posttoday

เศรษฐกิจดิ่งเหว-ว่างงานเต็มเมือง...ปรับครม.แก้ได้ไหม??

06 กรกฎาคม 2563

ประเด็นร้อนการเมืองผสมวิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จำเป็นต้องปิดล็อกพื้นที่ทำมาหากินจนเศรษฐกิจพังยับเยินผู้คนยากลำบากกันถ้วนหน้า หลังคลายล็อกเฟส 5 คาดว่ามีผู้ตกงานมากกว่า     3.3-3.6 ล้านคน จนกลายเป็นประเด็นทางการเมืองถึงขั้นปฏิวัติเปลี่ยนหัวหน้าพรรคพปชร. และมีการกดดันเปลี่ยนยกทีมเศรษฐกิจชุดเดิมจนบิ๊กเศรษฐกิจของรัฐบาลทนไม่ไหว้บอกว่า “อย่ามาโบ้ยโทษว่าทำเศรษฐกิจพัง”  ที่ผ่านมา ผลงานดีไม่ได้ทำให้คนตกงานเยอะ แถมตีกันคนที่จะเขามาใหม่“ทำงานไม่เป็นไม่ต้องเข้ามา” ตรงนี้ไม่ได้เขียนเองไปหาอ่านได้ในสื่อออนไลน์ต่างๆ 

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนไม่มีทางเลือกเพราะเป็นแค่คนดูใครจะมาใครจะไปไม่สำคัญขอให้เป็นผู้มีความสามารถร็จริงแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-ปากท้องในยามที่ธุรกิจกำลังจะเจ๊งคนตกงานจำนวนมากประเด็นที่ไม่เข้าใจคือ เกิดอะไรขึ้นในพรรคแกนนำรัฐบาลซึ่งช่วงเวลานี้มีเสถียรภาพไม่ได้เป็นเสียงปริ่มน้ำเหมือนเดิม ควรจะมีเอกภาพเพราะประชาชนคาดหวังในการแก้ปัญหาแต่กลับมาแย่งตำแหน่งกันเอง แถมมีการเสนอบุคคลที่จะเข้ามาเป็นหัวหนาทีมเศรษฐกิจที่ชาวบานและนักธุรกิจต่างๆ ไม่ยอมรับจนต้องออกมาแก้ข่าวว่าเป็นเพียงหัวหน้าทีมนโยบาย เศรษฐกิจของพรรค 

ขณะเดียวกันทีมเศรษฐกิจเก่ายังอยากทำงานต่อหรือยังหวงเกาอี้ออกมาสวนทันควันว่า “คนเก่ายังอยู่จะมา ได้อย่างไร” ต้องเข้าใจว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติไม่ควรผูกขาดเป็นฮีโร่เก่งคนเดียว ที่สับสนขนาดระดับรอง หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งเป็นพรรคใหญรองอันดับสองออกมากล่าวว่าทีมเศรษฐกิจชุดนี้เป็นชุดเดียวกับคสช. ทำงาน มา 6-7 ปีเน้นแต่โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เงินไม่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจทำให้คนยากจนเต็มเมือง เข้าไปค้นหา ข้อมูลหนี้ครัวเรือนช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.8 เป็นตัวเงินประมาณ 2.318 ล้านล้านบาทหรือ 1 คนหนี้เพิ่มเฉลี่ย 34,800 บาท ที่กล่าวนี้เป็นข้อมูลเชิงประจักษไม่ไดเขียนโคมลอย

การเปลี่ยนแม่ทัพกลางศึกไม่ใช่เรื่องผิดปกติกรณีเป็นภาคเอกชนหากผู้บริหารแก้ปัญหาธุรกิจไม่ได้เขาก็เปลี่ยน CEO ไม่ต้องรอให้อยู่ครบเทอมเพราะหากเป็นคนเก่าก็จะใชวิธีแบบเดิมๆ ซึ่งผลลัพธก็จะเหมือนเดิม ต้องเข้าใจว่าผู้บริหารเก่งอาจเหมาะในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น เศรษฐกิจขาขึ้นอาจใช้กลยุทธ์เชิงรุก แต่เมื่อเศรษฐกิจถดถอยเป็น ช่วงขาลงเหมือนโจทย์เปลี่ยนใหม่อาจต้องเปลี่ยนคนใหม่เพราะหากใช้แนวคิดแบบเดิมๆอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งผลเสียหายตกอยู่กับประชาชน ในช่วงเวลาเช่นนี้ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของไทยดิ่งเหว ถึงแม้มีการระบุว่าพ้นจุด ต่ำสุดแล้ว แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะเศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกซึ่งอยู่ในช่วงทรุดตัวจาก การแพร่ระบาดยังไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์หากเปรียบเป็นนคลื่นสึนามิก็ยังมาไม่ถึงฝั่งไทย 

สำหรับประชาชนอย่างพวกเราใครจะมาเป็นหัวหนาทีมเศรษฐกิจไม่มีสิทธิ์เลือกหย่อนบัตรเลือกตั้งแล้วก็ได้แต่นั่งดูเฉยๆ ปล่อยให้เขาเล่นกันไป ในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ศรัทธาของทีมเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับสถานการณ์เป็นเรื่อง สำคัญเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นทั้งของคนไทยและต่างชาติ “ไม่ใช่เผยชื่อออกมาแล้วร้องยี้” ทำให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุน  ขณะที่ประชาชนไม่กล้าใช้จ่ายเพราะไม่เชื่อมั่นรายได้และงานในอนาคตจะเป็นอย่างไร คนไทยอาจรู้สึกว่า สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจนมีการคลายล็อกไปจนหมดเกือบหมดแล้ว แต่ระดับนานาชาติ สงครามกับโควิด-19 ยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อใดตัวเลขคนติดเชื้อและเสียชีวิตแต่ละวันพุ่งไม่หยุดในวสหรัฐอเมริกาบางวันติดเชื้อเป็นแสนคนและยังมีปัญหาการเมืองซึ่งจะมีไปจนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงสิ้นปีในช่วงที่โลกกำลังสับสน ประเทศมหาอำนาจต่างๆแบ่งฝ่ายขั้วอำนาจทั้งกลุ่มเศรษฐกิจและกลุ่มพันธมิตร (Multi Polar ERA) เข้าเป็นพวกพ้อง กรณีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟ7ก (CPTPP) ตรงนี้ไทยต้องระมัดระวังรักษาสมดุลระหว่าง ขั้วมหาอำนาจเศรษฐกิจให้ดี

เศรษฐกิจวันนี้หนักหนาสาหัสมากธนาคารโลกหรือ “World Bank” ระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวมากสุดใน เอเชียและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก รายได้ของแรงงานโดยเฉลี่ยจะลดลงและมีการว่างงานเป็นหลักล้าน กลุ่มคนยากจนมีจำนวนเกือบสิบล้านคนในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ระเบิดเวลารอการปะทุคือเมื่อประชาชนส่วนใหญไม่มี สตางค์จับจ่ายใช้สอย การส่งออกชะลอตัวอย่างรุนแรงภาคท่องเที่ยวหดตัวนักท่องเที่ยวต่างชาติช่วง 3-4 เดือนที่ผ่าน มาเป็น“ศูนย์” ผลที่ตามมาคือสภาพคล่องของธุรกิจที่ผ่านมามีผู้เข้าโครงการพักหนี้-ยืดหนี้กับสถาบันการเงินจำนวน 16 ล้านรายเป็นเงิน 6.68 ล้านล้านบาทแบ่งเป็น พักหนี้รายบุคคลสัดส่วนร้อยละ 57 ที่เหลือเป็นของภาคเอกชน     ส่วนใหญเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี จำเป็นต้องมีการขยายเวลาชำระหนี้ออกไปอีก ธนาคารใหญ่แห่งหนึ่งประเมินว่าอาจมี หนี้ที่ไม่สามารถยืดหนี้ไดถึงร้อยละ 40 ตรงนี้จะทำอย่างไรปัญหาสภาพคล่องเป็นโจทย์ยากของประเทศช่วงปลายไตรมาส 3 จะเห็นชัดเจน

กลับมาที่เรื่องการเมืองในเวลาวิกฤตเช่นนี้ยังมีการแย่งตำแหน่งรัฐมนตรีเหมือนเล่นเก้าอี้ดนตรีเห็นปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังประสบ ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะแก้อย่างไร แต่ก็ยังอยากจะเข้ามาทำงานหรือเพียงแค่ได้ โควตารัฐมนตรีเข้ามา“ขอเอี่ยวดูเค้กแบ่งเค้กก็พอใจแล้ว” ส่วนประเทศชาติจะเป็นอย่างไรช่างมัน  อย่างนี้อย่าไปปรับ ครม.ดีกว่าสู้ “ทู้ซี้” ใช้คนเดิมทีมเดิมไปก่อนแต่ขอให้ปรับมาตรการต่างๆเน้นแก้เศรษฐกิจระยะสั้นเหมือนคนป่วยอยู่ในห้องไอซียูจะตายไม่ตายยังไม่รู้ต้องการออกซิเจนและยาตรงจุด ส่วนโครงการขายฝันชื่อเท่ ฟังดูดี แต่แก้ปัญหาไม่ได้ หรือโครงการเห็นผลระยะยาว รอไว้ก่อนเอาไว้รอดแล้วค่อยว่ากันใหม่ ...ดีไหมครับ

( สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat )