posttoday

นวัตรกรรมโรงเรียนสอนพิเศษยุค New Normal

26 สิงหาคม 2563

คอลัมน์ Great Talk

จากทิศทางอัตราการเกิดน้อยลงทำให้ขาดแคลนนักเรียนและปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด (disruptive) ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้จากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเข้าเรียนในระบบ

ทำให้ผู้ปกครองมีตัวเลือกมากขึ้นประกอบกับนักเรียนเองมีตัวเลือกที่เยอะมากเพราะไม่จำเป็นต้องเรียนในรูปแบบเดิมๆ

ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการโรงเรียนกวดวิชามีกลยุทธ์รองรับเพื่อให้ทันยุคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สร้างความแตกต่างของหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรให้เข้มข้นมีคุณภาพมากขึ้นในแบบที่หาจากโรงเรียนกวดวิชาอื่นไม่ได้

นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทดแทนครูผู้สอนซึ่งเป็นต้นทุนหลัก เช่น ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยพยามพัฒนาให้เชื่อมต่อกันได้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน

ร่วมมือกันทำ Co-branding นำจุดแข็งมาเสริมจุดอ่อนของกันและกัน

วิชาที่เน้นทฤษฏีแบบที่สามารถอ่านเองได้ให้ใช้วิธีเรียนผ่านระบบออนไลน์ 100% หรือในบางรายวิชาพื้นฐานที่ไม่มีความซับซ้อน ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) คือ การรวมวัตถุเสมือนเข้ากับสภาพแวดล้อมจริงที่อยู่รอบตัวเรา

โดยวัตถุเสมือนนี้อาจเป็นได้ทั้งภาพ วิดีโอ หรือเสียงที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เช่น มือถือ หรือแท็บเล็ท เทคโนโลยี AR จึงไม่ใช่การสร้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการพยายามสอดแทรกเทคโนโลยีเข้าไปในสภาพแวดล้อมจริง เช่นในบางวิชาที่ต้องอาศัยการศึกษาเชิงมิติ การออกแบบโครงสร้าง การพัฒนาระบบเครื่องยนต์หรือการเรียนการสอนตัดผมเป็นต้น

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า บริษัทนิติบุคคลจดทะเบียนกิจกรรมการกวดวิชาทั่วไปปัจจุบันมีทั้งสื้น 409 ราย นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ 1 ม.ค. 62 – 5 มิ.ย. 62 มีจำนวน 36 ราย

นิติบุคคลที่มีรายได้สูงสุด (3 อันดับแรก) คือ

  • วี บาย เดอะ เบรน จำกัด  มีรายได้   496,669,084.33 บาท
  • ออนดีมานด์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด มีรายได้   479,902,665.00 บาท
  • เอ็นคอนเซ็ปท์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด มีรายได้  336,046,945.47 บาท

* เทียบงบการเงินปี 2560

โดยปัจจัยสำคัญคือ“ความน่าเชื่อถือ” มีมานานของโรงเรียนกวดวิชานั้นๆ

อีกทั้งเรื่องของ “Brand ของตัวผู้สอน”และการปรับตัว ให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาสู้กับคราสเรียนออนไลน์อื่นๆได้จึงเป็นปัจจัยสำคัญของเทนด์ธุรกิจการเรียนการสอนพิเศษนั้นเอง