posttoday

เอเซีย พลัส ชี้วิกฤติตลาดเงินไปต่อ แบงก์ชาติทั่วโลกขึ้นดอกเบี้ยแรงทำป่วน

16 มีนาคม 2566

นักวิเคราะห์จากบล. เอเซีย พลัส ชี้ว่า วิกฤติตลาดเงินยังผันผวนไม่จบง่าย รับผลนโยบายดอกเบี้ยขึ้นแรงของแแบงก์ชาติทั่วโลก ทำต้นทุนสูง แถมมีปัญหาสภาพคล่องซ้ำเติม เชื่ออีกหลายประเทศจะขึ้นดอกเบี้ยอีก

ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินในสหรัฐฯ - ยุโรป ยังมีสัญญาณของการขยายวงต่อ โดยที่ล่าสุดประเด็นมาอยู่ที่ Credit Suisse ซึ่งราคาหุ้นปรับตัวลดลงแรงจะสร้าง New Low ขณะที่ CDS ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเฉพาะอย่างยิ่งช่วงอายุ 1 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ Saudi National Bank ออกมาแสดงท่าทีว่าจะไม่สนับสนุนทางการเงินไปได้มากกว่านี้

โดย บล. เอเซีย พลัส ประเมินว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับ สถาบันการเงินหลายแห่งในช่วงนี้ เป็นผลมาจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางต่าง ๆ จนไปสร้างแรงกดดันต่อทั้งคุณภาพสินเชื่อของธนาคารและเงินลงทุนในตลาดการเงิน และยังมีโอกาสที่สถานการณ์ดังกล่าวยังดำเนินต่อไป ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ตลาดการเงินอยู่ในความผันผวน แต่ก็ยังมีสัญญาณช่วยพยุงหาก ธนาคารกลางต่างๆ ชะลอ หรือหยุดการปรับขึ้นดอกเบี้ย

เอเซีย พลัส ชี้วิกฤติตลาดเงินไปต่อ แบงก์ชาติทั่วโลกขึ้นดอกเบี้ยแรงทำป่วน

โดย แม้วานนี้ SET Index จะดีดตัวกลับขึ้นมาได้แรง แต่ภาวะผันผวนอันเนื่องมาจากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐ-ยุโรป ก็ยังจะดำเนินต่อไป ประเมินกรอบ 1543 – 1573 จุด Top Pick เลือก AMATA, CRC และ GPSC

ปลายทางของการขึ้นดอกเบี้ย กำลังจะเป็นจุดเริ่มต้นของ RECESSION ?

ปัจจัยเสี่ยงยังคงถาโถมเข้ามาต่อเนื่อง นับตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังสถาบันการเงินสหรัฐฯ 3 แห่ง ต้องปิดตัวลง ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดเริ่มเห็นการลุกลามไปในฝั่งยุโรปมากขึ้น เป็นเพราะ Credit Suisse ธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์มีระดับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาก หลังผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่าง Saudi National Bank (SNB) ได้ออกมาประกาศว่าไม่สามารถให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนเพิ่มได้แล้ว

เนื่องจากถือหุ้นมากกว่า 10% แล้วหากเพิ่มทุนเข้าไปจะเป็นการผิดกฎระเบียบธนาคาร ทำให้ค่าประกันหนี้เสีย Credit Default Swap (CDS) อายุ 1 ปี (ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3,701 จุด พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์) มากกว่าอายุ 2 ปี-10 ปี สะท้อนความกังวลว่าธนาคารจะเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ภายปีนี้

ผลกระทบในภาคธนาคารที่ต้องแบกรับต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนคุณภาพของสินเชื่อลดลง ขณะที่ตลาดการเงินขาดสภาพคล่อง ทำให้มีความสุ่มเสี่ยงต่อดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการการดำเนินนโยบายการเงินเชิงรุกของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมา (Fed +4.25%, BoE +3.25%, ECB+2.5%) ขณะที่ในปี 2566 เริ่มเห็นปลายทางของการปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังอัตราเงินเฟ้อทยอยลดลงเรื่อย ๆ บวกกับความเสี่ยงในภาคธนาคารอาจส่งผลกระต่อเศรษฐกิจใน


ภาพรวมหากธนาคารกลางไม่ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

  • ยุโรป ซึ่งจะมีในวันนี้ เวลา 20.15 น. ตลาดคาดว่า ECB จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% - 0.5% เป็น 3.25% - 3.5% อีกทั้งยุโรปยังมีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยค่อนข้างมาก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง
  • สหรัฐฯ ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 22 มี.ค. ตลาดให้น้ำหนักราว 54.6% ที่ Fedจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็นมีความเป็นไปได้ถึง 45.4% ที Fed จะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย

สำหรับระดับความกลัวที่เพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นเกิดการ Panic Sell ออกมาอีกหนึ่งระลอก เฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งยุโรปที่ร่วงลงแรงกว่า -3.3% ถึง -3.8% ส่วนฝั่งสหรัฐฯ ค่อนข้างผันผวนปิดตัวราว+0.05% ถึง -1.74% ทำให้เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น สะท้อนจาก Dollar Index ดีดตัวแข็งค่าแรงกว่า 1.1% ประกอบกับ Bond Yield สหรัฐ 2 ปี และ 10 ปี ร่วงลงมาแรง

และยังเห็นสัญญานการเกิดเศรษฐกิจ Recession ต่อเนื่อง จากตัวเลข Inverted Yield Curve ระหว่าง Bond Yield 10 – 2 ปี ที่ยังคงติดลบ 0.43% ทั้งนี้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น คาดว่าจะเป็น Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้นไทย
ในช่วงนี้เช่นกัน

สรุป ผลลัพธ์ของการดำเนินนโยบายการเงินเชิงงรุกของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคธนาคารกำลังประสบปัญหาทั้งต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วกระทบคุณภาพของสินเชื่อลดลด ขณะที่มูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่ลดลงทุน ด้อยค่า ตามมาด้วยการเกิดเป็นความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ทำให้ยกระดับความกังวล เรื่องเศรษฐกิจถดถอย กดดันให้ตลาดการเงินผันผวนต่อเนื่อง ขณะที่ปี 2566 เริ่มเห็น ปลายทางของการปรับขึ้นดอกเบี้ยในหลายประเทศมากขึ้น