posttoday

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ

09 เมษายน 2565

โดย...สมาน สุดโต

****************

สังคมในไทยที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ร่วมฉลองกับคนในศาสนาอื่นๆ อย่างสนุกสนาน เป็นกันเอง เช่น เทศกาลวันวาเลนไทน์ วันคริสต์มาส หรือ บูชาเทพเจ้าของฮินดู อย่างเปิดเผย ด้วยการตั้งแท่นบูชาในที่ต่างๆ แม้กระทั่งในวัดพุทธ นอกจากนั้นยังกินอาหารที่มีเครื่องหมายฮาลาลเกือบทุกมื้อ แบบไม่เคอะเขิน จนหน่วยราชการยอมรับว่า ไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมไปแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะประมุขแห่งแผ่นดินสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้เสรีถาพในการนับถือศาสนา พร้อมทั้งทรงอุปถัมภ์ จนนักเผยแผ่ศาสนาคริสต์รายงานไปยังสำนักใหญ่ในฝรั่งเศสว่า ไม่มีประเทศไหนในโลกใจกว้างเหมือนสยามเมืองยิ้ม ที่เปิดโอกาศให้เผยแพร่ศาสนาอย่างเสรีส่วนประชาชนชาวสยามก็ไม่มีท่าทีขัดขวาง แม้จะเห็นคำสอนที่แตกต่างจากศาสนาพุทธก็ตาม

แม้ว่าเราจะเห็นคนต่างศาสนาในบ้านเมืองเราเยอะแยะ แต่ก็ไม่เห็นความแตกต่าง ทั้งๆ ที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม รับรองถึง 5 ศาสนา ได้แก่ พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกซ์ โดยพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะประชากรชาวไทยส่วนมากนับถือ ส่วนศาสนาอื่นๆ ก็อยู่ร่วมกับชาวพุทธได้ แบบพึ่งพาอาศัย ไม่รังเกียจกันและกัน

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ

เรื่องนี้ สามารถอ้างอิงจากศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในสมัยอยุธยาได้ เพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ให้เข้าเฝ้าใกล้ชิด แล้วยังมีพระกรุณาอีกมาก เช่น พระราชทานที่ดินให้สร้างวัด สร้างโบสถ์และโรงเรียน ตามที่มิชชันนารีขอพระราชทานอีกด้วย จึงเกิดวัดนักบุญยอเซฟ แห่งนิกายโรมันคาทอลิก ขึ้นเป็นแห่งแรกในสยาม เมื่อกว่า 350 ปี บนที่ดินที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทาน เมื่อ พ.ศ.2205 แต่โบสถ์หลังแรกนี้ไม่เหลือ เพราะถูกเผาเมื่ออยุธยาตกเป็นของพม่า ส่วนโบสถ์หลังที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ปักหมุด ฉลอง 350 ปี พ.ศ 2562 นั้นสร้างขึ้นทีหลัง เป็นสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูโร กางเขนแบบละติน ได้รับการบูรณะใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2547

ความงามของโบสถ์ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลป สถาปัตยกรรมดีเด่น พ.ศ.2548 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เคยพาไปชม เงาฝรั่งในอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2564 และมาสรุปที่โบสถ์แห่งนี้ เพราะมีผลงานของประมุขโรมันคาทอลิกหลายท่านสร้างและจัดแสดงที่นี้ เช่น ผลงานด้านตำรา คือหนังสือคำสอนพระคริสต์และพจนานุกรมภาษาไทย (ฉบับแรก) สำหรับค้นคว้าและอ้างอิง ที่จารลงในสมุดข่อย และใบลาน ให้กลมกลืนกับคัมภีร์พุทธศาสนาเป็นต้นก็เกิดที่นี่ ของโบราณที่น่าตื่นตาคือ สำเนาจดหมายของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ที่มีถึงสันตปาปา เล่าเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในสยาม จัดแสดงที่นี่เช่นกันส่วนจดหมายตัวจริงเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์แห่งสำนักวาติกัน

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ

ในหอนิทรรศการ ยังมีพระธาตุ(อัฐิ)นักบวชแห่งคริสต์ศาสนาบรรจุในผอบตั้งแสดง พร้อมกับสิ่งเคารพ เช่น ภาพประมุข อัครสังฆราชแห่งสยามและภาพแม่ชี ผู้เข้ารีตจำนวนมากจัดแสดงให้ชมด้วย จากโบสถ์แห่งแรกที่อยุธยา ก็มาถึงโบสถ์คอนเซปชัญ ย่านสามเสน ในบางกอก ตั้งอยู่ติดกับวัดสมอราย หรือ วัดราชาธิวาส โดยสร้างบนที่ดินที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทาน ที่นี่เคยเป็นที่ประทับสังฆราชปาเลอกัวซ์ ชาวฝรั่งเศส ที่เคยถวายความรู้วิชาตะวันตกและภาษาต่างๆ แก่วชิรญาณภิกขุ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมาสังคม

หลากหลายวัฒนธรรม พัฒนา จากสังคมชั้นสูงที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก พร้อมทั้งการยอมรับของใหม่จากตะวันตกแบบง่ายๆ ของคนไทย เฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการศึกษา และสถานพยาบาลดำเนินการโดยโบสถ์ทั้งหลายทั้งโรมันคาทอลิกและโปรเตสสแตนด์ เป็นส่วนเพิ่มแรงดันให้เร็วขึ้น ประกอบกับระบบการสื่อสารไร้พรมแดน ในขณะนี้ พหุวัฒนธรรมจะเป็นองค์กรนำของสังคมไทยในที่สุด

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ

ไทยเข้าสู่สังคมพหุวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ