posttoday

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

05 มกราคม 2565

คุณค่าการนำสิ่งของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycling) นับเป็นอีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ที่ บริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับโลก ตระหนักถึงความสำคัญมาโดยตลอด ด้วยมุ่งหวังให้การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนของโลกเกิดประโยชน์สูงสุด

โดยกิจกรรมสำคัญที่ GC ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่2 คือโครงการ Upcycling Upstyling ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “Home & Living” อีกกลยุทธ์สำคัญที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายในประเทศ ด้วยวิธีการ Collaboration การทำงานร่วมกันตลอดกระบวนการระหว่าง แบรนด์ผลิตภัณฑ์ (Owner) นักออกแบบ (Designer) และ ผู้พัฒนาวัสดุรีไซเคิล (Converter) ถ่ายทอดสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆภายในที่พักอาศัย ได้อย่างน่าสนใจ

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living  ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

RETUNA หลอมรวม ‘แหอวน’ สู่ของแต่งบ้าน 

คุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ Design Director แบรนด์ ควอลี่ (QUALY) บริษัท นิวอาไรวา จำกัด กล่าวในฐานะ Designer และ Converter ว่า “โครงการฯ ดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่จุดประกายให้ผู้คน มีส่วนร่วมและตระหนักถึงการนำวัสดุเหลือใช้ให้นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อสร้างความยั่งยืนร่วมกันทั้ง สังคม ธุรกิจ และ ผู้บริโภค”

พร้อมกล่าวเสริมในมุมมองนักออกแบบผลิตภัณฑ์ RETUNA อันเกิดจากแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วัสดุเหลือใช้ในท้องทะเลอย่าง “แหอวน” อุปกรณ์หลักเพื่อการเลี้ยงชีพของ “ชาวประมง” อีกหนึ่งกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ระดับโลก ภายใต้โจทย์การนำวัสดุใช้แล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ผ่านกระบวนการออกแบบและการผลิตวัสดุเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ในชื่อ RETUNA ภายใต้ธีม Home & Living ตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมายจากแบรนด์สินค้า   

โดยในส่วนของ  Converter นั้น คุณธีรชัย กล่าวว่า QUALY ได้นำทักษะและประสบการณ์จากการใช้วัสดุแหอวน ที่ถูกปล่อยทิ้งเป็นพลาสติกใช้แล้วทั้งบนบกและในท้องทะเลเป็นจำนวนมากให้นำกลับมาใช้ใหม่ผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆมาเป็นระยะเวลานาน

“QUALY” จึงได้นำวัสดุหลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของ TU อย่างพลาสติกใช้แล้วแหอวนเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ ผ่านการหลอมรวมให้เป็นของเหลวเพื่อนำขึ้นเป็นแม่พิมพ์ (Mole) ใหม่ให้อยู่ในรูปแบบทั้งฝาปิดอาหารทะเลกระป๋องสำหรับบรรจุของใช้ชิ้นเล็ก พร้อมต่อยอดไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ ‘ฝูงปลาสวยงามแขวนติดผนัง’ เพื่อขยายตลาดเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมของใช้ของแต่งบ้าน ได้ต่อไปในอนาคต” คุณธีรชัย กล่าว

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living  ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living  ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คุณปราชญ์ เกิดไพโรจน์ ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน ภูมิภาคเอเชีย บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าการเข้าร่วมโครงการฯ ของ GC ในครั้งนี้ เกิดจากแรงบันดาลใจของ TU ด้วยในทุก2ปี เรือประมง1 ลำ จะมีอวนล้อมที่หมดอายุการใช้งานโดยเฉลี่ย1ตัน ทำให้ TU ตระหนักถึงปัญหาพลาสติกเหลือใช้ที่เกิดจากเรือประมงที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศในมหาสมุทร  และนำไปสู่แนวคิด Upcycling แหอวน เพื่อสะท้อนถึงความยั่งยืนและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ จากการทำงานร่วมกันให้เป็นรูปธรรมผ่านชิ้นงาน RETUNA  ดังกล่าว ภายใต้รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ของใช้ของตกแต่งบ้าน ที่ยังสะท้อนถึงสัญลักษณ์แบรนด์ธุรกิจในกลุ่ม TU ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ นี้ของ GC

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living  ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

ฝาขวดน้ำสู่ Cube จัดระเบียบกระป๋องเครื่องดื่ม

คุณเดชา อรรจนานันท์ และ คุณพลอยพรรณ ธีรชัย Design Director บริษัท ทีเอชไอเอ็นเคเค จำกัด (THINKK) กล่าวถึงแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ Cube ว่าแรงบันดาลใจการออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling ชิ้นนี้เป็นการต่อยอดแบรนด์ของบริษัทบุญรอดในฐานะ ผู้ผลิตและเจ้าของเครื่องดื่ม นำไปสู่การออกแบบที่จัดเก็บ และจ่ายกระป๋องเครื่องดื่มขนาดกระทัดรัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บและแยกประเภทในคราวเดียว พร้อมคุณสมบัติช่วยประหยัดพื้นที่จัดวางสามารถซ้อนเป็นแนวตั้ง และสะดวกต่อการหยิบครั้งละกระป๋องเครื่องดื่ม และยังสะท้อนคืนกลับการเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับใช้ภายในบ้าน ได้ตรงตามโจทย์ในโครงการ Upcycling Upstyling ของ GC

คุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ บริษัท นิวอาไรวา จำกัด กล่าวในฐานะ Converter ผลงานบรรจุภัณฑ์ภายใต้ชื่อ Cube เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างฯพันธมิตรเจ้าของสินค้า นักออกแบบ และ คอนเวอร์เตอร์ ภายใต้โปรเจค Upcycling Upstyling ของGC ในปีนี้ ด้วยแนวคิดการพัฒนาวัสดุใหม่ที่ได้จากฝาขวดน้ำดื่มตราสิงห์ นำเข้าสู่กระบวนการหลอมรวมด้วยอุณหภูมิสูงจนได้พลาสติกเนื้อเหลว เพื่อนำไปใช้ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชองใช้ในครัวเรือนอย่างถ้วยสลัด

“ความสนุกของคอนเวอเตอร์ ในการพัฒนาวัสดุรีไซเคิลจากฝาขวดน้ำดื่มตราสิงห์ คือ เป็นวัสดุที่มีมาตรฐานระดับฟู้ดเกรดอยู่แล้ว ด้วยมาจากแหล่งผลิตฝาขวดเดียวกันซึ่งง่ายและสะดวกต่อการแปรรูปในกระบวนการต่างๆ ทั้งการเติมสีวัสดุให้เข้ากับคอนเซ็ปต์ผลิตภัณฑ์ อย่าง สีเหลือง ขาว ซึ่งโครงการฯของGC นี้ ทางควอลี่เองมีความภาคภูมิใจอีกเช่นกัน ที่ได้นำประสบการณ์ความชำนาญด้านการพัฒนาวัสดุเหลือใช้ให้มีคุณค่าพร้อมนำกลับมาใช้ภายใต้รูปลักษณ์ใหม่ ที่จะมีส่วนกระตุ้นให้หลายๆภาคส่วนตระหนักถึงการเห็นประโยชน์การนำกลับมาใช้ใหม่จากสิ่งของวัสดุเหลือใช้ได้ต่อไป” คุณธีรชัย กล่าว

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living  ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คุณนันทนา สุขเจริญ ผู้จัดการแผนกวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า ในแต่ละปี บริษัทมีการผลิตฝาพลาสติกในการบรรจุขวดเครื่องดื่มราว 1,000 ล้านฝา ก่อให้เกิดเป็นปริมาณพลาสติกเหลือใช้จำนวนมาก บริษัทฯ จึงมีแนวคิด Upcycling พลาสติกเหลือใช้จากฝาขวดชิ้นเล็กสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังมีความเชื่อมโยงกับแบรนด์ในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่ม

“บริษัทมีแนวทางส่งเสริมด้าน Upcycling จากพลาสติกเหลือใช้และมองเห็นประโยชน์การต่อยอดในเรื่องนี้โดยร่วมกับโครงการฯดังกล่าวของ GC ในการทำงานร่วมกันตลอดกระบวนการระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันทั้งนักออกแบบ คอนเวอเตอร์ และ ตัวบริษัทเอง ซึ่งเห็นว่าโครงการฯนี้จะยังมีส่วนช่วยให้สังคมร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนผ่านผลิตภัณฑ์ Upcycling ด้วย” คุณนันทนา กล่าว

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living  ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

Talking Walls จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่กำแพงพูดได้

คุณสมชนะ กังวารจิตต์ Design Director บริษัทพร้อมพ์ ดีไซน์ จำกัด กล่าวว่า แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling กำแพงพูดได้ ชิ้นนี้ เป็นการคิดต่างเพื่อหนีความจำเจของสินค้าในตลาด พร้อมเพิ่มจุดเด่นเฉพาะตัว ผ่านการออกแบบบล็อกช่องลมที่ได้จากวัสดุใช้แล้วกล่องนม UHT ตามโจทย์ที่ได้รับจาก SIG โดยใช้หลักคิดการออกแบบเป็นชุดคอลเล็กชั่นบล็อคช่องลมจำนวน 8 ชิ้น ให้ต่อเรียงกันกลายเป็นคำต่างๆ ได้ตามต้องการ ถือเป็นการตอบโจทย์การนำกลับวัสดุใช้แเล้วมาสู่ผลิตภัณฑ์และใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ตามแนวคิดโครงการ  Upcycling Upstyling  ของ GC 

‘GC’ ชวนธุรกิจต่อยอดสินค้า Home & Living  ‘เพิ่มมูลค่าแบรนด์’ ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คุณปรางค์ทิพย์ ชัยสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เอสไอจี คอมบิบล็อค จำกัด (SIG) กล่าวว่าในฐานะแบรนด์เจ้าของผลิตภัณฑ์ ได้ตั้งโจทย์การนำประโยชน์ของเสียจากวัสดุใช้แล้วอย่างกล่องนมของ SIG  ให้นำกลับมาใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ผ่านการเข้าร่วมโครงการฯนี้ของ GC ที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากเพื่อส่งต่อความรู้ความเข้าใจด้าน Recycling ผลิตภัณฑ์สู่สังคมร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

“SIG ให้ความเข้มข้นด้านรีไซเคิลผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้มาตลอดช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะจากกลุ่มวัสดุ พลาสติก อลูมิเนียม ฟลอยด์ กระดาษ จากกล่องนมเพื่อแปรรูปเป็นวัสดุและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ Talking Walls กำแพงพูดได้ ผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรตลอดกระบวนการ ซึ่งทาง SIG มองว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียได้ตรงตามโจทย์ด้วยสามารถนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ได้จริง และเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” คุณปรางค์ทิพย์ กล่าว

คุณวิศรุจน์ จันแป้น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอดวานซ์ แมท จำกัด กล่าวในฐานะคอนเวอร์เตอร์ ผู้แปรรูปวัสดุจากกล่องนมสู่ผลิตภัณฑ์ผลงาน Talking Walls ว่า “โครงการฯนี้ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนในภาคสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการนำของเสียให้นำกลับมาใช้ได้ใหม่จริง และยังส่งต่อไอเดียไปยังวงกว้างได้

โดยในส่วนของบริษัทฯ หลังจากได้รับโจทย์ จากทางพันธมิตรเจ้าของสินค้าแล้ว ได้มีการนำกลับมาทำงานร่วมกับนักออกแบบเพื่อพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างกำแพงที่มีช่องลมโดยอิงกับภูมิปัญญาการก่อสร้างคนไทยด้านการออกแบบวัสดุเพื่อให้อากาศถ่ายเทไหลเวียนผ่านได้ตามช่องตัวอักษร ที่ถูกออกแบบไว้ 7รูปแบบ (Pattern)เพื่อให้เลือกใช้เรียงเป็นประโยคตัวหนังสือได้ตามความต้องการ พร้อมคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน จากแสงที่ยังสามารถลอดผ่านช่องกำแพง ได้ด้วยเช่นกัน

“ด้านกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้วัสดุพลาสติกสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างดังกล่าว จะต้องนำวัสดุกล่องนมที่ได้รับมาทำการคัดแยกในส่วนของกระดาษ ฟลอยด์ อลูมิเนียม และอื่นๆ ออกจากกันก่อน เพื่อให้ได้วัสดุหลักโพลีอลูมิเนียม เพื่อนำไปขึ้นรูปเป็นบล็อควัสดุก่อสร้างกำแพงพูดได้ ที่มีคุณสมบัติให้ความทนทาน แข็งแรง มีผิวสัมผัสเทียบกับกับวัสดุก่อสร้างใกล้เคียงแทบทุกประการ ซึ่งเป็นการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าจากพลาสติกเหลือใช้ หรือ กล่องนม ให้ใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ได้อย่างเป็นรูปธรรม” คุณวิศรุจน์ กล่าว