posttoday

ออกเมรุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พระกรรมฐานกลางกรุง

26 เมษายน 2562

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 28 เม.ย. พ.ศ.2562 เวลา 17.00 น

โดย สมาน สุดโต

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) มรณภาพโดยสงบ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สิริอายุ 101 สังเขปประวัติ ท่านเกิด ณ วันที่ 29 ธ.ค. 2460 ที่บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็น จ.อำนาจเจริญ) โยมบิดาชื่อช่วย โยมมารดาชื่อกา นามสกุล ก่อบุญ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 11 คน บรรพชา พ.ศ. 2472 ที่วัดบ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็น จ.อำนาจเจริญ) โดยมี ญาคูโม้เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกเมรุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พระกรรมฐานกลางกรุง

ย้ายมาสังกัด วัดสัมพันธวงศ์ตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2479 หรือ 82 ปี (นับถึงปี มรณภาพ) และอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ วันที่ 8 พ.ค. 2480 เมื่ออายุ 20 โดยมีพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์


ด้านการศึกษาปริยัติธรรมนั้น เจ้าประคุณสมเด็จสร้างชื่อเสียงให้คณะสงฆ์ธรรยุต เมื่อเป็นพระคณะธรรมยุตไม่กีรูป ที่สามารถสอบผ่านเปรียญธรรม 9 ประโยคได้ใน ปี พ.ศ. 2499  เมื่อสอบได้ประโยคสูง ได้น้อมนำหลักธรรมความรู้มาปฏิบัติอ บรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม

ข้อมูลในหนังสือที่ระลึกงานวันเกิดสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อายุ 96 ปี (พ.ศ. 2556) ใระบุว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถร ป.ธ.9) เป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่มีการสถาปนาราชทินนามนี้ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งรูปแรกที่สถาปนาได้แก่  พระพิมลธรรม (ยัง เขมาภิรโต ป.ธ.8) วัดโสมนัสวิหาร ราชทินนามนี้จัดเฉพาะพระเถระฝ่ายธรรมยุต 

ในขณะเดียวกัน เจ้าประคุณสมเด็จฯ มิได้วางมือ หรือเพิกเฉย จากการปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งวิถีชีวิตในเพศบรรพชิต ที่มีพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐาน สั่งสอนให้นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเน้นที่การฝึกจิตสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในลักษณะของภาวนามยปัญญา เพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมของศาสนา 


ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนา คือแพรวิเศษที่พาข้ามทะเลสังสารวัฏ ที่ถือเป็นแนวทางหลักของพระภิกษุธรรมยุติกนิกายฝ่ายกองทัพธรรมสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ได้ถือเป็นหัวใจที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

การที่เจ้าประคุณสมเด็จไม่ทิ้งวิปัสสนากรรมฐาน แม้จะพำนักจำพรรษากลางกรุงจึงได้รับการ เรียกขานในกลุ่มชนที่ศรัทธาว่าท่านเป็น “พระกรรมฐานกลางกรุง” หรือ "พระป่ากลางกรุง"

ส่วนปฏิปทา คือ ทางดำเนินชีวิตนั้น  ท่านถือทางสายกลาง พอเหมาะพองาม ไม่ชอบระคนด้วยกลุ่มชนมาก ชอบหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ชอบชีวิตธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร มีเมตตาธรรมล้ำเลิศ มีสมาธิดี  ถ้าได้สนทนาธรรม ท่านจะสอนให้หัดแผ่เมตตา ส่งความปรารถนาดีแก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มาร สรุปได้ว่า ท่านสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยศีล จริยาวัตร ปฏิปทา คุณธรรม อันยอดเยี่ยม
 ส่วนงานด้านการปกรอง ท่านเป็นพระเถระที่มีอายุพรรษามาก ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ติดต่อกัน 47 ปี 

กรรมการมหาเถรสมาคม กรรมการเถรสมาคมธรรมยุต เจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต) ประธานคณะสงฆ์ธรรมยุตภาคตะวันออก กรรมการแผนกตำรา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิยาลัย และพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์

5 ธ.ค. 2499 เป็น พระอริยเมธี
5 ธ.ค.2404 เป็นเป็นพระราชกวี5 ธ.ค. 2507 พระเทพปัญญามุนี
5 ธ.ค. 2519 เป็น พระธรรมบัณฑิต
5 ธ.ค. 2532 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่พระอุดมญาณโมลี 
5 ธ.ค. 2544 ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อศึกษาวัตรปฏิบัติ และปฏิปทา โดยสังเขปต้องประทับใจว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ถาวรมหาเถระ) คือพระมหาเถระสุปฏิปันโน พระป่ากลางกรุง งดงามด้วยจริยาวัตร ปฏิปทา เคร่งครัดในพระวินัย และมีปฏิปทายึดเหนี่ยวตลอดเวลาว่า ไม่ติฉิน ไม่นินทา ไม่ให้ร้าย ไม่พูดซ้ำซาก 

ออกเมรุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พระกรรมฐานกลางกรุง

ออกเมรุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พระกรรมฐานกลางกรุง

ออกเมรุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พระกรรมฐานกลางกรุง