posttoday

นายกฯ เคาะตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท

05 ตุลาคม 2566

"เศรษฐา" นั่งหัวโต๊ะประชุมบอร์ดโครงการเติมเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ผ่าน Digital Wallet นัดแรก เดินหน้าตั้งคณะอนุกรรมการเร่งขับเคลื่อนนโยบายแจกเงิน ย้ำดำเนินงานรอบคอบ เป็นไปตามกรอบวินัยการเงิน การคลัง และกฎหมาย

วันนี้ (5 ต.ค. 66) เวลา 13.00 น. ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ร่วมกับรัฐมนตรี คณะกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง หลังคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ

 

โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ได้แถลงนโยบาย Digital Wallet ต่อรัฐสภา ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานที่ประชุมคณะกรรมการในวันนี้ จะได้ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนโครงการให้สำเร็จ ขอให้ทุกคนร่วมกันดำเนินงานอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินและการคลัง และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ซึ่งทุกคนในที่นี้มาจากทุกภาคส่วน เป็นผู้ที่ถูกคัดสรรมาแล้วว่าจะเป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น (Active Participant) ได้ในโครงการนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดคุยในวงกว้าง เป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้เห็นว่าจำเป็นต้องทำ ทุกคนในที่นี้เป็นตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิ จึงอยากให้มีการเสนอข้อเสนอแนะ นำมาถกกันให้ดี ให้ละเอียด เพื่อหาสรุปในที่ประชุมนี้ให้ได้ อะไรที่ไม่ได้ถก ไม่ได้พูดกัน หรือมีข้อตกลงที่ขัดแย้งกัน ขอให้พูดคุยกันในคณะกรรมการ เพื่อจะหาทางออกที่สมบูรณ์ให้ได้ อย่าให้สาธารณชนมีความสับสน เพราะนโยบายนี้เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล นายกฯ ในฐานะประธานกรรมการมีความตั้งใจ โดยเมื่อมีข้อสรุปแล้วขอให้คณะกรรมการพิจารณานำไปปรับใช้ให้เหมาะสม เพราะนโยบายนี้จะช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติและประชาชนอย่างมหาศาล ส่วนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่อง Position ต่าง ๆ นายกฯ ยินดีรับฟังความคิดเห็น เพราะอยากทำให้นโยบายนี้เกิดขึ้นได้จริง 

 

" ในที่ประชุมได้มีการหารือเพื่อให้มีการกำหนดกรอบการดำเนินโครงการฯ ในหลายประเด็น เช่น ขอบเขตโครงการ แหล่งเงินการดำเนินโครงการ ระยะเวลาการดำเนินโครงการ การจัดการข้อมูลภายใต้โครงการ เป็นต้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่า การดำเนินการโครงการดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ ตลอดจนคำนึงถึงวินัยการเงินการคลัง)นายชัย กล่าว 

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยมี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะอนุกรรมการดังกล่าว เพื่อพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ และเสนอให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาเห็นชอบโดยเร็วต่อไป

 

สำหรับ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการนโยบายคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ประกอบด้วย 
 

กำหนดนโยบายโครงการ วัตถุประสงค์ แนวทาง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ และแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการฯ เพื่อเสนอต่อครม. ,กำกับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินโครงการ ให้เป็นไปตามที่ครม.มีมติเห็นชอบ, กำกับ ติดตาม ขับเคลื่อน และเร่งรัดส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นำนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ บรรลุผลสำเร็จและเป็นไปตามที่ครม.มีมติเห็นชอบ,เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการฯ ,ติดตามและประเมินผลทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการฯ เพื่อรายงานต่อครม. ,รวบรวมและจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการฯ เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่และสร้างการรับรู้ของประชาชน

 

สำหรับ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการนโยบายคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ประกอบด้วย 
 

  • กำหนดแนวทางในการจัดการฐานข้อมูล รวมถึงดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล และเปิดเผยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ,แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือคณะที่ปรึกษา เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
  • เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการ,ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
  • กำหนดนโยบายโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ แนวทางการดำเนินโครงการ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ และแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการฯ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
  • กำกับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินโครงการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
  • กำกับ ติดตาม ขับเคลื่อน และเร่งรัดส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นำนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ บรรลุผลสำเร็จและเป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
  • เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการฯ
  • ติดตามและประเมินผลทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการฯ เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรี
  • รวบรวมและจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการฯ เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่และสร้างการรับรู้ของประชาชน
  • กำหนดแนวทางในการจัดการฐานข้อมูล รวมถึงดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล และเปิดเผยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ
  • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือคณะที่ปรึกษา เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
  • เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการ
  • ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย