posttoday

พุทธวิธีบริหาร

19 มกราคม 2557

ในงานบำเพ็ญกุศลอายุวัฒนมงคล 80 ปี 60 พรรษา พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา

ในงานบำเพ็ญกุศลอายุวัฒนมงคล 80 ปี 60 พรรษา พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2557 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา จัดพิมพ์หนังสือ บันทึกธรรม 80 ปี พระธรรมวรนายก มอบให้แก่ผู้ไปแสดงมุทิตาจิต ในหนังสือดังกล่าวมีธรรมบรรยายหลากหลาย คอลัมน์ โพสต์ทูเดย์ ขอนำเรื่อง หลักธรรมประยุกต์ พระธรรมเทศนาคอนเสิร์ต หนึ่งใน 7 หัวข้อแห่งพุทธวิธีบริหาร มาตีพิมพ์ ต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา

พระธรรมเทศนาคอนเสิร์ต ชุดที่ 4

“ดูพระ” มี 5 กัณฑ์

กัณฑ์ที่ 1 “ตำราดูพระ”

พระดี ไม่ใช่พระเคร่ง พระเคร่ง ไม่ใช่พระดี

พระดี ไม่ใช่พระหย่อน พระหย่อน ไม่ใช่พระดี

พระดี เป็นพระพอดี พระพอดี จึงเป็นพระดี

พุทธวิธีบริหาร

 

กัณฑ์ที่ 2 “พระสงฆ์ยุคเก่า”

ปฐมํ พุทธวจนํ ศึกษาและปฏิบัติตามพุทธพจน์

ทุติยํ โลกกิจฺจํ เอาใจจดจ่อต่อกิจการของชาวโลก

ตติยํ เวชฺชคนฺถํ สงเคราะห์คนเป็นโรคเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยหยูกยา

จตุตฺถํ สิปฺปกมฺมํ พัฒนาฝึกปรือ ฝากฝีมือแรงงานด้านศิลปะไว้แทนตน

พุทธวิธีบริหาร

 

กัณฑ์ที่ 3 “พระสงฆ์แห่งยุค”

เอาการศึกษา มีสัมมาปฏิบัติ

จัดการเผยแพร่ ร่วมแก้ปัญหา

กัณฑ์ที่ 4 “ที่อยู่ของพระ”

พระดีอยู่ที่โบสถ์ (พระพุทธ)

พระไม่มีโทษอยู่ที่ศาลา (พระธรรม)

พระสืบศาสนาอยู่ที่กุฏิ (พระสงฆ์)

พระอุตริไม่มีที่อยู่ (พระอลัชชี)

พุทธวิธีบริหาร

 

กัณฑ์ที่ 5 “พระแห่งมงคล”

พระผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตร

เมื่อได้ยินได้ฟังก็เป็นมงคลหู

เมื่อได้ยินได้ดูก็เป็นมงคลตา

เมื่อได้นั่งสนทนาก็เป็นมงคลปาก

เมื่อได้อุปัฏฐากก็เป็นมงคลตัว

พระธรรมเทศนาคอนเสิร์ต ชุดที่ 5

“ชุดไตรภาคี” มี 5 กัณฑ์

กัณฑ์ที่ 1 “สถาบันบ้าน”

ริเริ่มสร้างสรรค์ แข่งขันทำดี

สามัคคีก้าวหน้า พัฒนาตนเอง

กัณฑ์ที่ 2 “สถาบันวัด”

เตรียมตัวให้พร้อม ฝึกซ้อมการปฏิบัติธรรม

นำปวงชนพัฒนา เป็นที่ปรึกษากิจ

กัณฑ์ที่ 3 “สถาบันราชการ”

เคร่งครัดวินัย เป็นใจชาวบ้าน

สมานสามัคคี ทำความดีทุกวัน

กัณฑ์ที่ 4 “สถาบันโรงเรียน”

รักโรงเรียนเหมือนบ้าน รักงานเหมือนชีวิต

รักลูกศิษย์เหมือนลูกหลาน รักชาวบ้านเหมือนญาติพี่น้อง

กัณฑ์ที่ 5 “ทางรอดของสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์”

ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มโพธิ์ เติบโตแบบไทย

มีวินัยในตน เป็นคนมีจิตสำนึก

พระธรรมเทศนาคอนเสิร์ต ชุดที่ 6

“ชุดธรรมะปฏิบัติ” มี 5 กัณฑ์

กัณฑ์ที่ 1 “กำหนดรู้”

เมื่อจิตไหล ก็ให้รู้ ดูที่จิต

หลงครุ่นคิด ก็ให้รู้ ดูเอาไว้

เมื่อจิตเผลอ ก็ให้รู้ ดูเข้าไป

ผลสุดท้าย มีแต่รู้ กูไม่มี

กัณฑ์ที่ 2 “ทราบแล้วเปลี่ยน”

ทราบแล้วเปลี่ยน ปุ๊บปั๊บ จับให้ถูก

จิตไม่ผูก เป็นจริง อิงอาศัย

ทุกสิ่งล้วน มายา พาเราไป

เลิกหลงใหล ทราบแล้วเปลี่ยน ไม่เพี้ยนเอย

กัณฑ์ที่ 3 “กูว่าแล้ว”

กูว่าแล้ว โลกนี้ มีปัญหา

เขาไม่ด่า ก็ชื่นชม หรือเฉยๆ

สามประเภท ที่ว่านี้ ไม่ผิดเลย

โปรดวางเฉย ใครถือสา จะบ้าตาย

กัณฑ์ที่ 4 “ได้เท่าได้”

ถ้าทุกคน ได้ทุกอย่าง ดั่งที่คิด

สิ้นชีวิต จะเอาของ กองไว้ไหน

มันได้บ้าง เสียบ้าง ช่างปะไร

ได้เท่าไร ก็เท่านั้น แหละท่านเอย

กัณฑ์ที่ 5 “ขี้เถ้ากองเดียว”

กอบโกย อะไร กันหนักหนา

แช่งด่า อะไร กันมากนัก

หลงใหล อะไร กันหน่วงหนัก

ไม่นานนัก เขาจะเอา ไปเผาไฟ

พระธรรมเทศนาคอนเสิร์ต ชุดที่ 7

“ชุดครองไตร” มี 7 กัณฑ์

กัณฑ์ที่ 1 “ไตรสรณคมณ์”

พุธสังมิ หลักใจของชาวพุทธ

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

กัณฑ์ที่ 2 “ไตรทวาร”

ดีหรือชั่วอยู่ที่เรื่องที่คิด กิจที่ทำ คำที่พูด

มโนกมฺมํ เรื่องที่คิด

กายกมฺมํ กิจที่ทำ

วจีกมฺมํ คำที่พูด

กัณฑ์ที่ 3 “ไตรสิขา”

หลักการศึกษาเรียนรู้

พัฒนาพฤติกรรมให้สะอาดด้วยศีล (จริยศึกษา)

พัฒนาสภาพจิตให้มั่นคงด้วยสมาธิ (พลศึกษา)

พัฒนาทัศนคติให้ถูกต้องด้วยปัญญา (พุทธิศึกษา)

กัณฑ์ที่ 4 “ไตรปิฎก”

ประมวลหลักธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์

พระวินัยปิฎก 5 พระคัมภีร์

อา ปา มะ จุ ปะ 21,000 พระธรรมขันธ์

พระสุตตันปิฎก 5 พระคัมภีร์

ที มะ สัง อัง ขุ 21,000 พระธรรมขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก 7 พระคัมภีร์

สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ 42,000 พระธรรมขันธ์

กัณฑ์ที่ 5 “ไตรลักษณ์”

กฎธรรมดาที่เสมอเหมือนกันในสัตว์และสังขารทั้งหลาย

อนิจจัง ความไม่เที่ยง

ทุกขัง ความเป็นทุกข์

อนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน

กัณฑ์ที่ 6 “ไตรจีวร”

ผ้าสามผืน ธงชัยของพระอรหันต์

อันตรวาสก ผ้าสบงสำหรับนุ่ง

อุตราสงค์ ผ้าจีวรสำหรับห่ม

สังฆาฏิ ผ้าสังฆาฏิสำหรับห่มซ้อนกันหนาว

กัณฑ์ที่ 7 “ไตรมาส”

ตลอดสามเดือนแห่งการอยู่จำพรรษา

อธิษฐานใจอยู่เป็นที่ ทบทวนชั่วดีที่ผ่านมา

ศึกษาหลักพระธรรมวินัย เช้าค่ำทำใจ สวดมนต์ภาวนา

พระธรรมเทศนาคอนเสิร์ต ชุดที่ 8

“เฉลิมพระเกียรติ ร.9” มี 5 กัณฑ์

กัณฑ์ที่ 1 “ความเป็นองค์พระประมุข”

ยกระดับความเป็นคนดี

มีน้ำพระทัยใฝ่ธรรม

บำเพ็ญพระองค์เป็นประโยชน์

กัณฑ์ที่ 2 “ความเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก”

รับผิดชอบต่อพระศาสนาร่วมกับพระสงฆ์

สนับสนุนส่งเสริมการทำงานของพระสงฆ์

ปกป้องคุ้มครองพระสงฆ์

กัณฑ์ที่ 3 “ทศพิธราชธรรม 10”

ทานํ การให้ปัน

สีลํ การสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย

ปริจฺจาคํ การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อส่วนรวม

อาชฺชวํ ความซื่อตรง

มทฺทวํ ความอ่อนโยน

ตปํ ความเพียร

อกฺโกธํ ความไม่กริ้วโกรธ

อวิหิงฺสา ความไม่เบียดเบียน

ขนฺติ ความอดทน อดกลั้น อดออม

อวิโรธนํ การแน่วแน่ในความถูกต้อง

กัณฑ์ที่ 4 “จักรวรรดิวัตร 12”

อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ สงเคราะห์ชนภายในและกองทหาร

ขตฺติเยสุ

คุ้มครองและสงเคราะห์แก่กษัตริย์เมืองขึ้น

อนุยนฺเตสุ

สงเคราะห์เหล่าเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพาร

พฺราหฺมณคหปติเกสุ

คุ้มครองราษฎรชาวพื้นเมืองทั้งหลาย

นิคมชนปเทสุ

คุ้มครองราษฎรชาวพื้นเมืองทั้งหลาย

สมณพฺราหฺมเณสุ

คุ้มครองและสงเคราะห์สมณพราหมณ์

มิคปกฺขีสุ

คุ้มครองเนื้อและนกที่สำหรับเอาไว้ขยายพันธุ์

อธมฺมการปฏิกฺเขโป

ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติอันผิดธรรม

อธนานํ ธนานุปฺปทานํ

เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงผู้ขัดสนยากไร้

สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ

สอบถามปัญหากะสมณพราหมณ์

อธมฺมราคสฺส ปหานํ

เว้นความกำหนัดในกามโดยไม่เป็นธรรม

วิสมโลภสฺส ปหานํ

เว้นโลภกล้าไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร

กัณฑ์ที่ 5 “ราชสังคหวัตถุ 4”

สสฺสเมธ ความฉลาดในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหารและส่งเสริมการเกษตร

ปุริสสเมธ ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ

สมฺมาปาส ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปก่อร่างสร้างตัว

วาจาเปยฺย ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ คือ รู้จักพูดจาปราศรัย ไพเราะ สุภาพ นุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล สมานไมตรี มีประโยชน์ ก่อให้เกิดความสามัคคี ความเข้าใจอันดีต่อกัน และความนิยมเชื่อถือ

พระธรรมเทศนาคอนเสิร์ต ชุดที่ 9

“โคราชพัฒนา” มี 5 กัณฑ์

กัณฑ์ที่ 1 “ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ9)”

อาหารดี

มีที่อยู่อาศัย

ศึกษาอนามัยถ้วนทั่ว

ครอบครัวปลอดภัย

ได้ผลผลิตดี

มีลูกไม่มาก

อยากร่วมพัฒนา

พาสู่คุณธรรม

บำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม

กัณฑ์ที่ 2 “ปิดประตูเสื่อม”

1.หมั่นประชุมหารือกันเนืองนิตย์

2.พร้อมเพรียงกันทำกิจไม่เกี่ยงหนี

3.เคารพกฎประจำทำให้ดี

4.ประธานมีฟังท่านงานดำเนิน

5.ทั้งเล็กใหญ่ยกย่องกันไม่หยันหยาม

6.สิ่งดีงามดำรงอยู่ชูสรรเสริญ

7.น้อมรับผู้ทรงธรรมไม่ก้ำเกิน ชาติจำเริญศาสน์เรืองรุ่งพวยพุ่งเอย

กัณฑ์ที่ 3 “ผี 6 ผี”

ผีที่หนึ่ง ชอบสุราเป็นอาจิณ ไม่ชอบกินข้าวปลาและอาหาร

ผีที่สอง ชอบเที่ยวยามวิกาล ไม่รักบ้านรักลูกและเมียตน

ผีที่สาม ชอบดูการละเล่น ไม่ละเว้นบาร์คลับละครโขน

ผีที่สี่ คบคนชั่วมั่วกับโจร หนีไม่พ้นอาญาตราแผ่นดิน

ผีที่ห้า ชอบเล่นม้าพาชีกีฬาบัตร สารพัดทั่วไปไฮโลสิ้น

ผีที่หก เกียจคร้านการทำกิน มีทั้งสิ้นหกผีอัปรีย์เอย

กัณฑ์ที่ 4 “ทางแห่งความฉิบหาย 6”

ทางแห่งความเสื่อมฝ่ายเดียว ทางแห่งความฉิบหายฝ่ายเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสใจความไว้กะพราหมณ์ผู้หนึ่งว่า

1.การนอนตื่นสาย

2.ขี้เกียจทำการงาน

3.เป็นนักเลงดุร้าย

4.นอนขี้เซา

5.เดินทางเปลี่ยวคนเดียว

6.คบชู้กับคู่ครองคนอื่น

ลองประพฤติดูเถิดพราหมณ์เอ๋ย ความฉิบหายจะเกิดขึ้นแก่ท่านอย่างแน่นอน

กัณฑ์ที่ 5 “ช่วยกันกำจัดขยะ 5 กอง”

1.ขยะมูลฝอย

2.ขยะสุราเมรัย

3.ขยะบุหรี่กัญชายาเสพติด

4.ขยะการพนัน

5.ขยะการซื้อสิทธิขายเสียง

พระธรรมเทศนาคอนเสิร์ต ชุดที่ 10

มี 5 กัณฑ์

กัณฑ์ที่ 1 “ลำดับชีวิต”

นอนแบเบาะ

เกาะเขากิน

บินเองได้

ให้เขาพึ่ง

ซึ้งในธรรม

กัณฑ์ที่ 2 “ถ้าไม่ใช่ตาย”

ไปไม่กลับ (กาลเวลา)

หลับไม่ตื่น (คนประมาท)

ฟื้นไม่มี (เจ็บไม่จำ)

หนีไม่พ้น (เวรกรรม)

กัณฑ์ที่ 3 “สัญญาณว่าแก่”

ชอบของขม

ชมเด็กสวย

ช่วยศาสนา

บ้าของเก่า

เล่าความหลัง

กัณฑ์ที่ 4 “ประเภทคน”

หัวไวใจสู้

คอยดูทีท่า

ตั้งหน้ารอดูผล

ยอมทนหัวดื้อ

งอมืองอเท้า

กัณฑ์ที่ 5 “เกิด แก่ เจ็บ ตาย”

เกิด ก็เกิดมาดีนี่คือแน่

แก่ ก็แก่ตามเวลาอายุขัย

เจ็บ ก็เจ็บปวดเพียงแต่ร่างกาย

ตาย ก็ตายไปตามกฎหมดเวรกรรม