posttoday

สมาคมบจ.ยุคใหม่ เตรียมพร้อมสู้ AEC

18 กรกฎาคม 2554

วันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา “ชนินท์ ว่องกุศลกิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู (BANPU)

วันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา “ชนินท์ ว่องกุศลกิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู (BANPU)

โดย...เจียรนัย อุตะมะ

วันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา “ชนินท์ ว่องกุศลกิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู (BANPU) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียน (บจ.) คนใหม่ วาระปี 25542556 ต่อจาก “อนนต์ สิริแสงทักษิณ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)

จังหวะที่ “ชนินท์” เข้ามารับตำแหน่งใหม่นี้ อยู่ในช่วงที่รัฐบาลได้เปลี่ยนผ่านจากยุคของพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นยุคพรรคเพื่อไทย และประเทศไทยกำลังจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558

“ชนินท์” กล่าวว่า ทิศทางของสมาคมยุคของเขาจะให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมของสมาชิกเพื่อเข้าสู่การรวมตัวของ AEC ภายในปี 2558 มากขึ้น โดยมีการตั้ง “ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. (PTT) คนใหม่ เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเตรียมพร้อมบริษัทเข้าสู่ AEC

นอกจากนั้น ยังมีการเตรียมพร้อมและทำความเข้าใจกับมาตรฐานบัญชีใหม่ที่นำมาใช้กับบริษัทในปีนี้ เนื่องมาจากภายในสมาคมมีชมรมต่างๆ ในวิชาชีพที่แตกต่างกัน เช่น ชมรมเลขานุการบริษัท ชมรมนักลงทุนสัมพันธ์ ชมรมกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ยังมีความเข้าใจในมาตรฐานบัญชีแตกต่างกันที่ต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องนี้ด้วยกัน

สำหรับเรื่องภาษี นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลต่อกำไรบริษัทสมาชิกที่มีทั้งหมด 450 บริษัท ซึ่งสมาคมเรียกร้องมาทุกยุคทุกสมัยนานเกิน 5 ปี ตั้งแต่สมัย “ทนง พิทยะ” เป็น รมว.คลัง

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลใหม่มีนโยบายลดภาษีรายได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 2555 จะทำให้กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 6.3 หมื่นล้านบาท

“ปัจจุบันภาษีรายได้นิติบุคคล 30% สูงเท่าออสเตรเลีย แต่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนที่กว่า 20% แต่ภาษีออสเตรเลียแม้จะสูงเท่าเรา แต่กฎหมายของออสเตรเลียระบุให้บริษัทที่มีเครือข่าย รวมงบการเงินเป็นบริษัทเดียวแล้วเสียทีเดียว 30% แต่บริษัทที่มีเครือข่ายของไทยกลับแยกกันเสียภาษี ทำให้เสียภาษีหลายทอด ซึ่งเรื่องนี้อธิบดีกรมสรรพากรคนใหม่เข้าใจดีและพยายามแก้ไข”

“ชนินท์” กล่าวว่า ต้องการเพียงแค่ข้าราชการมีมุมมองต่อบริษัทไทยอย่างเข้าใจว่า บริษัทเหล่านี้ไม่มีเจตนาทำไม่ดี หรือหลีกเลี่ยงภาษี ควรให้การจัดเก็บภาษีส่งเสริมให้ภาคเอกชนทำมาหากินคล่องด้วยเพื่อส่งเสริมกัน หากเอกชนมีกำไรกรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้นตามสัดส่วน

สมาคมบจ.ยุคใหม่ เตรียมพร้อมสู้ AEC

สมาคม บจ. ยุค “ชนินท์” ย้ำชัดเจน จะไม่ทำงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ไม่เน้นกิจกรรม แต่ปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม และเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยทุก 2 ปี หรือ 1 วาระ จะมีกรรมการหมดวาระครึ่งหนึ่ง หรือ 15 คน จากกรรมการทั้งหมด 30 คน และกรรมการทั้งหมดถูกเลือกมาจากทุกกลุ่มธุรกิจ โดยจำนวนนี้มีตัวแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 3 คน

“การที่มีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ไปตั้งสมาคมบริษัทจดทะเบียนตลาด เอ็ม เอ ไอ เป็นสิทธิของเขา แต่การขอยกเว้นค่าสมาชิกเพราะต้องเสียค่าสมาชิกซ้ำซ้อนนั้น เราคิดว่าค่าสมาชิกเพียง 7,000 บาทต่อปี นับว่าไม่มาก”

ทั้งนี้ การที่บริษัทเหล่านั้นเรียกร้องอาจเป็นเพราะสมัยหนึ่งบริษัทเหล่านี้เสนอขอต่ออายุการลดภาษีรายได้นิติบุคคล แต่ไม่เป็นผล จึงมีการตั้งสมาคม บจ. เอ็ม เอ ไอ ขึ้นมา

สำหรับการเข้ามาของรัฐบาลชุดพรรคเพื่อไทย เชื่อว่าไม่มีผลดีและผลเสียต่อเศรษฐกิจมากนัก เพราะไม่ว่าพรรคใดมาเศรษฐกิจก็ดีอยู่แล้ว ขอเพียงอย่าเข้าไปยุ่งกับเศรษฐกิจให้มากนัก เรื่องนี้ไม่น่าเป็นห่วง

ทั้งนี้ “ชนินท์” ชื่นชอบภารกิจเร่งด่วน 7 ข้อของพรรคเพื่อไทย คือ ข้อแรก ปรองดอง ข้อ 2 งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ข้อ 3 เร่งพลิกฟื้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเพิ่มค่าครองชีพและลดราคาสินค้า

ข้อ 4 เร่งฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศและสร้างความสามัคคีในระดับทวิภาคี ข้อ 5 เร่งสร้างขวัญกำลังใจกับข้าราชการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากข้าราชการเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศชาติให้เดินหน้า อีกทั้งรัฐบาลต้องทำงานร่วมกับหน่วยราชการและทุกภาคส่วน

ข้อ 6 ปัญหาคอร์รัปชันต้องมีแนวทางและนโยบายขจัด รวมถึงกรรมวิธีที่ทำให้เกิดความโปร่งใสอย่างชัดเจนเพื่อให้ประชาชนสบายใจว่า การทำงานของพรรคการเมืองสามารถตรวจสอบได้ และข้อ 7 พรรคจะนำนโยบายทั้งหมดมาหารือกับทุกพรรคการเมืองเพื่อทำเป็นแผนทำงานฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน

นับเป็นความสอดคล้องกับผลสำรวจผู้นำบริษัทจดทะเบียน ที่แสดงความกังวลเรื่องการเมืองออกมาก่อนหน้านี้ มากกว่าความกังวลด้านเศรษฐกิจสมาคม บจ. ยุคใหม่ได้มอบหมายให้ “เพ็ญศรี สุธีรศานต์” ผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย เป็นโฆษก ล่าสุดภายหลังการขึ้นมาของ “ชนินท์” เธอคนนี้ได้ให้สัมภาษณ์ถึงผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน ครึ่งปีหลัง 2554 พบว่า ซีอีโอบริษัทขนาดใหญ่กว่า 80% เห็นว่าเศรษฐกิจไทยปี 2554 จะขยายตัวไม่น้อยกว่า 3.5% และ 1 ใน 3 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 44.5% ความเชื่อมั่นดีขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมาในช่วงเดือน ต.ค. 2553

พร้อมกับระบุว่า ซีอีโอเหล่านี้มีความเห็นว่า เสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับแรกที่มีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปีนี้ หรือ 55% รองลงมาคือ ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

เป็นพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งเกือบทุกหนังสือพิมพ์ช่วงกลางเดือน มิ.ย.ก่อนการเลือกตั้ง ที่การสะท้อนความเห็นครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลังเลือกตั้ง ไม่ได้เกิดความรุนแรงอย่างที่คิด เพราะทุกฝ่ายยอมรับกติกา

สะท้อนการทำงานของสมาคม บจ.ยุคติดจรวด ที่ต้องทันสถานการณ์ และเจ้าของธุรกิจก็ไม่ต้องเจ็บตัวมากนัก เพราะเป็นผลสรุปของบริษัทจดทะเบียนเกือบทั้งตลาดหุ้น