posttoday

Clubhouse การตลาดในยุคนิวนอร์มอล?

25 กุมภาพันธ์ 2564

คอลัมน์ Great Talk

Clubhouse คืออะไร ทำไมฮิตกันจัง

โปรแกรมที่สามารถพูดคุยกันได้เหมือนการจัดสัมมนา สามารถเชิญเพื่อนเข้ามาได้อย่างจำกัด และที่สำคัญทำให้เราสามารถมีโอกาสได้พูดคุยกับคนดังๆ

Clubhouse แบ่งสถานะของผู้ใช้งานอยู่ 3 ประเภทคือ

Moderator (ผู้ดูแลClubhouse) ทำหน้าที่ควบคุมห้อง เปิดห้อง มอบสิทธิ์การเปิดหรือปิดไมค์ให้กับคนในห้อง

Speaker(ผู้พูด) สามารถเปิดไมค์สนทนาภายในห้องโดยที่ Moderator มอบสิทธิ์ให้ สามารถขอสิทธิ์การสนทนาได้ด้วยการกดปุ่มยกมือ

Listener(ผู้ฟัง) สถานะเริ่มต้นของทุกคน สามารถขอสิทธิ์เป็น Speaker ได้ด้วยการกดปุ่มยกมือ

ด้วยระบบดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าเปรียบเสมือนห้องสัมนาจำลองแบบหนึ่งคือมี พิธีกร วิทยากรและผู้ฟัง โดยผู้ฟังอาจขึ้นมากล่าวเรื่องราวใดๆของตนที่ตนเคยมีประสบการณ์ผ่าน พิธีกรหรือวิทยากรต้องการให้ผู้ฟังร่วมกิจกรรมต่างๆบนเวที

หรือนี่จะเป็นการ Disrupt วงการสัมมนาทั่วโลก?

หลังจากที่ เกิดโควิด 19 ขึ้นทั่วโลก องค์กรต่างๆเริ่มหันมาสนใจกับระบบที่ใช้ออนไลน์ในการทำงานหรือติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นเพราะการพบปะสนทนากันปกติจะเป็นไปได้ยาก เริ่มมาตั้งแต่การใช้ program zoom,Google Meet, Microsoft Team และการวางระบบ intranet ไปสู่การใช้ internet อย่างสมบูรณ์

เก็บข้อมูลโดยคราวด์ และใช้เทคโนโลยี Internet Of Thing

ระบบClubhouse อาจมีความคล้ายคลึงกับเทคโนโลยีอื่นๆในอดีตอีกเช่น การจัดรายการวิทยุ การประชุมโดยใช้ Zoom(แบบไม่ต้องแชร์หน้าจอ) หรือการโทรศัพท์แบบกลุ่ม

ความง่ายของ Clubhouse คือ ระหว่างที่ มีผู้เล่าถึงประสบการณ์หรือมุมมองของตนอยู่นั้น Speaker ท่านอื่นอาจกำลังทำอย่างอื่นอยู่ทำให้สามารถมีเวลาในการบริหารจัดการอะไรได้หลายอย่างกว่าการต้องนั่งหน้าจอ พอmoderartor เรียกให้ speaker ท่านอื่นแสดงความคิดเห็นค่อยหันมาสนใจเพื่ออธิบายเพิ่มเติม

Clubhouse อาจมีการก้าวกระโดดไปสู่เรื่อง Branding ในอนาคต

ปัจจุบัน เจ้าของสินค้า หรือ บริการมีความหนักใจอย่างมากในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ยิ่งในสภาวะโควิด19 ทำให้กลุ่มลูกค้าเดิมๆ หายหน้าไปอย่างมาก การเข้าถึงลูกค้าเก่าโดยการประชาสัมพันธ์ช่องทางเดิมๆหรือการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊คก็โดนจำกัดมากขึ้นเพราะเฟซบุ๊คเองก็เน้นการสร้างความสัมพันธ์แบบพวกพ้องกันมากยิ่งขึ้น เรียกว่า “ไม่เน้นขาย เน้นความรู้สึกของเพื่อน”

ส่วน Instagram เองก็เน้นเรื่องสินค้าหรือบริการที่สามารถพรีเซนต์ด้วยภาพสวยๆ และ tiktok ก็กลายเป็นคอนเทนท์ด้านวีดีโออย่างแท้จริง

Clubhouse เหมาะกับสินค้าหรือบริการทั่วไปหรือไม่

เนื่องจากข้อจำกัดการเชิญและการเข้าถึงคอนเทนท์เฉพาะทางทำให้สินค้าหรือบริการต้องโฟกัสกลุ่มตลาดของตนอย่างเห็นได้ชัด เพราะคอนเทนท์ที่เป็นหัวเรื่องหรือ Speaker(ผู้พูด) ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางล้วนเป็น Magnet สำคัญในการที่ทำให้มี Listener(ผู้ฟัง) ที่อยากรู้ข่าวสารหรือความรู้ที่ตนสนใจเพียงเท่านั้น เช่น คนที่สนใจเรื่องหุ้นก็ต้องอยากฟังเรื่องหุ้น คนที่สนใจเรื่องอาหารก็ต้องอยากฟัง speaker เรื่องอาหารเป็นต้น

นั้นอาจทำให้ Clubhouse กลายเป็น Greater Platform ที่อาจแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจาก Facebook, Tiktok, Instragram ได้หรือไม่เราคงต้องรอติดตามครับ