posttoday

ลิสซิ่งพ้อหลังเพดานดอกเบี้ย23%กดสเปรดหด10%ต้องชะลอผ่อนมอเตอร์ไซค์

24 ธันวาคม 2566

สมาคมลิสซิ่งจักรยานยนต์กางตัวเลขสเปรดหด 10% หลังสคบ.กำหนดเพดานดอกเบี้ยผ่อนมอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 23% ส่งผลอนุมัติฝืดและเข้มงวดกว่าเดิม จนยอดสินเชื่อใหม่ลดลง 10-15% กันหนี้เสียพุ่ง แถมเจอชิงเค้ก 16% จากเจ้าหนี้ที่มองไม่เห็น ทำปล่อยกู้ลดลงสวนทางยอดขาย

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ด้วยกำหนดเพดานดอกเบี้ยจากเดิมเฉลี่ยประมาณ 30% ลดลงมาเหลือไม่เกิน 23% ต่อปีสำหรับรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 23% ตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ได้ส่งผลให้ผู้ประกบอการมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (สเปรด) ลดลงราว 10% โดยเฉลี่ย อีกทั้งเมื่อรวมกับต้นทุนทางการเงินที่ 5-7% และต้นทุนในการดำเนิสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทยนงานที่ราว 8% จึงส่งผลให้มีตัวเลขกำไรอยู่ที่ประมาณ 8% 

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ด้วยกำหนดเพดานดอกเบี้ยจากเดิมเฉลี่ยประมาณ 30% ลดลงมาเหลือไม่เกิน 23% ต่อปีสำหรับรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 23% ตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ได้ส่งผลให้ผู้ประกบอการมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (สเปรด) ลดลงราว 10% โดยเฉลี่ย อีกทั้งเมื่อรวมกับต้นทุนทางการเงินที่ 5-7% และต้นทุนในการดำเนิสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทยนงานที่ราว 8% จึงส่งผลให้มีตัวเลขกำไรอยู่ที่ประมาณ 1-2% 

ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว ล่าสุดรายงานข่าวจากสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทยระบุว่าจึงจำเป็นต้องมีความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงต่างชะลอการปล่อยสินเชื่อลง จนยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ลดลง 10-15% จากปกติที่เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 8 หมื่นล้านบาท พื่อลดความเสี่ยงที่จะมีภาระหนี้เสียในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีตัวเลข NPL เฉลี่ยอยูที่ 5-7% ของยอดลิสซิ่งจักรยานยนต์รวม อย่างไรก็ตามคาดว่าตัวเลข NPL น่าจะต่ำลงจากที่บริษัทลิสซิ่งจักรยานยนต์ชะลอการอนุมัติสินเชื่อลง

"จริง ๆ ตัวเลขเพดานดอกเบี้ยที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ 26-28% ตามที่ทางแบงก์ชาติเคยเสนอ ซึ่งตอนนี้เมื่อหักต้นทุนการเงินและต้นทุนดำเนินธุรกิจแล้วเราเหลือกำไรบางมากเพียง 1-2% เท่านั้น หากปล่อยกู้ไม่ระวังแล้วหนี้เสียสูงจะยิ่งแย่กว่านี้" ตัวแทนจากสมาคมฯ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 ปีที่เริ่มใช้เกณฑ์เพดานดอกเบี้ยใหม่นั้น พบว่าสถานการณ์ที่ตัวเลขปล่อยสินเชื่อผ่อนมอเตอร์ไซค์ของบรรดาผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ฯ ลดลงสวนทางกับยอดขายรถที่เติบโตขึ้น 5% ก็เป็นอีกปัจจัยที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากตัวเลขปล่อยสินเชื่่อลิสซิ่งมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันหายไปถึง 16% เมื่อเทียบกับยอดขายรถที่ 1.8 ล้านคัน 

ทั้งนี้โดยเฉลี่ยในภาวะปกติจะต้องมียอดปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ราว 8 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อตรวจสอบจากสมาชิกของสมาคมฯ แล้วพบว่าแทบทั้งหมดต่างอนุมัติเงินกู้ใหม่ลดลง แต่ไม่สามารถระบุหรือหาที่มาของแหล่งเงินได้ว่าใครเป็นผู้ให้กู้ในส่วนต่างที่หายไป 16% ได้ ทั้งนี้อาจมีความเป็นไปได้ทั้งการที่่ลูกค้าไปเลือกขอสินเชื่อจากแหล่งอื่น เช่น Digital Lending หรืออาจจะเป็นช่องทางหนี้นอกระบบ ก็ตาม

นอกจากนี้ทางสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทยยังเปิดเผยความคืบหน้าของการผลักดันเพื่อเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าขณะนี้ยังอยู่ระหว่างส่งร่าง พ.ร.ฎ ให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแต่ยังไม่มีผลที่ชัดเจนออกมา แต่คาดว่าจะเริ่มเห็นภายในไตรมาส 2 ของปี 2567 ซึ่งทางสมาคมฯ มองว่าหากได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธปท. ก็จะทำให้การดำเนินธุรกิจและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการธุรกิจเช่าซื้อเป็นมาตรฐานเดียวกับ และจะได้ยังเป็นการสร้างแนวทางการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบด้วย

"ในปีหน้าเรื่องที่สำคัญสุด คือความชัดเจนในการเข้าไปอยู่ใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ หวังว่าเร็วสุดน่าจะเกิดขึ้นภายในไตรมาสสองของปีหน้าแต่ก็อาจะลากยาวไปถึงไตรมาส 3 ได้ ซึ่งถ้ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงคงต้องเข้มงวดเรื่องการอนุมัติสนเชื่อแบบนี้ไปก่อน" หนึ่งในตัวแทนของสมาคมฯ เปิดเผย