posttoday

บิ๊กฉัตรแจงไม่พบจนท.ทุจริตโครงการ9101 ชี้ท้องถิ่นขัดแย้งกันเอง

27 กันยายน 2560

"บิ๊กฉัตร" สั่งสอบละเอียด 9101 เบื้องต้นพบเป็นความขัดแย้งและความเข้าใจไม่ตรงกันของท้องถิ่น

"บิ๊กฉัตร" สั่งสอบละเอียด 9101 เบื้องต้นพบเป็นความขัดแย้งและความเข้าใจไม่ตรงกันของท้องถิ่น

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงว่า โครงการ  9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ได้มีการร้องเรียนมาประมาณ  14 โครงการหรือประมาณ 0.058 % นั้น ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดตรวจสอบและให้กรมส่งเสริมการเกษตรตรวจสอบว่าเป็นไปตามการร้องเรียนหรือไม่

เบื้องต้นยังไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่กระทำผิด หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ เป็นเพียงความขัดแย้งของสมาชิกในชุมชนและความไม่เข้าใจกันของสมาชิก 

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้จะให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้าไปร่วมตรวจสอบด้วย เพราะเป็นโครงการที่ดีและรัฐบาลตั้งใจที่จะให้ชุมชนช่วยกันทำเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน สามารถทำให้เกิดกิจกรรม 24,152 กิจกรรม วงเงิน 19,876.20 ล้านบาท ซึ่งจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินโครงการ 1.56 ล้านราย จำนวนเกษตรกรที่คาดว่าได้รับประโยชน์จากโครงการฯ ทั้งประเทศ 7.78 ล้านราย และเกษตรกรส่วนใหญ่ก็พอใจและได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีกับโครงการ 9101  

"14  โครงการที่ร้องมา เป็น  0.058% แต่เราไม่อยากให้เกิดแม้กระทั่ง 0.001% อย่างไรก็ดี เบื้องต้นตรวจทั้ง 14  โครงการก็ยังไม่มีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เพราะทุกเรื่องเป็นเรื่องท้องถิ่นที่ดำเนินการโดยผ่านการลงประชามติ ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ก็คาดว่าจะต้องมีปัญหาแน่จึงได้วางเงื่อนไขและมีแนวทางปฏิบัติ

"ทั้งนี้เบื้องต้นตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความขัดแย้งและความเข้าใจไม่ตรงกันของท้องถิ่น ยังไม่พบว่าเจ้าหน้าที่ราชการเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกรณีเครื่องพ่นสารชีวภัณฑ์ที่อยุทธยาก็ให้เร่งตรวจสอบว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร ซึ่งตัวแทนเกษตรกรที่มาก็ยืนยันว่าทุกอย่างดำเนินการตามขั้นตอนและจะขอให้เอกชนเจ้าของเครื่องมาตรวจสอบคุณภาพ ร่วมกับนักวิชาการที่เป็นกลาง  นอกจากนั้นจะขอให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมาร่วมตรวจสอบทุกโครงการ"รมว.เกษตรฯกล่าว

ด้าน นายสมชาย  ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ทั้ง 14  โครงการมีการร้องเรียน  0.058 % ของโครงการทั้งหมด   ตรวจสอบเสร็จ 6 เรื่อง  ล่าสุดกำลังสอบจังหวัดอยุธยา  ที่มีการร้องว่ามีการซื้อเครื่องพ่นสารชีวภัณฑ์  ราคา  1.1 หมื่นบาท  แพงกว่าราคาที่เกษตรกรเคยซื้อ  6 พันบาท ซึ่งหลังมีการร้องเรียน   ได้ประสานกับนายประมาณ สว่างญาติ    ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่  โดยให้ขอความร่วมมือจากนักวิชาการด้านเครื่องจักรกล มาร่วมตรวจสอบคุณภาพของเครื่องว่า สมกับราคาหรือไม่   และชุมชนจะว่าอย่างไรก็เป็นเรื่องของชุมชน   สำหรับการตรวจสอบข้อร้องเรียนทั้งหมดอย่างละเอียดให้ส่งมายังกรมในวันศุกร์ที่  29 ก.ย. 2560  นี้

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้ชี้แจงผลการตรวจสอบของ 14 โครงการ โดยระบุว่า จังหวัดสมุทรปราการ ผู้ร้องจะทำปุ๋ยดินจากขยะเปียก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้ร้องกระทำอยู่ แต่ตนเองไม่ได้เป็นเกษตรกร  กิจกรรมไม่สัมพันธ์กับการจ้างงาน  จึงไม่ตรงกับเงื่อนไขและที่ประชุมไม่รับโครงการนี้  จังหวัดฉะเชิงเทรา ร้องว่าทำลานตากเหมือนกัน  ตรวจสอบพบว่ากรรมการชุมชนทำตามคู่มือทั้งหมด ซึ่งที่ทำลานตาก็เนื่องจากว่า   พื้นที่บางน้ำเปรี้ยวปลูกข้าว  2.7 แสนไร่  เกษตรกร7,800  รายส่วนใหญ่ทำนา  ไม่มีลานตากก็ขอลานตากเพื่อปรับปรุงคุณภาพข้าวก็เป็นมติของชุมชน
 จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเด็นร้องว่าไม่โปร่งใสพิจารณาโดยผู้นำคนเดียวหรือไม่   ซึ่งหลังจากการตรวจสอบพบว่า เจ้าหน้าที่พิจารณาโครงการต่างๆ โดยดำเนินการตามคู่มือกำหนดอย่างโปร่งใส มีการประชาพิจารณ์   มีรายงานการประชุม มีการบันทึกภาพด้วย  คนร้องไม่ได้เข้าประชุมด้วยทุกครั้งก็ให้เจ้าหน้าที่จะทำความเข้าใจ

จังหวัดสงขลา ผู้ร้อง 2ประเด็นว่าเขาได้ผลกระทบน้ำท่วม แต่เมื่อตรวจสอบไม่ได้เสียหายสิ้นเชิงไม่เข้าเงื่อนไข   และที่ไม่ได้เข้าโครงการ เพราะชุมชนตกลงว่าจะเลี้ยงหมู แต่เขาไม่เข้าโครงการ เนื่องจากนึกว่าโอนเงินเข้าแต่ละรายจะไปทำเอง  จึงไม่เข้าโครงการ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน กรณีร้องเรียนเรื่องเจ้าหน้าที่ กสก. เสนอโครงการเองไม่ได้มาจากชุมชน  ก็พบว่า ขณะนั้นมีฝนตกหนัก มีการหารือกลุ่มร่วมกับกรรมการชุมชนเป็นระยะ และมีมติปลูกพืชสมุนไพร จึงและมอบให้เจ้าหน้าที่เขียนโครงการให้ ก็ทำตามขั้นตอนทั้งหมดตามคู่มือและมอบให้ไปชี้แจงชุมชน   

จังหวัดลำปาง  ระบุว่าไม่มีการจัดเวทีชุมชนมีแต่การประสานกับผู้นำอย่างเดียว และอสม.สาธารณสุข  ทำให้เกษตรกรเสียสิทธิ กรณีจังหวัดนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบอย่างละเอียด แต่เบื้องต้นทำตามขั้นตอนครบ

จังหวัดสตูล ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ทั่วถึงมีแต่กลุ่มผู้นำ กับผู้สนใตติดตามงานราชการเท่านั้น เท่านั้น ก็อยู่ระหว่างตรวจสอบ แต่เบื้องพบว่าขึ้นตอนการดำเนินการครบมีการทำประชาพิจารณ์

จังหวัดสุพรรณบุรี ร้องว่าชุมชนทำในงานที่สมาชิกไม่ถนัด แต่เป็นมติชุมชนแล้ส อย่างไรก็ตามเงินที่จัดให้  2.5  ล้านหากใช้ไม่เต็ใวงเงินชุมชนสามารถทำได้มากกว่า 1 กิจกรรม  กรณีจังหวัดเชียงราย พบว่า ดร.สิคลิก เขียนโครงการทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกทานตะวันแต่ เกษตรกรไม่เห็นด้วย  ก็ขอเอกสารคืน ไม่เกี่ยวกับโครงการ

จังหวัดสุรินทร์ ที่ระบุว่าผู้รับเหมารายเดียว หลังลงพื้นที่และผู้ว่าตั้งกรรมการสอบไม่เป็นตามที่ร้องเรียน  และก็ตรวจแล้วไม่ตรงกับที่กล่าว

จังหวัดกาญจนบุรี ร้องว่ามีการเบิกบัญชีผีหรือได้ค่าแรงไม่เต็มจำนวน ก็อยู่ระหว่างตรวจสอบเพราะไม่ระบุว่าใครที่ไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนและให้ตรวจสอบว่ามีชื่อคนที่ไม่ได้ทำงานแต่รับเงินจริงตามร้องหรือไม่

นายประมาณ สว่างญาติ ประธานศพก.จังหวัดอยุธยา กล่าวว่า หลังจากมีการร้องเรียนก็นอนไม่หลับเพราะไม่คิดว่าโครงการ  9101 ของอยุธยาจะมีปัญหาเพราะที่ผ่านมาได้ทำงานร่วมกันมาตลอด แต่เมื่อมีการร้องเข้ามาก็พร้อมช่วยเช่าไปตรวจสอบ   กำลังให้เจ้าหน้าบริษัทเครื่องพ่นสารมาตรวจดูสมรรถนะสมราคาหรือไม่เพราะราคา  1.3 หมื่นบาท จากที่เกษตรกรเคยใช้ของประเทศอื่นราคาประมาณ  6 พันกว่าบาทแต่ไม่นานก็พัง

"ต้องยอมรับว่าชาวบ้านไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์ เมื่อคิดอยากได้ของดีก็ปรึกษาบริษัท ว่าต้องการอะไรอย่างไร แล้วก็ออกมาเป็นยี้ห้อดังกล่าว และนำของมาให้ขณะนี้อยู่ระหว่างชุมชนตรวจรับของ หากไม่พอใจ ก็สามารถคืนได้ เพราะทุกอย่างเป็นประชามติ ผมก็จะเข้าร่วมตรวจสอบด้วย"นายประมาณกล่าว