฐกิจดิจิทัล พลิกฟื้นประเทศไทย" ในงานสัมมนา POWERING DIGITAL THAILAND 2021 HUAWEI CLOUD & CONNECT จัดโดยกลุ่มบางกอกโพสต์ และ บริษัทหัวหว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ว่า "เศรษฐกิจดิจิทัล" จะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจการค้าของประเทศ และจากสถานการณ์โควิด-19 ได้เข้ามาเป็นสิ่งเร่งให้ผู้คนหันมาใช้เทคโนโลยีเป็นจำนวนมากขึ้นนับแต่ต้นปี และในขณะนี้คนไทย มีความพร้อมมากต่อการปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

ขณะที่ ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ประจำปี 2563 โดย IMD (2020 IMD World Digital Competitiveness Ranking) เผยภาพรวมปี2563 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 40 จากในปี2562 อยู่ที่อันดับ 39 ใช้ปัจจัยพิจารณาด้านต่างๆ ทั้ง การรับรู้ เทคโนโลยี โอกาสในอนาคต ขณะที่การแข่งขันทางด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี เช่น แบนด์วิดท์ (Bandwidth) อินเทอร์เน็ต ของไทยมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด

รวมถึงการใช้บริการด้านเทคโนโลยี หรือ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบต่างๆ ที่คนไทยมี การเข้าถึงเป็นจำนวนมากในช่วงที่่ผ่านมา เป็นผลจากการที่ประเทศไทยมุ่งให้ความสำคัญในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มาโดยตลอด สอดคล้องกับ แผนดำเนินนโยบายของรัฐบาลต่อการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว

โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยี 5จี (5G) ซึ่งประเทศไทย ถือเป็นประเทศอันดับต้นๆที่มีการประมูลคลื่นความถี่เทตโนโลยีดังกล่าว และ อยู่ระหว่างพัฒนาพื้นที่การใช้งาน 5G ให้มีเซลล์ไซส์ ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นไปตามเงื่อนไขการประมูลคลื่น 5G เมื่อวันทื่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยระบุให้พื้นที่สำคัญ และ ในโครงการเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะต้องใช้งาน 5G ได้ภายใน 1ปี

ขณะนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operator) ที่ได้รับคลื่นความถี่5G อยู่ระหว่างการติดตั้งพัฒนาโครงข่ายฯ ซึ่งคาดว่าในต้นปี2564 ประเทศไทยจะสามารถใช้บริการเทคโนโลยีดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นประเทศอันดับต้นๆ ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่้มีความพร้อมการให้บริการเทคโนโลยี 5G อีกด้วย

สำหรับเทคโนโลยี 5G ของไทย จะถุกนำมาใช้ด้านต่างๆทั้งร่วมกับธุรกิจ และ เชิง สาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะภายหลังการควบรวมกิจการระหว่าง กสท โทร คมนาคม และ ทีโอที ภายใต้ชื่อ "เอ็นที" (NT) บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (National Telecom) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโทรคมนาคมกับประชาชนคนไทยเชิงสาธารณะเป็นหลัก หลังจากสององค์กรดังกล่าว เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 5G ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดย กสท. จะมีคลื่น 700 MHz และ คลื่นความถี่ 226 GHz ของ ทีโอที ที่สามารถนำไปพัฒนาให้บริการ 5G ได้

"การพัฒนา 5จีไม่ใช่โทรศัพท์มือถืออย่างเดียว แต่5จี คือ ระบบเน็ตเวิร์ค ที่รองรับการ พัฒนาในทุกรูปแบบ ทั้ง เอไอ โรบอติกส์ ดาตา ที่สามารถเปลี่ยนชีวิตผู้คนได้ทั้งหมด ซึ่งภาครัฐมีความจำป็นที่จะต้องมี 5จีเป็นของตัวเอง เพื่อนำมาใช้งานร่วมกับเอไอ ดาตา ที่สำคัญๆทั้งงานระบบบริการ ทางการแพทย์ โทรคมนาคม ขนส่งมวลชน เกษตร การ ศึกษา ฯลฯ ที่ต้องใช้เทคโนโลยี5จีในการพัฒนาพื้นฐานทางสังคม โดยไม่หวังผลกำไร " นายพุทธิพงษ์ กล่าว

นอกจากความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีของไทย นับจากนี้ไป ซึ่งจะยัง เป็นโอกาสด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่จากนักลงทุนต่างประเทศ ที่มองหา ประเทศที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านเทคโนโลยี รวมถึง 5G ที่จะเข้ามารองรับ ธุรกิจใหม่ในอนาคตด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ อีอีซี ที่จะเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจใหม่ของไทย ที่มีความพร้อมให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี ดิจิทัล ด้านต่างๆ รวมถึงการลงทุน ดาตา เซ็นเตอร์ ในพื้นที่ดังกล่าว จากภาคเอกชน โดยบริษัท หัวเหว่ยฯ ซึ่งจะเป็นโอกาสทันสมัยการลงทุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง