posttoday

ปมสงคราม อิสราเอล – ปาเลสไตน์ ไม่กระทบส่งออกไทย เหตุไม่ใช่คู่ค้าหลัก

11 ตุลาคม 2566

พาณิชย์ ประเมินเหตุการณ์สู้รบในอิสราเอล-ปาเลสไตน์ยังอยู่ในพื้นที่จำกัด ไม่กระทบส่งออกไทยไปยังประเทศคู่ขัดแย้ง แม้เกิดกรณีปิดประเทศ ก็ไม่กระทบต่อการส่งออกรวม เนื่องจากมีมูลค่าการค้าระหว่างกันน้อย แต่หากปัญหาขยายวงกว้าง อาจฉุดการค้าไปยังตะวันออกกลางชะลอลง

กระทรวงพาณิชย์ รายงานถึงผลกระทบจากความไม่สงบในอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ต่อเศรษฐกิจการค้าของไทย จากการประเมินผลกระทบทางตรงต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย กรณีที่สถานการณ์การสู้รบที่อยู่ในพื้นที่จำกัด บริเวณฉนวนกาซา ยังไม่มีการปิดประเทศ หรือปิดกั้นระบบการขนส่งทั้งหมด น่าจะยังไม่กระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ขัดแย้ง (อิสราเอลและปาเลสไตน์) หรือหากกรณีที่ไม่สามารถส่งออกไปได้ ก็จะไม่ได้ส่งผลต่อการส่งออกรวมของไทยมากนัก เนื่องจากอิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่ใช่คู่ค้าสำคัญอันดับต้นๆ ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณการค้าต่างประเทศของไทยยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ จึงเชื่อว่าสงครามดังกล่าวจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศในภาพรวมของไทยมากนัก


สำหรับ การค้าระหว่างไทยกับอิสราเอล ปี 2565 มูลค่าการค้ารวมไทยกับอิสราเอล อิสราเอลเป็นคู่ค้าลำดับที่ 42 ของไทย การค้าระหว่างไทย – อิสราเอลมีมูลค่า 1,401.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว10.0% หรือ 49,182 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% ของการค้ารวมของไทยเท่านั้น ขณะที่ การส่งออกของไทยไปอิสราเอล อิสราเอลเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 38 ของไทย มีมูลค่า 850.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2.9% หรือ 29,728 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.3% ของการส่งออกของรวมของไทย โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สัดส่วน 28.6% อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 9.6% อัญมณีและเครื่องประดับ 9.6% ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 4.1% ข้าว 3.8% เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3.0% ผลิตภัณฑ์ยาง 3.0% เม็ดพลาสติก 2.5% ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 2.4% เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 2.2% เป็นต้น

 

การนำเข้าของไทยจากอิสราเอล อิสราเอลเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 45 ของไทย มีมูลค่า 551.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 22.9% หรือ 19,455 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.2% ของการนำเข้ารวมของไทย โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยและอัญมณี สัดส่วน 26.1% ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 15.5% เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 10.3% เคมีภัณฑ์ 6.2% เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 5.6% ยุทธปัจจัย 5.3% เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ 5.3% แผงวงจรไฟฟ้า 4.9% ผัก/ผลไม้และของปรุงแต่ง 4.0% ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก 2.1% เป็นต้น


ขณะที่ การค้าระหว่างไทยกับปาเลสไตน์ ใน ปี 2565 มูลค่าการค้ารวมไทยกับปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์เป็นคู่ค้าลำดับที่ 186 ของไทย การค้าระหว่างไทย – ปาเลสไตน์ มีมูลค่า 5.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (ขยายตัว113.3% หรือ 134.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.001% ของการค้ารวมของไทย 

 

การส่งออกของไทยไปปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์เป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 169 ของไทย มีมูลค่า 5.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 178.3 ล้านบาท (ขยายตัวร้อยละ 113.3) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.002 ของการส่งออกรวมของไทย โดยมีสินค้าส่งออก อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (สัดส่วน 62.8%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (33.7%) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (2.1%) และเครื่องดื่ม (1.4%) เป็นต้น

 

การนำเข้าของไทยจากปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์เป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 233 ของไทย โดยมีมูลค่านำเข้าน้อยมากเพียง 1,316 เหรียญสหรัฐ ขยายตัว 408.1% หรือ 44,157 บาท โดยมีสินค้านำเข้า อาทิ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ สัดส่วน 56.9% เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 22.1% และนาฬิกาและส่วนประกอบ 21.0%

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าว ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเส้นทางที่มีสงคราม ผลกระทบที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในพื้นที่ภัยสงครามในเชิงเศรษฐกิจการค้า เช่น ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและค่าประกันภัยในเส้นทางที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติอาจปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งความล่าช้าในการขนส่ง ทั้งนี้ อาจต้องติดตามสถานการณ์ท่าเรือนำเข้าที่สำคัญของอิสราเอลอย่างท่าเรือ Haifa ท่าเรือ Ashdod หากเกิดกรณีที่มีการยกระดับความขัดแย้งขึ้น เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต่อไป    
    
ผลกระทบทางอ้อม
1) ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก 


2) ผลกระทบต่อการค้ากับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 

 

ผลกระทบต่อไทย 
การส่งออก หากสถานการณ์ลุกลามจนเกิดภาวะ shock ขึ้นในภูมิภาค เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2554 – 2556 เหตุการณ์ “Arab Spring” ที่เกิดจากการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลในตะวันออกกลาง และได้ลุกลามขยายวงกว้างสร้างความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในอียิปต์ ลิเบีย เยเมน และบาห์เรน ทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบโลกให้พุ่งขึ้นเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กระทบต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นทางการค้ากับตะวันออกกลาง และทำให้การส่งออกของไทยไปยังภูมิภาคดังกล่าวขยายตัวชะลอลง โดยการส่งออกไปตะวันออกกลางในช่วง Arab Spring ปี 2554 มีมูลค่า 10,772 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11.4%  ปี 2555 มีมูลค่า 11,448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 6.3%  ปี 2566 มีมูลค่า 11,516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 0.6%

 

การนำเข้า กรณีที่สถานการณ์ยังอยู่ในวงจำกัด ไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงต่ออุปทานน้ำมัน เพราะไม่ได้มีการนำเข้าน้ำมันจากอิสราเอลหรือปาเลสไตน์ และมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากหลากหลายแหล่ง แต่หากสถานการณ์ขยายขอบเขตสู่ระดับภูมิภาคจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยค่อนข้างมาก เนื่องจากภูมิภาคตะวันออกกลางคือแหล่งนำเข้าสินค้าพลังงาน คือ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ ที่สำคัญของไทย โดยไทยนำเข้าสินค้าพลังงานจากตะวันออกกลางคิดเป็นสัดส่วน 52.3% ของการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวทั้งหมดของไทย

3. ผลกระทบต่อบรรยากาศการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

 

4. ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลมายังไทย

 

5. ผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนไทยในอิสราเอล 

 

สุดท้ายนี้ ทางออกทางการทูตมีความจำเป็นเร่งด่วนต่อสถานการณ์นี้ คือ ประชาคมโลกจะต้องร่วมมือกันไกล่เกลี่ย และกำหนดเส้นทางสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและสันติ เพื่อที่จะลดระดับความรุนแรงของวิกฤตและแสวงหาสันติภาพร่วมกันของประชาคมโลก บทเรียนของสงครามรัสเซีย-ยูเครน สะท้อนให้เห็นว่าความเสี่ยงที่วิกฤตจะยืดเยื้อยาวนาน จากรากฐานของปัญหาเกิดจาก ข้อพิพาทเรื่องอาณาเขตที่ดินและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่มีร่วมกันทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และความขัดแย้งได้บานปลายไปสู่การเผชิญหน้าทางทหารอย่างเต็มรูปแบบ จะก่อให้เกิดผลกระทบกระจายวงกว้างไปทั่วโลก