posttoday

วันแรงงานปีนี้ไม่สดใส...ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากโควิดระลอก 3

03 พฤษภาคม 2564

คอลัมน์ เศรษฐกิจรอบทิศ

เมย์เดย์ (May Day) หรือวันแรงงานสากลตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคมปีนี้เป็นปีที่สองที่ไม่มีการเฉลิมฉลอง เนื่องจากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานอยู่ในภาคเอกชนและแรงงานอิสระ รวมกันประมาณ 20-21 ล้านคน มีสถานประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล 781,829 กิจการและโรงงาน อุตสาหกรรมทั่วประเทศ 1.401 แสนแห่ง นายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมเพียงร้อยละ 61.5 มีลูกจ้างซึ่งถือเป็น แรงงานในระบบประกันสังคมประมาณ 11.05 ล้านคน ผลกระทบจากโควิดที่ผ่านมาธุรกิจลดน้อยหายไป 4,949 กิจการ สถานประกอบการจำนวนมีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับแรงงานจำนวนมากที่อนาคตแขวนอยู่บนความไม่แน่นอน

หลังสงกรานต์การติดเชื้อมีความรุนแรงพื้นที่สีแดงมีมากกว่า 45 จังหวัดไม่รวมกทม.-ปริมณฑล จังหวัดชลบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ล้วนเป็นพื้นที่สีแดงเข้มจนรัฐบาลออกมาตรการกึ่งล็อกดาวน์

การแพร่ระบาดครั้งนี้ถือว่ารุนแรง มากกว่ารอบที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการของรัฐที่ไม่ปรับตามสถานการณ์โดยเฉพาะประเด็นการเข้าถึง วัคซีนวันนี้อาจมีผู้ได้รับการฉีดประมาณร้อยละ 1.6 ของประชากรทั้งประเทศแต่ยังหากไกลจากเป้าหมายร้อยละ 70 จนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ล้มกระดานเข้านั่งหัวโต๊ะแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จหรือ “Single Command” มีการตั้ง ทีมไทยแลนด์ร่วมกับภาคเอกชนแต่ยังกั๊กว่ารัฐบาลจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาวัคซีนเอกชนไม่ต้องยุ่ง

วิบากกรรมของผู้ใช้แรงงานซึ่งก่อนหน้านี้การเข้ามาของสมาร์ทเทคโนโลยีที่ “ดิสรัป” แทนที่แรงงาน กลุ่มเป้าหมายหลายอุตสาหกรรมมีการทยอยลดคนออกจากงาน ช่วงที่ผ่านมาถึงจะดูว่าเงียบเนื่องจากการแพร่ระบาด ของโควิดทำให้ธุรกิจต่างๆ โซเซ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับท่องเที่ยวต่างชาติเจอหนักปีที่ผ่านมามีเข้ามา 6.5 ล้านคน ปีนี้อาจเหลือ 2.0 ล้านคน แค่นี้ยังไม่พอเจอโควิดระลอกใหม่ตามมาด้วยมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ควบคุมเวลาร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ศูนย์การค้าต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อ เสถียรภาพแรงงานและการจ้างงานอาจชะลอตัว กระทรวงการคลังปรับเป้าจีดีพีอาจขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.3

ผลกระทบของตลาดแรงงานสะท้อนจากข้อมูลสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ระบุว่าปี 2563 มีผู้ออกจาก ระบบประกันสังคมมากถึง 2.205 ล้านคน จำนวนผู้ประกันตนใช้สิทธิว่างงานรวมกัน 1.212 ล้านคนในจำนวนนี้เกือบ ร้อยละ 30 ถูกเลิกจ้าง จำนวนผู้ที่ออกจากระบบประกันสังคมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ส่วนใหญ่ร้อยละ 82 เลือกที่จะไปประกอบอาชีพอิสระกลายเป็นเสมือนผู้ว่างงาน

อย่างไรก็ดีกระทรวงแรงงานระบุว่าคนตกงานของไทยไม่ได้มีจำนวน มากมายตั้งแต่โควิดระบาดปีที่แล้วถึงเดือนมีนาคม 2564 มีจำนวน 378,383 คน คนตกงานไตรมาสแรกปีนี้มีเพียง 110,000 คนต่ำสุดในรอบ 3 ปีเป็นการเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี2562 ซึ่งยังไม่มีการแพร่ระบาดจำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติมีกว่า 3.3 ล้านคนซึ่งปีนั้นจำนวนคนว่างงานมีมากถึง 1.97 แสนคน ขณะที่ไตรมาสแรกปี 2563 มีผู้ว่างงานสูงถึง 2.7 แสนคนซึ่งในช่วงดังกล่าวพึ่งเริ่มต้นของการแพร่ระบาด ผิดถูกไม่ต้องมาว่าผู้เขียนเพราะนำมา จากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 24 เมษายน 2564 หากเชื่อข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าวิกฤตโควิด-19 ไม่ส่งผล กระทบใดๆ ต่อตลาดแรงงานการว่างงานต่ำกว่าปีก่อนหน้าที่จะมีการระบาดด้วยซ้ำไป

มีการวิเคราะห์ว่าหากโควิดระลอกใหม่จำนวนคนติดเชื้อแต่ละวันยังอยู่ในอัตราสูงเช่นนี้อาจทำให้อัตราการ ปิดกิจการและการว่างงานสูงขึ้นจากเดิมที่คาดว่าผู้ที่ว่างงานและว่างงานแฝงก่อนแพร่ระบาดรอบใหม่มีประมาณ 1.45 ล้านคนในจำนวนนี้มีแรงงานหายไปจากประกันสังคมมาตรา 33 ถึง 5.947 แสนคน การแพร่ระบาด หากยืดเยื้อไป จนถึงเดือนมิถุนายนทางศูนย์วิจัยม.หอการค้าไทยประเมินว่าจะมีแรงงานเสี่ยงที่อาจตกงานเข้ามาเพิ่มเติมอีก 1.489 แสนคนยังไม่รวมนักศึกษาจบใหม่ 524,893 คน นอกจากนี้มาตรการเข้มงวดพื้นที่สีแดงเข้มในลักษณะกึ่งล็อกดาวน์จะ ทำให้มีแรงงานตามสถานบันเทิง ร้านอาหาร ค้าปลีกและแรงงานสีเทาได้รับผลกระทบ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า การว่างงานและกลุ่มเสมือนว่างงานแฝงถึงแม้ถูกกลบว่าไม่มีปัญหาแต่ข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่าแรงงานจำนวน มากอยู่ในสภาพไม่มีงานทำหรือทำงานไม่เต็มชั่วโมงขาดรายได้หนี้สินมากมายจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ และเยียวยาต่อเนื่อง

ความท้าทายของผู้ใช้แรงงานภายใต้สภาวะความไม่แน่นอนจากวิกฤตโควิดระลอกใหม่จะเพิ่มความ ยากลำบากในการดำรงชีวิตท่ามกลางภัยพิบัติจากไวรัสร้ายที่มาพร้อมกับวิกฤตเศรษฐกิจมนุษย์เงินเดือนหรือผู้ที่ได้รับ ค่าแรงรายวันจึงอยู่ในสภาพที่ไม่มีทางเลือก การปรับค่าจ้างหรือค่าแรงขั้นต่ำในช่วงเวลานี้จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมการจ้าง งานให้หดตัว ณ วันนี้เพียงขอให้มีงานทำ กลุ่มแรงงานที่น่าเห็นใจคือผู้ที่ตกสำรวจมีการประเมินว่าในช่วงที่ผ่านมามี แรงงานกว่า 2 ล้านคนย้ายกลับภูมิลำเนาต่างจังหวัดไปเป็นส่วนหนึ่งของครัวเรือนเกษตร ขณะเดียวกันเด็กจบใหม่ เกือบครึ่งล้านกว่าคนบวกด้วยแรงงานอิสระและ/หรือกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการพื้นที่สีแดงเข้มจะ มีแรงงานไหลออกอีกมากโดยเฉพาะแรงงานสีเทาซึ่งไม่อยู่ในสารบบของคนมีงานทำ

หลังจากการยุติการแพร่ระบาดประเด็นที่ตามมาคือ “Next Normal Employment” คือรูปแบบการจ้าง งานจะเปลี่ยนไป เช่น แรงงานส่วนหนึ่งอาจต้องทำงานที่บ้านแบบถาวรเพราะงานบางอย่างสามารถใช้เทคโนโลยีมา ช่วยที่สุดนายจ้างอาจลดจำนวนคนด้วยการเปลี่ยนสถานะจากลูกจ้างประจำไปเป็นฟรีแลนซ์ เทคโนโลยีและหุ่นยนต์ อัจฉริยะที่จะเข้ามาแทนคนไม่ใช่เรื่องใหม่เพียงแต่เงียบไปเพราะโควิดเข้ามาแทรกแต่กระแสยังคงอยู่ การลงทุนใหม่ โดยเฉพาะในอีอีซีใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักหลาย อุตสาหกรรมอาจย้ายฐาน การผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำ อีกทั้งกระแสพฤติกรรมของผู้บริโภคหลังยุคโควิดที่เคยชินกับการจับจ่ายใช้สอยสินค้า อุปโภค-บริโภคผ่านทางแอพออนไลน์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับแรงงานครั้งใหญ่

แรงงานหลังยุค “Post Covid-19” จำเป็นจะต้องปรับตัวรับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปภายใต้ความไม่แน่นอน ของอนาคต ภายใต้ข้อจำกัดแค่วันนี้จะเอาตัวรอดได้อย่างไรภายใต้ความเสี่ยงของแหล่งงานที่อาจหายไป จากข้อมูล ของทีดีอาร์ไอธุรกิจจำนวนมากทำงานไม่เต็มชั่วโมงมีแรงงานกลุ่มเสี่ยงประมาณ 1.3 ล้านคน รายได้ไม่พอกินต้องไปกู้ หนี้ยืมสินพอกเป็นหางหมูคนที่เสมือนว่างงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานในเมืองมีความรู้เคยชินกับการทำงานในโรงงาน หรือห้องแอร์เป็นกลุ่มตกสำรวจไปอยู่ในครัวเรือนเกษตรจะทำมาหากินอย่างไร ภายใต้วิกฤตที่หลายปัจจัยเศรษฐกิจยัง ไม่เอื้อการจ้างงานใหม่จะมาจากไหน ทั้งหมดล้วนเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ...สุขสันต์วันแรงงานครับ รายละเอยีดเพมิ่ เติมสามารถคลิกหรือสแกนได้จาก QR Code

สนใจรายละเอียดเพิ่มเตมิดไูดท้างเวบ็ ไซต์ www.tanitsorat.com หรือwww.facebook.com/tanit.sora