posttoday

วัฒนธรรมใหม่หลังโควิด-19

17 กันยายน 2563

โดย สมาน สุดโต

กรมสารนิเทศ  กระทรวงการต่างประเทศ ระดมมันสมองนักวิชาการ บก.นิตยสาร และผู้อำนวยการสร้างภาพยนต์ มาฉายภาพประเทศไทยหลังไวรัส โควิด-19 ที่โรงแรม Okura.prestige กรุงเทพ

ที่ประชุมเสวนาได้แลกเปลี่ยนทัศนคติกันในหลายแง่หลายมุม ตามประสบการณ์ แต่ละคน พร้อมทั้งชี้แนวโน้มในอนาคตว่า จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมใหม่ ในหลายมิติ และสื่อหลากหลายรูปแบบ  

ศาตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ  ผู้เชียวชาญด้านประวัติศาตร์ ศาสนา และวัฒนธรรมกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ เคยเกิดหนหนึ่ง หลังจากเหตุการณ์ 9/11 ทำให้การเดินทางโดยเครื่องบินเปลี่ยนจากสะดวกง่ายดาย กลับต้องผ่านพิธีการคัดกรองว่าพกวัตถุอันตรายติดตัวไปด้วยหรือไม่เพราะกลัวการก่อการร้ายส่วนการระบาดไวรัสโควิด-19 ผู้โดยสารต้องสวมหน้ากากอนามัย เพราะกลัวติดโรคที่ระบาด

วัฒนธรรมใหม่หลังโควิด-19

ศาตราจารย์ธงทองได้กล่าวเรื่องที่ตนถนัดคือเรื่องพิพิธภัณฑ์ด้วยเห็นว่าเป็นช่องทางให้มีการพบปะกับคนระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงวัฒนธรรมในช่วงที่มีโควิดเป็นอุปสรรค พร้อมทั้งเล่าประสบการณ์ในการชมพิพิธภัณฑ์?ในหลายประเทศ ก่อนโควิด-19 ระบาดว่าแต่ละประเทศลงทุนจัดนิทรรศการให้คนในประเทศได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ก็ลงทุนนำของมีค่าจากพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศมาจัดแสดงให้คนสิงคโปร์รู้จักต่างประเทศมากขึ้น กรมศิลปากร  ก็เคยลงทุนนำเรื่องจินซีฮ่องเต้ มาจัดแสดงในไทยซึ่งมีการตอบรับดีมาก จนต้องขยายเวลาจัดแสดงออกไปอีกระยะหนึ่ง

ในช่วงโควิด-19 ที่มีปัญหาในการเดินทางระหว่างประเทศ ขอเสนอให้กระทรวงการต่างประเทศจับมือกับกรมศิลปากร เสนอเรื่องพิพิธภัณฑ์ไทย Online  คนทั่วโลกเข้าถึงง่าย และจะได้รู้จักประเทศไทยยิ่งขึ้นเป็น Newnormal newcoolture  อย่างดียิ่ง

ฟอร์ด  กุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร โวค( vogue)  กล่าวว่า ผลกระทบกับสื่อสิ่งพิมพ์มิใช่เกิดในยุคนี้แต่เกิดมาในช่วงDigital disruption ทำให้การทำนิตยสารทั้งเล่มเปลี่ยนมาเป็น content provider นอกจากนั้นโควิด-19 ยังทำให้ การจัดงาน แฟชั่น วีค ต้องหยุด ทั้งที่เป็นงานที่โวคต้องทำเป็นประจำทุกปี

ในณะที่ ยงยุทธ์ ทองกองทุน ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เล่าถึงประสบการณ์ในการสร้างภาพยนตร์ว่าในอดีตคำนึงถึงคนดูแบบไหน แต่ถึงยุคโควิด-19 เห็นชัดว่าความนิยมของคนดูหนังเปลี่ยนไป

ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการและผู้ก่อตั้งนิตยสาร OnlineThe Cloud  กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสื่อยุค โควิด -19 เห็นได้ชัดว่าเกิด Online เป็นสังคมแห่งการแสดงความคิดเห็นมากขึ้นเราตรวจสอบทุกอย่าง เว้นแต่ตรวจตัวเองเห็นได้จาก Socialmedia ที่มีคนถูกตรวจสอบ ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก ซึ่งเป็นผลดี ทำให้เราต้องพร้อมรับคำวิจารณ์ ตรวจสอบตนเอง เป็นกำไรชีวิต

วัฒนธรรมใหม่หลังโควิด-19

ในฐานะผู้ฟัง ภานุทัต  ยอดแก้ว จากสถาบันเทววงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ แสดงความคิดเห็นว่า ตนเคยไพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร พบว่าของมีค่าหลายอย่างถูกเก็บในที่ๆไม่ควรเก็บ แบบไม่มีความหมาย จึงเสนอให้รัฐลงทุน 1000 ล้านบาทขยายที่จัดแสดงให้ทันสมัย ซื้อ collection ต่างๆ มาจัดแสดง จะดีมากทีเดียว

ในเรื่องนี้ ศาตราจารย์พิเศษธงทอง เสนอผู้เกี่ยวข้องให้หาที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ใหม่ โดยให้เลือกที่ตั้งกรมรักษาดินแดน และกรมที่ดิน ที่หน่วยราชการย้ายออกไปแล้ว เพราะทำเลดี การคมนาคมสะดวก แถมใกล้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญเช่น วัดโพธิ์ เป็นต้น ในที่สุดการเสวนาเรื่อง new normal newcoolture สรุปว่าต้องมีวัฒนธรรมใหม่ ต้องใช้สื่อหลากหลายมิติ หากต้องการให้ต่างชาติรู้จักไทยมิใช่แค่โขนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ให้รูจักหลากหลายวัฒนธรรมที่คงอยู่ในประเทศนี้