posttoday

MQDC ตั้งเป้า ไม่ใช่แค่ “Net Zero” ไทยต้องส่งออก “Climate Tech”

31 มีนาคม 2566

MQDC เห็นควรตั้งเป้าไว้ที่ Nature Positive และ Carbon Negative โดยจะไม่พูดถึง Net Zero Carbon แล้ว เพราะหากยังอยู่แค่ Net Zero Carbon หรือ Carbon Neutrality (คาร์บอนเป็นกลาง) โลกนี้พังแน่นอน ไปต่อไม่ได้ เสนอไทยควรส่งออก Climate Tech เพราะคู่แข่งยังน้อยโอกาสเติบโตสูงมาก

MQDC ตั้งเป้า ไม่ใช่แค่ “Net Zero” ไทยต้องส่งออก “Climate Tech”

 

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) กล่าวในเซสชั่น Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว บนเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era โดยกรุงเทพธุรกิจเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566

 

ในฐานะ Academic และผู้ทำวิจัย ตอนนี้เห็นว่า ควรตั้งเป้าไว้ที่ Nature Positive และ Carbon Negative โดยจะไม่พูดถึง Net Zero Carbon แล้ว เพราะหากยังอยู่แค่ Net Zero Carbon หรือ  Carbon Neutrality (คาร์บอนเป็นกลาง) โลกนี้พังแน่นอน ไปต่อไม่ได้ พร้อมเสนอไทยควรส่งออก Climate Tech เพราะคู่แข่งยังน้อยโอกาสเติบโตสูงมาก

 

“และถึงแม้มันจะยาก แต่อีกนิดนึงก็ Negative แล้ว เพราะฉะนั้น ควรตั้งเป้าให้ไกล ให้ยากเข้าไว้ เพื่อที่จะสามารถมองเห็น หรือ ลงทุนใน Technology หรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

 

เพราะถ้าเราไม่ระวัง หรือไม่ทำอะไรเลย เกี่ยวกับ Nature Positive และ Carbon Negative เราจะเหลือเพียงมนุษย์ในโลก สิ่งที่น่ากลัวก็คือในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา สิ่งมีชีวิตในโลก สปีชี่ส์อื่นในโลกไม่รวมมนุษย์ 2 ใน 3 ได้สาบสูญไปแลัว คือไม่กลับมาอีกแล้ว 

 

“เพียงแค่ 50 ปีเท่านั้นเองซึ่งถือเป็นสิ่งน่ากลัวมาก ถ้าเรายังทำแบบเดิมต่อไป Biodiversity หรือ  ความหลากหลายทางชีวภาพคงหมด เป็นศูนย์แน่ คงเหลือแต่มนุษย์อย่างเดียว”

 

ตอนนี้ประชากรโลกที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราไม่สามารถจะทำได้ในระดับเดิม เราจำเป็นต้อง Transform ต้องเปลี่ยน วิธีการทำงาน เปลี่ยนวิธีการคิด คือ สิ่งที่สำคัญมาก 

 

อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทำให้มาพร้อมกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นควบคู่กันไปเลย ถึงแม้เราจะรู้ว่า Global Warming  พวกกรีนเฮาส์แก้สต่างๆ มันมีหลายตัว แต่ตัวหลักๆ ที่มีอยู่ 70% คือคาร์บอนไดออกไซด์ นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราถึงพยายามที่จะเก็บกักคาร์บอนหรือว่าดูดซับคาร์บอน

 

หลายคนอาจจะสงสัยว่า อุณหภูมิโลก 1.5 - 2 หรือ 3 องศา มันต่างกันยังไง ยกซินนาริโอง่ายๆ มาให้เห็น เช่น ถ้ามันเพิ่มขึ้น 1.5 ไฟป่าหรือไฟไหม้ที่มีเยอะอยู่แล้วจะเพิ่มขึ้น 41% และถ้ามันเพิ่มขึ้น 2 องศาก็จะเพิ่มขึ้นถึง 62% แต่ถ้าเพิ่มขึ้น 3 องศา ไม่เหลือเลยครับ ขึ้นมาเท่าตัว ไม่ต้องอยู่แล้วครับ อันที่ 2 น้ำแล้ง ปัจจุบันเรามีอยู่แล้ว 2 เดือน (กับภัยแล้ง) บางที่มากกว่า 2 เดือน แต่ถ้าอุณหภูมิมากขึ้น 2 องศาก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เดือน ที่มากกว่านั้นคือเราอยู่ไม่ได้ 

 

MQDC ตั้งเป้า ไม่ใช่แค่ “Net Zero” ไทยต้องส่งออก “Climate Tech”

 

Carbon Zero มันยากมากๆ

แต่ตอนนี้อุตสาหกรรมต้องตั้งเป้า เพราะจะมีคนปล่อยคาร์บอนและมีคนไปไม่ถึงคาร์บอนซีโร่ มันต้องมีผู้ขับเคลื่อนไปที่ Carbon Negative คือผู้ที่ Remove Carbon หรือเก็บกักคาร์บอนให้ได้ ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกันที่เราต้องทำ:

  1. Measure ต้องวัดให้ได้ว่าตัวเองปล่อยแค่ไหน
  2. Reduce ลดให้ได้ว่าตรงไหน คือ Hot Spot
  3. Remove คือดึงมันกลับออกมา ตอนนี้ใช้ต้นไม้ แต่ในอนาคตก็จะต้องใช้ Climate Tech นั่นคือ Cash Cow (ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง แต่มีอัตราการเติบโตต่ำ) ต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพราะไม่มีทางที่จะทำได้ หรือเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำ Net Zero ได้โดยไม่มีเทคโนโลยีมาช่วย 

 

“การวัด หรือ Measure เสียเงิน แค่ Step นี้ก็ทำให้ทุกคนหยุดแล้ว เพราะเสียเงิน

แต่สองข้อหลังคือ Reduce กับ Remove คือ โอกาส เราตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาส หากเรายอมเสียเงินในขั้นตอนแรกในการวัดคาร์บอน เราสามารถจะตั้งเป้าไว้ได้เลยว่า เราจะลงทุนในเทคโนโลยีแบบไหน เราควรจะทำอะไรก่อน อะไรหลัง”

เทียบตัวอย่าง การพัฒนาโครงการ "เดอะฟอเรสเทียส์" ของ MQDC ซึ่งเป็นบิ๊กโปรเจ็กต์ภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการปลูกป่ามากกว่า 30 ไร่ เพื่อให้เป็นทั้งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และ ดูดซับคาร์บอน ขณะเดียวกัน ได้มีการออกแบบระบบเติมอากาศบริสุทธิ์ (Fresh air) ที่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนอาคาร โดยไม่เพิ่มภาระแก่ระบบปรับอากาศ รวมถึงระบบทำความเย็นรวมศูนย์ (District Cooling System) ปล่อยท่อน้ำเย็นไปจนถึงห้องพักทุกห้องภายในโครงการ ไม่มีการใช้แอร์คอนดิชั่น แต่ส่งน้ำเย็นไปทั่วโครงการ โดยไม่ทำให้เกิดไอร้อน

 

ขณะเดียวกัน โครงการยังให้ความสำคัญ กับ Reduce Construction Impacts and Employ Circular Economy .ที่ระบุไว้ข้างต้นว่า จะนำมาซึ่งโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ เพิ่มรายได้ หรือ ลดต้นทุนได้  โดย ภายในโครงการเดอะฟอเรสเทียส์ นอกจากเน้นการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุคาร์บอนต่ำ หรือ วัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิล แล้ว ยังมีแนวคิดคิดเผื่อ ว่าเมื่อมีการใช้งานเสร็จแล้ว ยังสามารถถอดเอาวัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ไปประกอบขึ้นเป็นอาคารใหม่ได้แทนการทุบทำลายที่ก่อให้เกิดขยะปริมาณมหาศาลอีกด้วย

 

MQDC ตั้งเป้า ไม่ใช่แค่ “Net Zero” ไทยต้องส่งออก “Climate Tech”

 

แต่ละยูนิตลดพลังงานได้มหาศาล 

เช่น ลด Operational  Carbon  หรือ ลด Embodied Carbon เพราะในการผลิตวัสดุต่างๆ ใช้พลังงานมหาศาลที่ทำให้เกิดคาร์บอน การลด Embodied Carbon  หรือ คาร์บอนที่แฝงมาในการผลิตวัสดุ หรือ สินค้าต่างๆ กลายเป็นธุรกิจ กลายเป็น Production Process ที่ใช้ในโครงการในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ เช่น การใช้เศษพลาสติกในการทำพรม 

 

"เทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะเราตั้งเป้าว่า เราจะไปถึง Negative Carbon Direction ถามว่าแพงไหม แพง แต่ภาคธุรกิจเราไม่ขาดทุน เราต้องทำ เพราะถ้าธุรกิขเราต้องอยู่ไปอีกถึง 30 40 50 ปี มันจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก”

 

นี่คือช่วงเวลาการลงทุน เพื่อจะไปต่อ เรารู้ว่าอีก 10-20 ปีข้างหน้า Climate Tech ต้องมา แล้วมีใครผลิตอยู่ปัจจุบัน คำตอบคือแทบไม่มี มีน้อยมาก

 

“นี่คือโอกาสของเมืองไทยครับ ที่จะส่งออก Climate Tech ซึ่งเราต้องลงทุน เพราะฉะนั้นเราจึงเริ่มลงทุนใน Climate Tech ต่างๆ เช่น การดูดซับคาร์บอน

จะรอซื้อจาก สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา หรือ สหภาพยุโรป อยู่หรือ ไม่ครับ เราจะต้องเริ่มเป็นต้นน้ำของเทคโนโลยี ในเมื่อเราลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) มหาศาลแล้ว นี่คือสิ่งที่สำคัญมากในมุมมองขององค์กร"

 

“ทิศทางแห่งอนาคต ในด้านความยั่งยืน มีแต่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา เห็นแบบนี่แล้ว เราจะไม่กระโดดเข้าไปหรือ มันเป็นเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะคู่แข่งยังไม่เยอะ เดต้าหลั่งไหลเข้ามาว่า ภายในปี 2030 รีพลาสติก รีเคมิคัลต่างๆ จะกลายเป็นสิ่งทุกคนต้องการ  และเชื่อมั่นว่าอีก 7 ปี คือ เวลาที่เราจะ leave benefit ได้”

 

ลูกค้าที่เป็น Gen Z หรือ Next Generation 75% จะซื้อสินค้าที่เป็น Sustainable 

นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราเริ่มแคมเปญ Nature Positive และ Carbon Negative