posttoday

ไทย (อาจ) เสี่ยงเศรษฐกิจล้มเหลวหลังโควิด

20 สิงหาคม 2563

คอลัมน์ Great Talk

ประเทศไทยอาจเป็นประเทศที่มีความสำเร็จทางการแพทย์ที่สามารถต่อต้านโควิด19 ได้เป็นอันดับต้นๆของโลก แต่ทางเศรษฐกิจอาจกลายเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อการล้มเหลวในอนาคต

จากเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้ทั่วโลกมีการติดลบ GDP ในไตรมาสที่ 2 ปี 2020 

ประเทศไทย ติดลบ 12.2%

สิงค์โปร ติดลบ 43.9%

มาเลเซีย ติดลบ 17.1%

ฟิลิปปินส์ ติดลบ 16.5%

อินโดนีเซีย ติดลบ 5.32%

อเมริกา ติดลบ 32.9%

ญี่ปุ่น ติดลบ 27.8%

อังกฤษ ติดลบ 20.4%

มีเพียงสองประเทศเท่านั้นที่ ตัวเลขยังคงเป็นบวก คือ เวียดนาม 0.36% จีน 3.2% 

จากตัวเลขการติดลบ 12.2% ในไตรมาสนี้ เทียบกับตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง คศ.1998 ที่มีการติดลบ 12.5%

หลายสำนักข่าว ให้ความเห็นว่าวิกฤติยังไม่น่ากลัวเท่าต้มยำกุ้ง แต่โดยความเห็นของผมเอง ผมว่ามีคลื่นวิกฤติที่กำลังตามมาน่ากลัวกว่ามากนัก เหตุผลเพราะ

1.จากช่วงต้มยำกุ้ง ปี 40 ถึงปีนี้ เศรษฐกิจของไทยรุดหน้าไปมาก หลายๆบริษัทเริ่มฟื้นตัวและมีการลงทุนมากมายแตกต่างจากในอดีตมากนัก ดังนั้น การติดลบที่ตัวเลขใกล้เคียงกันกับในอดีต 20 ปีที่แล้ว จึงมีความน่ากลัวมากกว่า

2. ปีนี้กระทบการท่องเที่ยวโดยตรง โดยข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศระบุว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่ำสุดในภูมิภาคนี้ โดยประเทศที่มีการเติบโต จะมี เวียดนาม เมียนมา บรูไน และลาว จากข้อมูลดังกล่าวจะเกิดการแข่งขันรอบๆประเทศไทยมากขึ้น

3. พฤติกรรมผู้บริโภคการท่องเที่ยวเปลี่ยนไปกว่าที่นักท่องเที่ยวจะเริ่มหายการตื่นกลัวจากเชื้อไวรัสยังมีปัจจัยเรื่องการเดินทางข้ามประเทศและรายได้ของเขาที่ลดลงนั้นทำให้หากประเทศไทยไม่เร่งพัฒนาระบบการท่องเที่ยวให้มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว

รวมทั้งพัฒนาระบบการเดินทางในประเทศให้มีความสะดวกและไม่หนาแน่น นักท่องเที่ยวย่อมเลือกที่จะไปประเทศที่มีการพัฒนามากกว่าประเทศไทย(ข้อเท็จจริงนี้รวมถึงความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่และความหนาแน่นของผู้คนต่อการสัญจรระบบขนส่งสาธารณะในประเทศเช่น รถไฟฟ้า รถใต้ดิน เป็นต้น)

4.จากรายงานของ สศช. ระบุว่าการผลิตในสาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหารลดลง 50.2% ปัจจัยหลักมาจากไวรัสโควิดและการประกาศใช้ พ.ร.ก ฉุกเฉิน, การปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองทั่วประเทศและประกาศห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศ จาก 52.3 ล้านคนไตรมาสที่แล้ว เหลือเพียง 5.6 ล้านคน เท่ากับจำนวนคนหายไปเกือบ 90%

5. สถานะการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ความวุ่นวายทางการเมืองในปัจจุบันส่งผลให้นักลงทุนและเจ้าของกิจการที่ต้องการขยายธุรกิจเกิดความกังวล

6.แรงงานในระบบถูกเลิกจ้า 4.2 แสนคนและที่เหลืออีก 1.7-1.8 ล้านคน อันนี้เป็นข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้เท่านั้นแต่ยังมีเจ้าของกิจการรายย่อย เช่น พ่อค้าแม่ค้า ที่ไม่มีรายได้จากการขายสินค้า คนทำงานอาชีพอิสระและรับจ้างทั่วไป มีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างเนื่องจากทำงานในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบและไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ

ดังนั้นเราอาจต้องเตรียมตัวรับแรงกระแทกของคลื่นพิษเศรษฐกิจที่กำลังถาโถมอย่างต่อเนื่อง

ขอให้ทุกคนมีกำลังใจครับ