posttoday

“ออมสิน” ชู BCG และ ESG โมเดล ต่อยอดจุดแข็ง SME ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

15 กุมภาพันธ์ 2566

“ออมสิน” ชี้ 5 แนวทาง ผลักดันธุรกิจ SME ไทยให้อยู่รอดได้ ชู BCG และ ESG โมเดล ต่อยอดจุดแข็งธุรกิจ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน แนะปรับตัว รับความเสี่ยงด้านต้นทุน จาก ราคาพลังงาน - ดอกเบี้ย ที่มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น

นายวีระชัย อมรถกลสุเวช รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ กล่าวในงานเสวนา อนาคตประเทศไทย : SME จะไปทางไหน ภายใต้หัวข้อ “เอสเอ็มอี ยุคใหม่ เดินอย่างไร ให้ยั่งยืน” ว่า ธุรกิจ SME แบ่งระยะการเติบโตของ SME เป็น 3 ช่วงเวลา ช่วงเวลาแรก คือ 1.ช่วงอยู่รอด คือ  3 ปี สามารถประคองธุรกิจอยู่ได้ ถือว่ามีสายป่านเพียงพอ ที่สามารถเจริญเติบโตอยู่รอดได้ 2.ช่วงเติบโต คือ ผ่านการอยู่รอดมาได้แล้ว และเข้าสู่ยุคของการเติบโตแล้ว และ 3.ช่วงการเติบโตแบบยังยืน 

 

ซึ่งช่วงที่ 3 นี้ เป็นช่วงที่สำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจ SME ไทยต้องเผชิญปัญหาหลายเรื่อง ซึ่งสิ่งแรกที่ SME ต้องเจอ และเรียนรู้ ซึ่งมองว่าสิ่งสำคัฐที่ SME ต้องปรับตัวและให้ความสำคัญในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน คือ 

 

1.ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคว่าเปลี่ยนไปหรือไม่ เช่น ก่อนสถานการณ์ก่อนเกิดโควิด คนอาจจะมีความระมัดระวังในการจับจ่ายสินค้ามาก เช่น ต้องการเห็นสินค้าจริงๆ แต่ตอนนี้พฤติกรรมเปลี่ยนไปซื้อผ่านออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยไม่ต้องเห็นสินค้าจริง ซึ่งยกตัวอย่างธุรกิจ เห็นถึงการปรับตัวในยุคโควิด เช่น ร้านเพนกวินชาบู น่าจะเป็นเจ้าแรกที่สามารรถสั่งชาบูมากินที่บ้านได้ โดยใช้กลยุทธแถมหม้อชาบู ซึ่งขณะนั้นถือว่าเป็นกระแสมาก เป็นอีกช่องทางที่ทำให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ในช่วงร้านอาหารปิดตัว จะเห็นว่า ในช่วงวิกฤตผู้ประกอบการพัฒนาช่องทางการขายมากขึ้น 

 

2.เร่งปรับตัวเรื่องต้นทุนแรงงาน ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ SME ต้องระมัดระวัง เพราะส่วนใหญ่ SME จะเน้นเรื่องแรงงานค่อนข้างมาก 

 

3.ช่องทางการตลาด ถืออีกปัญหาที่ SME ส่วนใหญ่ต้องเจอ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ที่เก่งผลิต แต่ไม่เก่งเรื่องช่องทางการตลาด แต่ปัจจุบันมีช่องทางตลาดออนไลน์หลากหลายมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการต้องนำมาปรับใช้ให้ได้ นอกจากนี้ อยากฝากให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาเรื่องแพคเกจจิ้ง เพราะจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า และบริการได้มากขึ้นอย่างมาก 

 

4. ให้ความสำคัญกับ BCG และESG โดย BCG มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

 

-B  Bioeconomy คือ การนำทรัพยากรชีวภาพมา ผลิตให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยให้เทคโนโลโยเข้ามาช่วย 

 

-C Circular economy ระเศรษฐกิจหมุนเวียนมีแนวทางคือ การใช้ทรัพยกรให้คุ้มค่าที่สุด ของที่ใช้ในการผลิตต้องสมารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

 

-G Green economy เป็นระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นการสร้างนวตกรรมรวมถึงการจัดการสถาพสังคมให้ กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

 

ส่วน การนำหลักปฏิบัติ ESG หากต้องการดำเนินการได้ตามเป้าหมาย BCG Model ต้องอาศัยการทำธุรกิจที่ประณีตมีสิทธิภาพตามหลัก ESG Model 

 

- E   Environment ธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบและใส่ใจสิ่งแวดล้อม 

 

- S   Sociol  สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้ชุมชนและสังคม       

 

- G  Govermace มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และบริหารงานอย่างซื่อสัตย์โปร่งใส จัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงผู้ส่วนได้เสียตลอดทั้งห่วงโซ่การทำธุรกิจ

 

5. ติดตามและจับกระแสรณรงค์ทางสังคมมาทำการตลาด เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้าและบริการ 
นอกจากนี้ นายวีระชัย ยังมองว่า ความเสี่ยงด้านต้นทุนที่ SME ไทยต้องเผชิญในระยะสั้นขณะนี้ คือ

 

1.ต้นทุนด้านขนส่งจากราคาพลังงาน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปัญหาความขัดแย้ง รัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ซึ่งย้ำว่าผู้ประกอบการต้องเร่งบริหารต้อนทุน และหลีกเลี่ยงการลดราคาสินค้า เพราะการลดราคาหมายถึงการลดกำไร

 

2.ต้นทุนด้านดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตามทิศทางดอกเบี้ยโลก ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนธุรกิจสำคัญ