posttoday

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ห่วงราคาสินค้าเกษตรตก-ต้นทุนสูง ฉุดรายได้

04 ธันวาคม 2565

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้สินค้าเกษตร ปี 2556 ต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอลง และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หวั่นฉุดรายได้เกษตรกรตำต่ำ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ภาพรวมในปี 2566 รายได้เกษตรกรสุทธิในปี 2566 น่าจะเผชิญความท้าทายมากขึ้น ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทสินค้าเกษตร เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงชะลอลง จะเป็นปัจจัยฉุดรั้งความต้องการสินค้าเกษตรและกดดันราคา โดยเฉพาะความไม่แน่นอนในคำสั่งซื้อจากจีน ทั้งนี้จึง คาดว่า รายได้เกษตรกรในปี 2566 อาจหดตัวอยู่ที่ราวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่น่าจะขยายตัว 13.5% โดยในช่วงของปี 2565 รายได้เกษตรขยายตัว 16% จากปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอ โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลังของไทยอย่าง จีน ขณะที่ต้นทุนการผลิตอย่างราคาน้ำมันและราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลก แม้คาดว่าจะย่อลงจากปี 2565 แต่ยังคงอยู่บนฐานสูง ซึ่งทำให้กดดันราคาให้ปรับลดลงราว 1.0% เมื่อเทียบกับปีก่อน 

สำหรับ กลุ่มสินค้าเกษตรที่มีความท้าทายสูง คือ ยางพารา และทุเรียน จากความต้องการที่ชะลอตัวและการพึ่งพาตลาดจีนค่อนข้างสูง ส่วนกลุ่มที่ประคองตัวได้ คือ ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากแรงหนุนความต้องการของตลาดในประเทศ ขณะที่อ้อย ยังมีประเด็นที่ต้องติดตาม และกลุ่มที่เผชิญความท้าทายน้อย คือ ข้าว และมันสำปะหลัง ที่มีราคาอยู่ในเกณฑ์ดีตามอุปสงค์ที่มีรองรับทั้งในและต่างประเทศ แต่ต้องจับตาอิทธิพลของลานีญา  ขณะที่กลุ่มที่มีความท้าทายน้อย คือ ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้รายได้สุทธิค่อนข้างดี มีอุปสงค์รองรับทั้งในและต่างประเทศ แต่คงต้องเผชิญกับต้นทุนปุ๋ยที่สูงและอิทธพลของลานีญาที่มีผลกระทบต่อการเพาะปลูก

อย่างไรก็ตามคงต้องจับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจีน จีน โดยเฉพาะ Dynamic Zero-COVID Policy หลังเดือนมีนาคม 2566 ที่ปัจจุบันมีความผ่อนคลายมาตรการกันตัว ตรวจเชื้อต่างๆ ก็อาจทำให้ความต้องการสินค้าจากจีนฟื้นตัวได้ นอกจากนี้ต้องติดตามประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลก ทั้งเหตุการณ์ในยูเครน และพื้นที่อื่นๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง ซึ่งอาจมีผลต่อสมดุลอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรทั่วโลก และท้ายที่สุดจะกระทบมายังรายได้เกษตรกรสุทธิของไทย

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือจากภาครัฐในปี 2566 ที่รายได้เกษตรกรสุทธิมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงแตกต่างกันนั้น คงต้องพิจารณามาตรการที่เฉพาะเจาะจงในสินค้าเกษตรแต่ละชนิด โดยอาจเน้นให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เปราะบางสูงมากขึ้น รวมทั้งช่วยกระตุ้นความต้องการในประเทศต่อสินค้าเกษตรต่างๆเพื่อประครองราคา เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีการเยียวยากเกษตรกรในกรณีเกิดภัยพิบัตร เช่น สนับสนุนเงิน หรือปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี ที่จะช่วยหนุนราคาสินค้าและรายได้เกษตรกรไม่ให้เผชิญความลำบากมากนัก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย