posttoday

ล๊อคดาวน์ไปยอดผู้ติดเชื้อก็ไม่ลด

04 สิงหาคม 2564

คอลัมน์ Great Talk

สัปดาห์นี้มีคนเขียนมาถามผมว่า “ล๊อคดาวน์ไปยอดผู้ติดเชื้อก็ไม่ลด”

ผมจึงขอแสดงความคิดเห็นของผมดังนี้ครับ

บางที กลยุทธ์ที่เหมาะกับเราอาจเป็น “Dance around the temple” เหมือนการเต้นรอบวัดรอบโบสถ์เวลาแห่นาค(เป็นพิธีกรรมทางพุทธที่จะมีการแห่นาคเพื่อไปบวชเป็นพระ) คือ เต้นรำตีฆ้องร้องป่าว กันภายในบริเวณวัด เปรียบเสมือนการกักกันแจกข้าวของให้ผู้คนถือและแบ่งหน้าที่กันทำทั้งเต้น ทั้งตีและเดิน

เปรียบเสมือนการกระจายวัคซีนไปยังแหล่งต่างๆทั่วประเทศไม่ใช่แค่ในโรงพยาบาลแต่ควรกระจายไปยังคลีนิคหรือสถานที่ที่จัดไว้โดยมีหน่วยควบคุมโรคคอยดูแลร้องเพลง เปิดเพลงเพื่อความ ตื่นเต้นและป่าวประกาศยินดี ร่วมบุญกับนาค ผู้จะไปบวช เปรียบเสมือนการ ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง

โดย ณ ปัจจุบัน เราใช้กลยุทธ์ The Hammer and the dance เป็นกลยุทธ์ในการขจัดสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ที่ถูกนำเสนอโดย Tomas Pueyo โดยมีเนื้อหาสำคัญ คือ

The Hammer หรือการทุบ เป็นการนำเสนอมาตรการเข็มข้นที่ใช้ควบคุมการแพร่ระบาด โดยเน้นการปิดเมืองเพื่อหยุดโรค โดยต้องมีมาตรการณ์เพื่อ

1.Hygine and Social Distancing ปรับสุขอนามัยส่วนบุคคลเพิ่มระยะห่างทางกายภาพเช่นการ Work Form Home หรือให้การซื้อสินค้าทั้งหมดเป็นแบบส่ง Delivery ร่วมกับหากมีการออกเดินทางไปนอกบ้านให้มีการเว้นระยะห่างเป็นต้น

2.Strategic Testing and Contact Tracing ตรวจโรคและตามรอยผู้สัมผัสเชื้อ

3. Quarantine จัดตรวจอุณหภูมิในชุมชนและจัดกลไกการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้มีความเสี่ยงในการกักตัวที่บ้าน

4.Isolation การแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

5.Reducing Community Density การปิดสถานที่และงดกิจกรรมที่รวมตัวกัน

6.Travel Ban จำกัดการเดินทางทั้งระหว่างประเทศและในประเทศ

7.Stay at Home ห้ามออกเคหะสถานตามเวลาที่กำหนด

The Dance หรือการเต้นเพื่อการผ่อนคลาย เป็นการคงมาตรการควบคุมบางส่วนไว้และผ่อนคลายในบางส่วน เช่น ยังคงปิดสถานบันเทิง การแข่งขันกีฬา งานประชุม งานกิจกรรมทางสังคม แต่เริ่มเปิดสถานที่ราชการ โรงเรียน สวนสาธารณะ กิจกรรมอื่นๆทางเศรษฐกิจที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยได้ เช่น การบังคับใส่หน้ากากและเว้นระยะห่าง มีมาตรการสำหรับทานอาหารในร้าน การเปิดตลาดเว้นระยะห่างของร้าน กำหนดวันให้อยู่บ้านหรือออกจากบ้าน และเปิดโรงเรียนโดยเพิ่มมาตรการรักษาสุขอนามัย

หากเราดูนโยบายของภาครัฐที่ผ่านมา เราใช้ทั้ง การนำค้อนทุบและการเต้นผ่อนคลายสลับกันไปมาแต่ยอดผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลง? ในความเห็นของผมทุกกลยุทธ์อาจไม่ได้เหมาะกับทุกประเทศหรือทุกธุรกิจเสมอไป

ประเทศที่ใช้กลยุทธ์ The Hammer and the Dance ต้องประกอบด้วย 3 มี และ 3 ไม่3มี คือ

1. “มีความง่าย” ระบบสาธารณะสุขที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายทั้งเรื่องของข้อมูลและเรื่องของอุปกรณ์เพื่อการป้องกันและรักษา

2. "มีความชัดเจน” นโยบายในคำสั่งต่างๆที่ชัดเจนเช่น วันนี้จะสั่งปิดร้านอาหารคือแจ้งล่วงหน้าเลย 1สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ผู้ประกอบการและพนักงานเตรียมตัว ไม่ใช่สั่งวันนี้พรุ่งนี้เปลี่ยนแปลงอย่างนี้ ทั้งผู้รับคำสั่งและผู้ต้องปฏิบัติจะเกิดปัญหา

3. “มีผลลัพธ์ที่บอกได้” คือสามารถแจ้งผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากมีมาตรการณ์ต่างๆ ทั้งในผลได้และผลเสีย เช่น หากมีการล๊อคดาวน์เราจะทำการตรวจหาผู้ติดเชื้อทางบ้านโดยมีการให้ เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจตาม ชุมชน หมู่บ้านต่างๆ หรืออาจสั่งการไปยังเทศบาลส่วนจังหวัดต่างๆเพื่อกระจายเข้าตรวจ และหากตรวจแล้วอาจมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น อันนี้ทำให้ประชาชนเตรียมใจพร้อมรับมือกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่เกิดอาการตื่นตระหนก

3ไม่คือ 

1.ไม่ผ่อนปรน 2.ไม่ร้อนรน 3.ไม่นิ่งเฉย

ชัดๆในสาม “ไม่” ไม่ผ่อนปรนกับอภิสิทธิ์ชนใดๆ

“ไม่ร้อนรน” กับข่าวทางโซเชียลหรือแหล่งข่าวอื่นมากมายเพราะฝั่งที่ต้องดูแลประชาชนไม่อาจทำให้ทุกคนเห็นด้วย 100% ได้

“ไม่นิ่งเฉย” เราไม่สามารถทำให้ทุกคนเห็นด้วยทั้งหมดได้ แต่เราก็ไม่ควรนิ่งเฉยกับสิ่งที่ประชาชนถ่ายทอด ต้องมีการปรับแผนตลอดเวลาโดยมองถึงองค์รวม

ดังนั้นทุกกลยุทธ์ย่อมมุ่งสู่ชัยชนะแต่สิ่งสำคัญคือการกลับมาวิเคราะห์ตัวตนของเราว่าเหมาะสมหรือไม่ นั้นแหล่ะคือกลยุทธ์ที่เหมาะกับเรา