posttoday

ศิลปะกับการลงทุน

02 กรกฎาคม 2564

คอลัมน์ GreatTalk

หากเรานับขอบเขตหรือแนวทางของการลงทุน Investment Segments เรามักต้องมีหน่วยวัดถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างชัดเจน โดยถามถึง How เช่น (How to generate size able) โอกาสในการสร้างผลตอบแทนระยะยาวที่มากกว่ามาตรฐาน(How to access to less efficient markets) โอกาสในการเข้าถึงแหล่งการลงทุน(How to exposure to entrepreneurial business from start-up to established)

ทำอย่างไรให้สามารถลงทุนตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจ(How to Portfolio diversification) ทำอย่างไรที่สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้(How to funding of innovation and growth) ทำอย่างไรที่จะสามารถลงทุนในธุรกิจหรือผลงานที่มีนวัตกรรมและมีการเติบโต

ดังนั้นแก่นสำคัญของการลงทุนคือผลตอบแทน แต่สำหรับนักลงทุนบางประเภท จิตวิญญาณของผู้ประกอบการหรือผู้สร้างสรรค์ผลงานที่ลงทุนสำคัญมากสำหรับมูลค่าที่อาจเพิ่มขึ้นของการลงทุนในอนาคต ดั่งเช่นการสะสมของเก่า เช่น เหล้า เหรียญหรือแบงค์เก่า กระเพาะปลา พระเครื่อง นาฬิกาหรืองานศิลปะทั้งงานจิตกรรม(งานภาพเขียน) ประติมากรรม(งานปั้น)

คำถามที่ว่า งานศิลปะ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตัวเองได้อย่างไรและทำไมงานศิลปะบางชิ้นถึงมีมูลค่ามากกว่าทั้งๆที่ถูกสรรค์สร้างจาก ศิลปินคนเดียวกัน คำตอบคือ 1.ชื่อเสียงของศิลปิน มักผ่านมาในรูปแบบของการแสดงผลงานตาม Art Gallery ที่ต่างๆหรือการที่นักสะสมหรือตลาดสะสมนำงานศิลปะไปแสดงตามนิทรรศการ

2.เรื่องราวหรือที่มาของงานศิลปะชิ้นนั้นๆที่ศิลปินมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์3.ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการจารึกอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร4.ระยะเวลาของงานศิลปะนั้นๆ5.ความสมบูรณ์ของงานศิลปะ6.ความหายากของชิ้นงานหรือจำนวนที่ผลิต7.รสนิยมหรือความชอบของผู้เก็บสะสมที่ตรงกันกับงานชิ้นนั้นๆเช่นบางคนอาจชอบงานแอ็ปสแต๊ก(นามธรรมของรูปแบบงานศิลปะประกอบด้วยลวดลายของเส้นและสีในงานนั้นที่ไม่ได้แสดงรูปลักษณ์ใดๆเช่น Abstract painting ภาพวาดศิลปะไร้รูปลักษณ์)หรือบางคนอาจชอบการวาดภาพเหมือนเป็นต้น

ภาพบางภาพอาจมีความหมายต่อตัวศิลปินคนนั้นแค่เพียงชั่วครู่เดียวแต่อาจสร้างมูลค่าได้มากมายมหาศาล เช่น ภาพ The scream หรือเสียงกรีดร้องของธรรมชาติ โดย เอ็ดวัด มุงก์ จิตรกรชาวนอร์เวย์ เป็นภาพบุคคลแสดงสีหน้าหวาดกลัวบนสะพานอยู่ด้านหน้า ด้านหลังมีบุคคลอยู่ห่างออกไปโดยมีลำธารอยู่ใต้สะพานและท้องฟ้าเป็นสีแดง

โดยผู้วาด กล่าวถึงที่มาของภาพนี้ว่า “ผมกำลังเดินไปตามถนนกับเพื่อนสองคน ตอนนั้นดวงอาทิตย์กำลังตกดิน ทันใดนั้นท้องฟ้าก็เปลี่ยนเป็นสีแดงฉาน ผมหยุด รู้สึกหมดแรงและพิงตัวกับราวกั้น มันเหมือนมีเลือดและเปลวไฟลอยอยู่เหนือฟยอร์ดและเมืองที่ผมอยู่ เพื่อนผมเดินจากไปแล้ว แต่ผมยังอยู่ตรงนั้น ตัวสั่นเทาด้วยความวิตก และรู้สึกได้ถึงเสียงกรีดร้องที่ดังมาจากสภาพแวดล้อมนั้น” จิตวิญญาณและความรู้สึกของมุงค์ นั้นเองทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจที่วาดภาพนี้ ปัจจุบันภาพนี้ ถูกประมูลไปแล้วด้วยราคา 3.6พันล้านบาท

อาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและยังมีบทบาทในการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยกล่าวไว้ว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”

ในความเห็นของผู้เขียน “คุณค่าของงานศิลปะอาจมากกว่ามูลค่าที่ผู้คนกำหนดมาเป็นเงินตรา” ก็เป็นได้