posttoday

หอกาค้าไทย ถก รมว.แรงงาน เร่งแก้ปัญหาแรงงานฟื้นฟูเศรษฐกิจ

08 กันยายน 2566

รมว.แรงงาน ถก หอการค้าไทย ถึงสถานการณ์ และปัญหาแรงงานไทย เห็นพ้องปรับขึ้นค่าแรง 600 บาทของรัฐบาล ต้องผ่านกระบวนการไตรภาคีก่อนกำหนดค่าแรงที่เหมาะสม พร้อมเสนอแนวดูแลภาคแรงงานเร่งด่วน เพื่อฟื้้นฟูและขับเศรษฐกิจไทย

วันนี้(8ก.ย66) นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมหารือ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน 


นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ภายหลังการหารือกับหอการค้าฯ ว่า ในวันนี้มาเพื่อเป็นการรับฟังข้อมูล และข้อเสนอแนะด้านแรงงานในไทย เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับและพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็นแรงงานฝีมือที่มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ กระทรวงแรงงาน เห็นด้วยกับข้อเสนอหอการค้าฯ ที่มีการพิจารณาแนวทางการจ้างงานรายชั่วโมงในบางธุรกิจ ที่สามารถดาเนินการได้ การสนับสนุนแรงงานภาคการท่องเที่ยวให้เพียงพอ และสอดคล้องกับการเติบโตของการท่องเที่ยวของประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อนาเงินตราเข้ามาสู่ประเทศ

 

"ส่วนข้อกังวลของภาคเอกชนในฐานะนายจ้างต่อเรื่องการขึ้นค่าแรง 600 บาท ภายในปี 2570 ตามนโยบายของรัฐบาล จำเป็นต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกับคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อกำหนดแนวทางความเหมาะสมในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวต่อไป" นายพิพัฒน์ กล่าว

 

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยว่า ที่ผ่านมาภาคแรงงานในไทยเผชิญความท้าทายหลายด้าน ทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมเข้มข้นที่เป็นปัญหามายาวนานและรุนแรงขึ้นในช่วงวิกฤตโควิด 19 รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานไทยในภาคบริการและอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขึ้นสูง ซึ่งยังไม่สอดคล้องกับผลิตภาพของแรงงานไทยที่ยังต้องเร่งยกระดับทักษะและความรู้ให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนทิศทางนโยบายการปรับอัตราตอบแทนค่าจ้างหรือค่าจ้างขั้นต่าของรัฐบาลที่จาเป็นต้องมีการหารือกับภาคเอกชนเพื่อไม่ให้กระทบต่อความสามารถของผู้ประกอบการ และมีความเหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน เหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ภาครัฐและเอกชนจะต้องสร้างความร่วมมือและทางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหารื้อรังที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

 

"ต้องขอขอบคุณ รมว.แรงงานท่านใหม่ ที่ได้ให้ความสาคัญกับปัญหาดังกล่าวและเดินหน้าพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกับหอการค้าฯ ทันทีหลังจากเข้ารับตาแหน่ง เนื่องจากปัญหาด้านแรงงานมีความซับซ้อนและต้องอาศัยหลายหน่วยงานในการบูรณาการการทางานร่วมกันเพื่อให้มาตรการและแนวทางต่าง ๆ ที่ออกมาสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาแรงงานถือเป็นหัวใจสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง" นายสนั่น กล่าว
 

 

ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางการฟื้นตัวจากนโยบายการเปิดประเทศหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ถึงแม้จะกำลังเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการส่งออกสินค้าของไทย แต่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตจากรายได้ ปี 2566 คาดการณ์ว่า จะมีรายได้ 2.38 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจเอกชนยังประสบปัญหาหลายด้าน อาทิ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และมีความต้องการแรงงานจานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ภาคธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และผู้ประกอบการ SMEs เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

 

ทั้งนี้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอนโยบายเร่งด่วนด้านแรงงานของประเทศไทย เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้

 

1. นโยบายการปรับอัตราตอบแทนค่าจ้างหรือค่าจ้างขั้นต่า โดยภาคธุรกิจเอกชนเห็นด้วยกับการปรับอัตราค่าตอบแทนให้เป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้กลไกการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่าจังหวัดและคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) และใช้หลักเกณฑ์การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

 

2.นโยบายแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานไทย ควรกำหนดทิศทางของประเทศไทยในการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจเพื่อผลิตกาลังคนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้ง บรูณาการหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อจัดทาข้อมูลฐานแรงงานของประเทศไทย (Big Data) และสนับสนุนนโยบายกองทุนเพื่อการปรับปรุงเครื่องจักรและองค์ความรู้ (Knowhow) สาหรับผู้ประกอบการ

 

3. นโยบายการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ควรมีการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนงานนำเข้าแรงงานต่างด้าวระยะยาว พร้อมทั้ง จัดระเบียบการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวระบบใหม่ ผ่านศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน (OSS) และลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายการนาเข้าแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น อาทิ ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา VISA แรงงานต่างด้าว และกาหนดค่าธรรมเนียมการจัดหางาน (Recruitment Fee) ให้ชัดเจน เป็นต้น

 

4. นโยบายเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ควรเพิ่มศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมทั้งขยายมาตรฐานฝีมือแรงงาน (จานวน 272 สาขา) และอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (จานวน 129 สาขา) ให้ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ และสอดรับกับอัตราตอบแทนค่าจ้าง และส่งเสริมนโยบาย “คูปองฝึกทักษะ Re-Skill & Up-Skill” เพื่อสามารถไปรับการฝึกทักษะที่ต้องการได้จากผู้ให้บริการฝึกอบรมที่มีคุณภาพ

 

"เป้าหมายที่ภาคเอกชนอยากเห็นจากรัฐบาล ภายใน ปี 2567 คือ การอัดฉีดงบประมาณ และกำลังคนให้กระทรวงแรงงาน , คณะกรรมการไตรภาคี ต้องปรับโครงสร้างและบูรณาการการทำงานที่สร้างสรรค์และพัฒนาแรงงานของประเทศไทย และ ยกระดับงานประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทย"นายพจน์ กล่าว