posttoday

UNGC Leaders Summit 2021 (ตอนที่ 2) A New Era of Action Start Now

07 มิถุนายน 2564

โดย...ธันยพร กริชติทายาวุธ

*********************************

นับถอยหลัง การประชุมครั้งสำคัญของโลก UNGC Virtual Leaders Summit 2021 ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 15 – 16 มิถุนายน รวมผู้นำระดับโลกกว่า 1,000 คน ร่วมระดมความคิดรับมือกับความท้าทายของวิกฤตโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็ว พร้อมผนึกกำลังปรับเป้าหมายทางธุรกิจ และลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อโลกที่ยั่งยืนไปด้วยกัน  ซึ่งปีนี้พิเศษกว่าทุกปี เพราะระดับผู้นำความยั่งยืนของไทย ได้รับเกียรติให้ร่วมเสวนาในเวทีระดับโลก ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ

พิธีเปิดการประชุม จะมีขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เวลา 18:50 น. (เวลาประเทศไทย) เวลา 22:00 – 22:50 น. (ตามเวลาประเทศไทย) พบกับ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย และประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์  ในหัวข้อ Light the Way to Glasgow and Net Zero: Credible Climate Action for a 1.5C World

UNGC Leaders Summit 2021 (ตอนที่ 2) A New Era of Action Start Now

วันรุ่งขึ้น 16 มิถุนายน 2564 เวลา 9:00 – 9:50 น. (เวลาประเทศไทย) สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงานในหัวข้อ การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: ยกระดับแนวทางธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก A New Era of Action. Accelerate Climate Action: Raising Business Pathway to Decarbonization พบตัวแทนสมาชิกเครือข่ายฯ จาก 2 องค์กรชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) คุณเกียรติชายไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 

ในเวลา 12:00-13:00 น (เวลาประเทศไทย) โกลบอลคอมแพ็กไทย  อินโดนีเซีย สิงคโปร์  มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงาน ในหัวข้อ SDG Ambition: Mobilizing Ambitions Corporate Actions Towards the Global Goals พบกับตัวแทนสมาชิกเครือข่ายฯ  คุณเรน ฮวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) ที่จะมาแชร์วิสัยทัศน์และการบูรณาการเป้าหมายความยั่งยืนระดับโลกเข้าสู่กลยุทธ์ของธุรกิจ  ในฐานะบริษัทในอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร ที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์หลักในการส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารสู่ผู้บริโภคทั่วโลก ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืนตั้งแต่กระบวนการปลูกจนถึงมือผู้บริโภค (Create innovation and sustainability from Farm to Shelf)

โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกด้านของห่วงโซ่คุณค่า  (Value Chain) ตั้งแต่กระบวนการปลูก การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต และการจัดส่งสินค้า  ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้ 3 จุดมุ่งหมาย คือ แหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืน ช่วยพัฒนาชุมชนที่ให้ชีวิตมีสุขภาพดีขึ้น รวมถึงการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยกระดับคุณภาพชีวิตผู้บริโภคและนำไปสู่อนาคตที่มีสุขภาพดีขึ้น ผ่าน 4 กลยุทธ์หลัก คือการพนักงานเกษตรกร การพัฒนาโรงงานและชุมชนสีเขียว การพัฒนาชีวิตครอบครัวพนักงาน และการวิจัยอาหารออร์แกนิคและอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของภาคธุรกิจที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) จำนวน 12 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมาย ได้อย่างสอดคล้องกับขีดความสามารถและศักยภาพของบริษัทฯ

ในเวทีเดียวกันนี้ ยังมีผู้นำธุรกิจจากประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเชีย และฟิลิปปินส์ ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ในบริบทประเทศของตน และร่วมหารือถึงความร่วมมือระดับอาเซียนในโครงการ SDG Ambition Accelerator เพื่อเรียกร้องและสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจปรับการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs: Sustainable Development Goals)  ภายในปี 2573 ด้วย

โครงการ SDG Ambition Accelerator  ซึ่งได้รับการหยิบยกให้เป็นโครงการความร่วมมือในระดับอาเซียนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม  SDG Ambition โดย UN Global Compact ที่ต้องการเร่งความเร็วและสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ กำหนดเป้าหมายองค์กรที่ทะเยอทะยานยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุ SDGs ภายในปี 2030  จากที่พบว่ามีเพียง 39% ของบริษัทในเครือข่ายที่เชื่อมั่นว่ามีเป้าหมายที่ทะเยอทะยานมากเพียงพอ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว  ในขณะที่ทั่วโลกยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมาย อันเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 UN Global Compact จึงเห็นว่า SDG Ambition จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถปลดล็อกข้อจำกัดในการพัฒนาด้วยการค้นพบมูลค่าทางธุรกิจด้วยกลยุทธใหม่ สร้างความยืดหยุ่นและความเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ด้วยการปรับเป้าหมายทางธุรกิจให้มีจุดยืนที่ชัดเจน และแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและครอบคลุมมากขึ้น โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 

ในช่วงบ่ายวันที่ 16 มิถุนายน ยังมีวงเสวนาที่น่าจับตามองอีกวงหนึ่งในเวลา  14:00 – 15:30 น. (เวลาประเทศไทย) ซึ่งผู้นำภาครัฐของไทย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้กล่าวแถลงในหัวข้อสิทธิมนุษยชนและแรงงาน เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี หลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน  

ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมด้านความยั่งยืนครั้งใหญ่ของโลก UN Global Compact Leaders Summit 2021 ซึ่งจะเปิดประชุมทางไกลสร้างเครือข่าย Online Networking ตลอด 26 ชั่วโมง ในวันที่ 15-16 มิถุนายน 2564 นี้ สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้า ได้ที่ https://globalcompact-th.com/UNGCLeadersSummit2021