posttoday

2 คำถามจากประชาชนถึงรัฐบาล

29 เมษายน 2563

คอลัมน์ Great Talk

1. พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ประกาศ ขยายระยะเวลาอีก 1 เดือน

2.การประกาศนโยบายที่ไม่ชัดเจนทำให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่สับสน

วันที่ 27 เมษายน 2563 ศบค.เคาะเลื่อน “วันหยุดนักขัตฤกษ์” เดือน พ.ค. ทั้งหมดวันที่ 28 เมษายน 2563 มติ ครม.ไม่เลื่อน “วันหยุดนักขัตฤกษ์” เดือน พ.ค. โดยให้เหตุผลว่า

1.บางบริษัท บางหน่วยงาน ยังเปิดทำงาน ทำการตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่และพนักงานก็จะได้มีวันหยุดตามปกติตามปฏิทิน เพื่อมีวันหยุดได้พักผ่อน

2. บางบริษัทหรือบางหน่วยงาน ถ้ายังต้องทำงานในช่วงนี้ เจ้าหน้าที่ พนักงานก็จะได้เงินโอที ค่าทำงานวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามปกติ ซึ่งจะเป็นเหมือนเงินพิเศษในการทำงาน ส่งผลดีต่อขวัญกำลังใจและรายได้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ต้องการรายได้เพิ่ม

เสียงส่วนใหญ่หากเป็นพนักงานก็ย่อมมีเฮ เพราะจะได้ประโยชน์จากการได้รายได้ตามวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่มีเสียงอีกข้างตั้งคำถามว่า หยุดแล้วจะไปไหนได้แล้วพนักงานส่วนใหญ่ก็ทำงานที่บ้านอยู่แล้ว

เสียงจากผู้ประกอบการ มักเป็น “เสียงที่ไร้แรงที่จะยื้อต่อ” ได้แต่พูดว่าแค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว ธุรกิจไม่มีคนซื้อ มีแต่คนขายสินค้า หยุดต่อ ต้องจ่ายค่าแรงแล้วบริษัทจะอยู่อย่างไร การมีมติต่างๆ ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการ “หลังชนฝา” เร่งตัวปิดกิจการเร็วขึ้น

เสียงจากประชาชนที่กังวลกับการกระจายตัวของเชื้อโควิดมักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “หากหยุดไปแล้วมีการไปรวมตัวแล้วติดเชื้อเพิ่มกันอีกจะทำอย่างไร”

หรือสิ่งที่รัฐบาลควรทำ ณ วิกฤติขณะนี้ คือ การยอมขาดดุลการค้า ลดภาษี ปรับลด ค่าประปา ค่าไฟฟ้า จากกลุ่มประชาชนระดับกลาง เหลือครึ่งนึง และปล่อยใช้ฟรีสำหรับ บ้านที่ ใช้จ่ายไม่เกิน 700 บาท เป็นต้น ส่วนนิติบุคคล ดูตามขนาดมูลค่ากิจการ หากเป็นระดับเล็กเงินทุนหมุนเวียนน้อย จากสภาวะ โควิด อาจมีการปรับลด ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้

ส่วนบริษัทขนาดใหญ่ระดับมหาชน ใช้วิธีปล่อยเงินกู้แบบไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน (สำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหลักของประเทศ) เช่น ภาคการท่องเที่ยว ภาคเกษตรกรรม เป็นต้น

บางทีสิ่งที่รัฐบาล ควรฟังเสียงประชาชนมากกว่าการส่งจดหมายปิดผนึกให้มหาเศรษฐีเพื่อขอความช่วยเหลือเพราะประชาชนคือผู้ที่เจอความทุกข์ยากอย่างแท้จริง