posttoday

การบริหาร Talent กรณี BG Pathum และโค้ชโอ่ง

09 พฤษภาคม 2564

คอลัมน์บริหารคนบนความต่าง

โดย ดิลก ถือกล้า

ในแวดวงกีฬาโดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล ไม่มีใครไม่รู้จัก โค้ชโอ่ง ดุสิตเฉลิมแสน ผู้ฝึกสอนทีม BG Pathumที่สร้างชื่อและสร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการฟุตบอลไทย ด้วยการพาทีม BG Pathumที่ตกลงจากโตโยต้าไทยลีกไปอยู่ไทยลีก 2 เมื่อสองฤดูกาลที่แล้ว ให้คว้าแชมป์ไทยลีก2 ได้ในปีเดียว

และได้ขึ้นมาเล่นในโตโยต้าไทยลีกในฤดูกาล 2020/2021และได้ใช้เวลาการกลับมาปีเดียวก็สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลของลีกสูงสุดได้อย่างยิ่งใหญ่ ทั้งที่เจ้าตัวยังเป็นโค้ชที่ได้ไลเซนส์ในระดับบีไลเซนส์ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะสามารถคุมทีมระดับไทยลีก2 ได้ด้วยซ้ำไปผมขอให้ข้อมูลเพิ่มสักเล็กน้อยสำหรับท่านที่ไม่ได้ติดตามกีฬาฟุตบอลเกี่ยวกับระบบไลเซนส์ของการอบรมผู้ฝึกสอนฟุตบอลขอบ้านเราที่ได้มีการแบ่งลำดับสรุปสั้นๆดังนี้ครับ

  • “หลักสูตรโค้ชเบื้องต้น” = ยังไม่สามารถเป็นโค้ชสอนฟุตบอลได้
  • “ซี ไลเซนส์” = เป็นโค้ชระดับเยาวชนหรืออคาเดมี
  • “บี ไลเซนส์” = ผู้ช่วยโค้ช หรือ โค้ชระดับภูมิภาค (T3-T4)และระดับเยาวชนหรืออคาเดมี
  • “เอ ไลเซนส์” = โค้ชไทยลีก (T1-T2) หรือโค้ช U16, U19 หรือผู้ช่วยโค้ชระดับนานาชาติ
  • “โปร ไลเซนส์” = โค้ชระดับนานาชาติหรือฟุตบอลโลกหรือชิงแชมป์ระดับทวี

ซึ่งที่ผ่านมาทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยยังผ่อนปรนให้โค้ชระดับ บีไลเซนส์สามารถคุม T1 หรือ T2 ได้ ด้วยการให้โค้ชท่านอื่นที่มี เอ ไลเซนส์ หรือ โปรไลเซนส์ มาลงทะเบียนอย่างเป็นทางการคือ ใส่ชื่อเอาไว้ เช่น กรณีของโค้ชโอ่งที่ทาง BG Pathum ได้ใส่ชื่อ โค้ชง้วน สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ เอาไว้แต่โค้ชตัวจริงที่เข้ามาคุมทีม มาฝึกสอน มาวางแผนการเล่นก็คือ โค้งโอ่งอย่างไรก็ตามในฤดูกาลใหม่นี้ เมื่อ BG Pathum จะต้องไปแข่งระดับทวีปคุณสมบัติของโค้ชโอ่งแม้จะมากฝีมือ

แต่เมื่อขาดไลเซนส์ที่จะทำได้เลยจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตอนนั้นเกิดข่าวลือมากมายโดยเฉพาะข่าวลือที่ว่า เสร็จหน้านาฆ่าโคถึก แต่สุดท้าย BG Pathumได้เลือกแนวทางที่ผมมองว่า นี่เป็นแนวทางการบริหารคนดีคนเก่ง หรือ Talent Managementและเป็นการบริหาร Talent ที่สมบูรณ์แบบมาก ครบถ้วนทั้งสี่รื่องหลัก คือ

การระบุหรือสรรหา การพัฒนา การมอบหมายงาน และการตอบแทนให้รางวัลในด้านการสรรหา หรือ Acquire นั้น BG Pathumคัดโค้ชโอ่งมาด้วยภารกิจที่ท้าทายมากคือ จะต้องพาทีมกลับมาอยู่ในไทยลีก 1ให้ได้ในฤดูกาลเดียว แน่นอนว่า การสรรหาคนที่เป็น Talentแบบโค้ชโอ่งไม่ใช่เพียงชื่อเสียง

แต่สิ่งที่ผมเชื่อว่าทีมที่ Acquireโค้ชโอ่งมาก็ด้วยผลงานที่ชัดเจนในการพาทีมเลื่อนชั้น คือโค้ชโอ่งเคยพาทีมการท่าเรือเลื่อนชั้นจากสมัยยามาฮ่า ลีกวันกลับมาลุยไทยลีกและเคยพาทีมตราด เอฟซี ขึ้นมาเล่นไทยลีก 1ได้เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์สโมสรในด้านการมอบหมายงาน

กรณี BG Pathumกับโค้ชโอ่งเป็นการมอบหมายงานให้กับ Talent แบบตามหลักการเลยคือต้องมอบหมายงานที่มีความท้าทายมากๆให้ แน่นอนว่า ภารกิจที่ BG Pathumให้ไว้กับโค้ชโอ่งคือ ต้องพาทีมเลื่อนชั้นกลับมาไทยลีก 1 ภายในเวลาหนึ่งฤดูกาลซึ่งท้าทายมากๆ แต่ Talent อย่างโค้ชโอ่งก็รับความท้าทายและทำได้ในด้านการพัฒนา Talent กรณีของ BG Pathum เป็นกรณีที่ผมทึ่งและชื่นชมมากผมยังไม่เคยเห็นหรือเคยได้ยินจากสโมสรไหนในประเทศไทยในกรณีเช่นนี้ที่เมื่อถึงเวลาที่คุณสมบัติของโค้ชคนนั้นไม่เพียงพอที่จะไปต่อกับทีมแล้วทีมยังคงจ้างต่อ ที่เห็นส่วนใหญ่ก็จะแยกทางกัน

แต่กรณี BG Pathum กลับไม่ทำเช่นนั้นBG Pathum เลือกแนวทางที่จะพัฒนา Talent อย่างโค้ชโอ่งโดยการส่งให้ไปเรียนต่อ เอไลเซนส์แล้วต่อด้วย โปร ไลเซนส์เพื่อให้สามารถคุมทีมไปแข่งระดับนานาชาติได้ด้วยเงินสนับสนุนจาก BG Pathum เองที่ว่ากันว่า ค่าใช้จ่ายร่วมๆล้านบาทในด้านการตอบแทนให้รางวัล

แน่นอนว่า การดูแลกลุ่ม Talentเรื่องการให้ผลตอบแทน ก็จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ กรณีโค้ชโอ่งการได้รับการส่งเสริมให้เรียน เอ ไลเซนส์ และ โปร ไลเซนส์ถือได้ว่าเป็นทั้งการพัฒนาและการให้รางวัลที่พิเศษ

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ไปดูแลทีมราชประชาที่อยู่ในไทยลีก 2เพื่อให้ยังคงมีเวทีฝึกฝีมือและมีงานที่ยังคงมีรายได้ในระหว่างเข้ารบการอบรมอย่างยาวนานการบริหาร Talent เป็นเรื่องที่หลายองค์กรอยากจะทำให้ได้ ทำให้สำเร็จเพื่อรักษาคนดี คนเก่ง ให้ผูกพันกับองค์กรอยากอยู่เพื่อช่วยสร้างองค์กรให้เข้มแข็งและประสบความสำเร็จ

ซึ่งผมมองว่า กรณีBG Pathum และโค้ชโอ่งนั้น คือตัวอย่างที่บอกได้อย่างชัดเจนว่า หากองค์กรสามารถดูแลTalent ได้แบบใจซื้อใจอย่างกรณีนี้แล้ว องค์กรย่อมจะสามารถรั้ง Talent เอาไว้กับองค์กรอยู่ช่วยพัฒนาองค์กรด้วยใจเช่นกัน