posttoday

สำนักเรียนวัดเทพลีลา แชมป์เปรียญเอก2552

03 กุมภาพันธ์ 2553

โดย...สมาน สุดโต

โดย...สมาน สุดโต

การสอบบาลีสนามหลวงประโยค 6-9 ประจำปี2553 มีขึ้นเมื่อ 17-21 ม.ค. 2553 จะรู้ว่าสำนักเรียนไหนเป็นแชมป์ต้องคอยฟังประกาศผลสอบ วันที่ 7 มี.ค. 2553 ส่วนปีที่แล้ว (2552) ที่วัดเทพลีลา กทม. ครองแชมป์เปรียญเอก (ป.ธ. 7-9)ที่มีผู้สอบได้มากที่สุด

ปีการศึกษา 2553 นี้ มีผู้เข้าสอบเปรียญเอกทั้ง3 ชั้น รวม 1991 รูป เป็นผู้เข้าสอบ ป.ธ. 7 จำนวน897 รูป ป.ธ. 8 จำนวน 639 รูป และ ป.ธ. 9 จำนวน 455 รูป

วารสารกัลยาณมิตรฉบับ พระสังฆาธิการ ปีที่12 ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2552 ที่วัดพระธรรมกายทำขึ้นประจำปีเพื่อมุทิตาสักการะเปรียญธรรม 9 ประโยคกล่าวว่า

ในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ชื่อเสียงของสำนักเรียนวัดเทพลีลาได้เริ่มเป็นที่รู้จักและกล่าวขวัญกันมากขึ้นในแวดวงการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในฐานะสำนักเรียนน้องใหม่ที่กำลังมาแรงชนิดรั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่โดยเฉพาะในระดับชั้นเปรียญเอกซึ่งมีจำนวนผู้สอบได้อยู่ในอันดับต้นๆ เกาะติดอยู่ใน

กลุ่มเดียวกันกับสำนักเรียนใหญ่ๆ อย่างเช่นวัดพระธรรมกาย วัดชนะสงคราม วัดโมลีโลกยาราม วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ วัดสามพระยา วัดสร้อยทอง วัดจองคำ ฯลฯ จนกระทั่งล่าสุดในปีการศึกษา 2552 นี้ก็สามารถเบียดแซงเจ้าสนามเก่าก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์เปรียญเอกได้อย่างสมภาคภูมิ

ผลสอบบาลีได้มากทำให้ในวงการกล่าวว่า นี่คือดาวรุ่งดวงใหม่ในวงการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย

วัดเทพลีลา (วัดตึก) ตั้งอยู่บริเวณถนนรามคำแหง 39 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเดิมทีเป็นสถานที่ที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์สิงหเสนี) ใช้เป็นที่พักไพร่พลในคราวที่ยกทัพไป

ปราบญวนและเขมรตามพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีพุทธศักราช 2376 ปรากฏว่าเมื่อไพร่พลได้ลงไปอาบน้ำในคลองแสนแสบได้ดำน้ำลงไปพบพระพุทธรูปปางลีลาสูง 1 เมตร จึงได้นำพระพุทธรูปนั้นมามอบให้ท่านเจ้าพระยาผู้เป็นแม่ทัพ ครั้นเสร็จศึกสงครามกลับมาท่านจึงได้สร้างวัดขึ้น พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปปางลีลาดังกล่าวมาประดิษฐานเป็นองค์ประธาน และตั้งนามพระอารามแห่งนี้ว่า "วัดเทพลีลา"

วัดเทพลีลาได้เป็นศูนย์รวมใจของชุมชนในย่านหัวหมาก และมีความโดดเด่นทางด้านการศึกษา ในยุคเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน จนได้&O5533;&O5533;ับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดเทพลีลาขึ้นเป็นพระอารามหลวงในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีพุทธศักราช 2549

สำนักเรียนวัดเทพลีลา

สำนักเรียนวัดเทพลีลาได้เปิดดำเนินการสอนพระปริยัติธรรมอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2540 ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นไปในรูปแบบของสำนักศาสนศึกษาอยู่ ต่อมาในปีพ.ศ. 2545 จึงได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ แม่กองบาลีสนามหลวงให้เป็นสำนักเรียนอย่างเป็นทางการโดย

มีพระพิพัฒนปริยัติสุนทร (ประสาร เตชสีโลปัจจุบันคือพระราชปริยัติสุนทร) เป็นเจ้าสำนักเรียนและพระอาทรปริยัติกิจ (สมพร วรวุฑฺโฒ)เป็นอาจารย์ใหญ่และประธานในการบริหารการศึกษา

สำนักเรียนได้จัดบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยคณะบุคคล 4 ฝ่าย ได้แก่1) เจ้าอาวาส 2) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส 3) อาจารย์ใหญ่และคณะครู 4) คณะกรรมการวัด และโยมอุปถัมภ์โดยมีการเปิดสอนพระปริยัติธรรมทั้ง 3 แผนก คือแผนกบาลี แผนกธรรม และแผนกธรรมศึกษา(สำหรับคฤหัสถ์)

สำหรับการดำเนินการเรียนการสอนของสำนักเรียนวัดเทพลีลานั้นถือได้ว่า ส่วนหนึ่งได้แนวคิดการจัดการศึกษาของสำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญมาเป็นต้นแบบ เพราะเหตุว่าทั้งตัวอาจารย์ใหญ่และครูอาจารย์แผนกบาลีอีกหลายท่านก็มาจากวัดปากน้ำด้วยเช่นกัน ครูอาจารย์จากวัดปากน้ำที่สลับสับเปลี่ยนกันมาช่วยสอนบาลีที่วัดเทพลีลา ได้แก่พระมหาวิรัตน์ อภิรตโน ป.ธ. 8 พระมหาทองดีปญฺญาวชิโร ป.ธ. 9 พระมหาหวน ยสาโร ป.ธ. 9 พระมหาครรชิต สุชิตคนฺโธ ป.ธ. 9 พระมหามนพกิตฺติมโน ป.ธ. 7 พระมหาชนพัฒน์ สุมุทุ ป.ธ. 6 และพระมหาทองเก็บ ญาณพโล ป.ธ. 7 เป็นต้น

สอบได้มากทุกปี

จำนวนนักเรียนที่สอบบาลีสนามหลวงได้ทุกประโยคของสำนักเรียนวัดเทพลีลา ระหว่างปีพ.ศ.2541-2552 มีดังนี้ พ.ศ. 2541 สอบได้ 5 รูป ปีพ.ศ. 2542 สอบได้ 12 รูป พ.ศ. 2543 สอบได้ 15 รูป พ.ศ. 2544 สอบได้ 28 รูป พ.ศ. 2545 สอบได้44 รูป พ.ศ. 2546 สอบได้ 33 รูป พ.ศ. 2547 สอบได้ 45 รูป พ.ศ. 2548 สอบได้ 68 รูป พ.ศ. 2549 สอบได้ 60 รูป พ.ศ. 2550 สอบได้ 54 รูป พ.ศ.2551 สอบได้ 50 รูป พ.ศ. 2552 สอบได้ 54 รูป

จากสถิติข้างต้นจะเห็นว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสำนักเรียนวัดเทพลีลาได้สร้างผลงานทางด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีอย่างโดดเด่นและมั่นคง คือมีผู้สอบบาลีสนามหลวงได้เป้นจำนวนมากและครบทุกประโยคอีกด้วย ซึ่งสำนักเรียนน้อยแห่งนักที่จะสามารถทำเช่นนี้ได้

เชื่อว่าจากผลงานอันโดดเด่นทางด้านการศึกษานี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญให้พระเถระของวัดเทพลีลาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯ ให้เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษในโอกาสอันสำคัญไล่เลี่ยกันถึง 2 รูปนั่นคือ พระครูอาทรสุทธิ วัฒน์(ประสาร เตชสีโล) เจ้าสำนักเรียนวัดเทพลีลา ได้เป็นพระราชาคณะที่พระพิพัฒนปริยัติสุนทร สย.ในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค.พ.ศ.2547 ตามติดมาด้วยพระครูวินัย รสมพร วรวุฑฺโฒ อาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดเทพลีลา ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระอาทรปริยัติกิจ ในโอกาสเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. พ.ศ.2549

พระราชปริยัติสุนทร(ประสาร เตชสีโล) นธ.เอก, พธม.กิตติมศักดิ์ พธ.ด.กิตติมศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดเทพลีลา เจ้าสำนักเรียนวัดเทพลีลา เจ้าคณะเขตบางกะปิ เมื่อครั้งเป็นพระพิพัฒนปริยัติ สุนทร กล่าวว่า

"...ในเรื่องการจัดการศึกษาของสำนักเรียนนั้น อาตมาได้มอบหมายให้ทางอาจารย์ใหญ่คือพระอาทรปริยัติกิจเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ อาตมามีหน้าที่ให้การสนับสนุนอุปถัมภ์ หากมีสิ่งใดขาดเหลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ อุปกรณ์การศึกษา ตำรับตำรา ค่าน้ำค่าไฟ อาหาขบฉัน อาตมารับผิดชอบดูแลให้หมด รวมทั้งยังมอบทุนการศึกษาเป็นกำลังใจให้แก่ผู้สอบได้ทุกรูปด้วย มีตั้งแต่ทุนละห้าพันไปจนหนึ่งแสนบาทตามลำดับประโยคชั้น"

"...สำหรับงบประมาณในการบริหารจัดการของสำนักเรียนวัดเทพลีลานั้นแหล่งที่มาหลักๆ ก็ได้แก่การบริจาคของญาติโยมสาธุชน โดยเฉพาะรายได้จากการจัดถวายเครื่องสังฆทาน เป็นต้น นอกจากนั้นเรายังมีเงินมูลนิธิหรือผาติกรรมของวัดเป็นเงินก้อนใหญ่ร้อยกว่าล้าน ก็ได้อาศัยดอกผลมาใช้ ช่วยให้การจัดการศึกษาดำเนินไปได้ไม่ติดขัด"

"...อาตมาเห็นว่าการจัดงานมุทิตาสักการะเปรียญธรรม 9 ประโยคของวัดพระธรรมกายอย่างที่ดำเนินการมานี้ ถือว่ามีส่วนช่วยส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาของคณะสงฆ์เป็นอย่างดี เป็นการส่งเสริมให้กำลังใจทั้งแก่นักเรียนและสำนักเรียนต่างๆ โดยเฉพาะรูปแบบการจัดงานก็จัดได้ยิ่งใหญ่สมเกียรติหาที่ไหนมาเทียบ

น.ธ.เอก, ป. 1-2, M.A.ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพลีลา อาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดเทพลีลา เลขานุการเจ้าคณะเขตบางกะปิกล่าวว่า

"...เดิมทีนั้นอาตมาแม้จะบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ แต่อาตมาก็ได้ไปมาหาสู่ระหว่างวัดปากน้ำกับวัดเทพลีลาอยู่เป็นประจำ เพราะอาตมาเป็นคนมีพื้นเพอยู่ในย่านนี้ จึงมีความสนิทสนมคุ้มเคยกับท่านเจ้าอาวาสและญาติโยมของวัดเทพลีลาเป็นอย่างดี จนกระทั่งได้มีการริเริ่มจัดตั้งโรงเรียน

พระปริยัติธรรมแผนกบาลีร่วมกับท่านเจ้าอาวาสขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2539 โดยท่านได้ขอร้องให้อาตมาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลแทน เพราะตัวท่านไม่มีความชำนาญทางด้านนี้ ซึ่งในช่วงแรกอาตมาได้ใช้วิธีเดินทางไปกลับระหว่างวัดปากน้ำกับวัดเทพลีลา โดยยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ จนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2544 เมื่องานด้านการศึกษามีการขยายตัวมากขึ้น อาตมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพลีลาอย่างเป็นทางการ..."

"...ในช่วงแรกๆ ได้อาศัยพระมหาเปรียญจากวัดปากน้ำมาช่วยเป็นครูสอนให้ ครูสอนบาลีรูปแรกของสำนักศาสนศึกษาวัดเทพลีลา คือ พระมหาวิรัตน์ อภิรตโนป.ธ. 7 พรรษา 3 ซึ่งตอนนั้นแม้จะมีอายุพรรษาน้อย แต่ก็สามารถทำหน้าที่เป็นครูสอนบาลีได้เป็นอย่างดีพระอาทรปริยัติกิจเพราะอาตมาได้บอกในที่ประชุมวันเปิดเรียนว่าขอให้ผลัดกันเป็นพี่เป็นจากสถิติข้างต้นจะเห็นว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาน้อง ถ้านับกันที่พรรษาผู้ที่ถูกเรียกว่า ภันเต ถือเป็นสำนักเรียนวัดเทพลีลาได้สร้างผลงานทางด้านการพี่ แต่ตอนเรียนแม้ว่าจะมีอายุพรรษามากกว่าครูผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีอย่างโดดเด่นและสอนก็ต้องถือว่าเป็นน้อง เพราะผู้สอนมีความรู้มั่นคง คือมีผู้สอบบาลีสนามหลวงได้เป็นจำนวนมากมากกว่า เป็นพี่ทางด้านการศึกษา ก็อยู่กันมาอย่างนี้และครบทุกประโยคอีกด้วย ซึ่งสำนักเรียนน้อยแห่งโดยได้อาศัยครูอาจารย์จากสำนักเรียนวัดปากน้ำนักที่จะสามารถทำเช่นนี้ได้เป็นกำลังสำคัญ ต่อมาในระยะหลังๆ เมื่อมีนักเรียนเชื่อว่าจากผลงานอันโดดเด่นทางด้านการศึกษาของสำนักสอบได้มากขึ้น จึงได้ใช้วิธีพี่สอนน้องมาช่วยเสริมด้วย"

ในส่วนของวิธีการจัดการเรียนการสอนของสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษในโอกาสอันสำคัญไล่เลี่ยสำนักเรียนวัดเทพลีลานั้นก็ใช้แบบสำนักเรียนทั่วไปกันถึง 2 รูปนั่นคือ พระครูอาทรสุทธิ วัฒน์ คือต้องเน้นไวยากรณ์เป็นหลัก ทุกประโยคชั้นต้อง(ประสาร เตชสีโล) เจ้าสำนักเรียนวัดเทพลีลา ได้ให้แม่นเรื่องไวยากรณ์ โดยให้หมั่นทบทวนเรื่องเป็นพระราชาคณะที่พระพิพัฒนปริยัติสุนทร สย. ในไวยากรณ์เป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์เป็นอย่างโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมน้อย เพราะไวยากรณ์เป็นหัวใจของการเรียนบาลีราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 การสอนแต่ละชั้น ผู้สอนต้องบันทึกการสอนไว้พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค. พ.ศ. 2547 ตามติดมาด้วยให้ชัดเจนว่าสอนถึงไหน มีปัญหาข้อขัดข้องอย่างไรพระครูวินัย ธรสมพร วรวุฑฺโฒ อาจารย์ใหญ่สำนักพอถึงสิ้นเดือนก็ให้คณะครูทุกแผนกมาประชุมถกเรียนวัดเทพลีลา ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระอาทรปัญหากัน"ปริยัติกิจ ในโอกาสเฉลิมฉลองการครองสิริราช"...ทั้งหลวงพ่อเจ้าอาวาสและอาตมาต่างก็ได้ให้สมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อนโยบายโดยตอกย้ำกับพระเณรในสำนักเรียนอยู่วันที่ 9 มิ.ย. พ.ศ. 2549 เสมอว่า การศึกษาพระบาลีมีประโยชน์ต่อการคณะพระราชปริยัติสุนทร (ประสาร เตชสีโล) สงฆ์และพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากไม่นธ.เอก, พธม.กิตติมศักดิ์ พธ.ด.กิตติมศักดิ์ มีบาลี พระพุทธศาสนาก็จะอยู่ไม่ได้ ต้องมีทั้งผู้เรียนเจ้าอาวาสวัดเทพลีลา เจ้าสำนักเรียนวัดเทพลีลาและผู้สอนเมื่อเรียนก็มุ่งเรียนเอาความรู้ ให้ได้ทั้งเจ้าคณะเขตบางกะปิ เมื่อครั้งเป็นพระพิพัฒนปริยัติประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน โดยเอาประโยชน์สุนทร กล่าวว่าตนให้ได้ก่อนแล้วจึงให้ได้ประโยชน์ท่าน รับรองว่า"...ในเรื่องการจัดการศึกษาของสำนักเรียนนั้นเมื่อจบป.ธ. 9 แล้วไม่มีตกงานมีงานรอให้ทำอยู่แล้วอาตมาได้มอบหมายให้ทางอาจารย์ใหญ่คือพระนั่นคือการสอน ซึ่งมีทั้งงานในด้านการศึกษาและอาทรปริยัติกิจเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ อาตมามีการเผยแผ่ เน้นงานสองอย่างนี้เป็นหลัก"หน้าที่ให้การสนับสนุนอุปถัมภ์ หากมีสิ่งใดขาดเหลือสุดท้ายท่านกล่าวขอบคุณเจ้าอาวาสวัดพระไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ อุปกรณ์การศึกษาธรรมกายที่สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาบาลีของตำรับตำรา ค่าน้ำค่าไฟ อาหารขบฉัน อาตมาคณะสงฆ์อย่างจริงจัง จึงอยากเห็นวัดในประเทศรับผิดชอบดูแลให้หมด รวมทั้งยังมอบทุนการศึกษาไทยมีอย่างนี้สักสิบวัด การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยเป็นกำลังใจให้แก่ผู้สอบได้ทุกรูปด้วย มีตั้งแต่ทุนละจะไม่มีวันตกต่ำ

สถิติ สำนักสอบที่เปรียญเอกได้มากที่สุด ปีพ.ศ. 2552

วัดเทพลีลากทม.สอบ ป.ธ. 7 ได้ 12 รูป สอบ ป.ธ. 8 ได้ 9 รูป สอบ ป.ธ. 9 ได้ 2 รูปรวม 23 รูป

วัดพระธรรมกายปทุมธานี สอบ ป.ธ. 7 ได้ 8 รูป สอบ ป.ธ. 8 ได้ 6 รูป สอบ ป.ธ. 9 ได้2 รูป รวม 16 รูป

วัดสร้อยทองกทม.สอบ ป.ธ. 7 ได้ 3 รูป สอบ ป.ธ. 8 ได้ 10 รูป สอบ ป.ธ. 9 ได้ 2 รูปรวม 15 รูป

วัดโมลีโลกยารามสอบ ป.ธ. 7 ได้ 6 รูป ป.ธ. 8 ได้ 5 รูป ป.ธ. 9 ได้ 1 รูป รวม 12 รูปวัดจองคำลำปางสอบ ป.ธ. 7 ได้ 5 รูป สอบ ป.ธ. 8 ได้ 3 รูป สอบ ป.ธ. 9 ได้ 2 รูป รวม10 รูป