posttoday

เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ” ทายาทสหฟาร์ม

07 กุมภาพันธ์ 2566

เผยทิศทางธุรกิจหลังออกจากแผนฟื้นฟู เร่งเพิ่มกำลังการผลิต ขยายตลาดต่างประเทศ ปรับปรุงสหฟาร์มซุปเปอร์มาร์เก็ตให้คนไทยเข้าถึงสินค้าเกรดส่งออก พร้อมเปิดบ้านสุขาวดี ขึ้นแท่นสถานที่ท่องเที่ยวดึงต่างชาติสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ

บริษัท สหฟาร์ม จำกัด กลับมาทวงบัลลังก์ตลาดส่งออกไก่สด กับแผนธุรกิจและการลงทุนใหม่ๆ ในรอบ 8 ปี หลังจากที่ สหฟาร์ม เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูช่วงกลางปี 2557 และเพิ่งได้รับการยกเลิกอยู่ในแผนฟิ้นฟูเมื่อ วันที่ 27 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา

 

ตอนที่เราอยู่ในแผนฟื้นฟู เรามีข้อจำกัดในการวางแผนธุรกิจ ไม่สามารถขยายอะไรได้มาก แต่ตอนนี้เรามีอิสระแล้ว สหฟาร์มจะกลับมาทำอะไรใหม่ๆมากขึ้นแน่นอน

 

เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ”  ทายาทสหฟาร์ม

 

จารุวรรณ โชติเทวัญ ประธานสายการตลาดต่างประเทศ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด หนึ่งในทายาท ดร.ปัญญา และ ดร.มนูญศรี โชติเทวัญ ผู้ก่อตั้งบริษัท สหฟาร์มให้สัมภาษณ์ พร้อมกับยืนยัน ว่า เป้าหมายสำคัญของการกลับมาครั้งนี้คือการทวงคืน เบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมส่งออกไก่สด

 

ปัจจุบันสหฟาร์มถือว่าเป็นผู้ส่งออกไก่สดไปต่างประเทศเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยธุรกิจหลักของสหฟาร์มเป็นธุรกิจไก่ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีตั้งแต่ปู่ย่าพันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ โรงฟักไก่เนื้อ โรงงานอาหารสัตว์ไปจนถึงโรงงานแปรรูป และโรงงานอาหารสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก โดยตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ รวมถึงอีกหลายประเทศในยุโรป อาทิ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และอื่น ๆ ซึ่งสินค้าส่งออกหลักเป็นไก่สด ส่วนของไก่ปรุงสุกเป็นการรับจ้างผลิตในแบรนด์ลูกค้า

 

เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ”  ทายาทสหฟาร์ม

 

สำหรับฐานผลิตหลักของบริษัทอยู่ที่จังหวัดลพบุรี และเพชรบูรณ์ ที่เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์มากสุดของประเทศ ขณะที่ฟาร์มเลี้ยงไก่ โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปไก่ และโรงงานอาหารสำเร็จรูปก็ตั้งอยู่ในระแวกนี้ โดย OIE (องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ) ยกย่องให้สหฟาร์มเป็นคอมพาร์ทเมนต์การเลี้ยงไก่ที่ดีที่สุดในโลก จากการมีพื้นที่กว้างขวาง มีการแบ่งเขตกั้นชัดเจน พื้นที่สีเขียว ติดภูเขา ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันโรคได้ดี ทำให้สินค้าไก่ของสหฟาร์มมีความปลอดภัยสูงสุด

 

เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ”  ทายาทสหฟาร์ม
 

 

จารุวรรณ เผยถึงแผนธุรกิจที่สำคัญในปีนี้ว่า แม้จะยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะมีโครงการอะไรบ้าง แต่รับรองได้ว่า แผนที่วางไว้จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น การทยอยเพิ่มกำลังการผลิตอีก 20-30% การขยายธุรกิจและช่องทางการจำหน่ายในบิซิเนสโมเดลที่แปลกใหม่ เป็นต้น

 

เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ”  ทายาทสหฟาร์ม

 

นอกจากไก่ที่เลี้ยงในระบบปิดเพื่อการส่งออกแล้ว สหฟาร์ม  ได้ออกผลิตภัณฑ์ไก่พรีเมี่ยมในแบรนด์  “PAULDY” หรือ พอลดีย์ ที่มีระบบการเลี้ยงไก่อารมณ์ดี ตั้งแต่การคัดไข่ , ลูกเจี๊ยบ ที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงแยกเลี้ยงแบบอารมณ์ดี โดยจัดพื้นที่ในการเลี้ยงไม่แออัด มีสนามเด็กเล่นให้ไก่วิ่งเล่น เปิดเพลงคลาสสิคให้ไก่ฟัง มีขอนไม้ให้เกาะ มีข้าวโพด และฟ้าทะลายโจรให้จิกกิน ทำให้ไก่ไม่เครียด และมีเนื้อสัมผัสที่มีความเป็นกรดยูริกต่ำกว่ามาตรฐานประมาณ 20% 

 

ในช่วงแรก พอลดีย์  เน้นเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายลูกค้าออนไลน์ สอดรับกับสถานการณ์โควิดในช่วงนั้น ซึ่งได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี ปัจจุบันเมื่อประเทศไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สหฟาร์ม จึงนำ พอลดีย์  จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ 

 

ไม่เพียงตลาดในประเทศ พอลดีย์ จะบุกตลาดในต่างประเทศด้วยแน่นอน เริ่มประเทศในแถบเอเชียก่อน

 

อีกไฮไลท์หนึ่งที่ลืมไม่ได้ และ ถือ เป็นเอกลักษณ์ของ สหฟาร์ม คือ บ้านสุขาวดี ที่เคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับท็อปของพัทยา เคยมีนักท่องเที่ยวจีน รัสเซีย และจากประเทศอื่น ๆ ซื้อแพ็กเกจเข้ามาเที่ยวชม มาดูการแสดงโชว์ และทานอาหารเป็นหมื่นคนต่อวันแต่ต้องปิดไปช่วงสถานการณ์โควิดจากไทยขณะนี้บ้านสุขาวดีได้กลับมาเปิดเพื่อรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง ในส่วนของคนไทยสามารถเข้าชมฟรีตลอดเดือนกุมภาพันธ์นี้

 

เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ”  ทายาทสหฟาร์ม เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ”  ทายาทสหฟาร์ม เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ”  ทายาทสหฟาร์ม

 

นอกจากนี้บริษัทยังได้ รีโนเวทสหฟาร์มซูเปอร์มาร์เก็ตที่สำนักงานใหญ่ (รามอินทรา กม.8) เพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น และจะมีการจัดโปรโมชั่นในแบบฉบับของตนเองให้ลูกค้า เช่น ไข้พะโล้ 4 ฟอง 10 บาท ซึ่งซูเปอร์มาร์เก็ตของสหฟาร์มมีที่เดียวในโลก ที่เป็นทั้งโชว์รูมให้เห็นถึงสินค้าที่ขายไปต่างประเทศ รวมถึงมีการขายส่งและขายปลีกในประเทศ คนไทยจะได้บริโภคสินค้าเกรดเดียวกับสินค้าส่งออก และอนาคตอาจจะมีโมเดลเปิดโอกาสให้คนไทยได้เป็นเจ้าของธุรกิจหรือไม่ ต้องรอลุ้นกันอีกที

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปีที่ผ่านมา สหฟาร์ม เผชิญกับความท้าทายจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดแคลนและปรับราคาขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ แต่สหฟาร์มก็สามารถผ่านอุปสรรคดังกล่าวมาได้ เพราะสหฟาร์มไม่มีการนำเข้าข้าวโพดหรือวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวสาลี เข้ามาทดแทน แต่จะใช้วิธีบริหารจัดการลดต้นทุนด้านอื่นเพื่อให้มีต้นทุนเท่าเดิม และยังคงขายสินค้าราคาเดิม รวมถึงใช้เทคนิคการเลี้ยงเพื่อให้ได้เนื้อไก่ที่มากในต้นทุนที่ต่ำ 

 

ตรงนี้เป็นเคล็ดลับที่ไม่สามารถบอกได้

 

เปิดใจหญิงเก่ง “จารุวรรณ โชติเทวัญ”  ทายาทสหฟาร์ม

 

จารุวรรณ กล่าวว่า การนำพา สหฟาร์ม กลับมายืนหนึ่งเรื่องไก่อีกครั้งไม่ใช่ตนคนเดียวที่จะทำได้ แต่เป็นหน้าที่ของคนในตระกูล “โชติเทวัญ” ทุกคนที่จะต้องช่วยกันผลักดัน