posttoday

Silent Protest การประท้วงอีกหนึ่งรูปแบบ

27 มีนาคม 2564

โดย กริช อึ๊งวิฑูรสถิตย์

ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ เราจะได้รับข้อมูลการประท้วง หรือการปะทะกันที่ประเทศเมียนมาน้อยมาก จะเห็นว่าบนถนนหนทางมีแต่ความว่างเปล่า 

ไม่มีแม้แต่การเดินทางของผู้คนบนท้องถนน นี่คือการประท้วงอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า “Silent Protest” หรือการประท้วงด้วยความเงียบสงบ 

นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่กลุ่มผู้ประท้วงอาริยะขัดขืนชาวเมียนมา CDM  นำออกมาใช้เพื่อประท้วงรัฐบาลใหม่ SAC ของเขา 

การประท้วงอรูปแบบนี้ เราจะไม่ค่อยได้เคยเห็นมาก่อนในประเทศไทย แต่ในโลกนี้เคยเกิดการประท้วงเงียบเช่นนี้หลายครั้ง ที่มีชื่อเสียงที่สุดครั้งหนึ่ง คือเมื่อปี ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นที่เมือง New York ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ต้นแบบของประชาธิปไตยยุคปัจจุบันนี่แหละครับ ในครั้งนั้น ชาวผิวดำได้ถูกรังแกโดยชาวผิวขาว ซึ่งเขามักจะมองด้วยสายตาดูถูกเยียดผิวสีมาตลอด 

จนกระทั่งคนผิวดำอดทนไม่ไหว จึงนัดกันออกมาเดินประท้วงในวันที่ 28 กรกฎาคม 1917 ที่ East St. Louis ถนน Fifth Avenue ที่มหานคร New York ครั้งนั้นมีการจัดในรูปแบบ Parade บนท้องถนนแบบไม่มีการทำให้เกิดเสียงดังออกมาจากขบวน Parade 

จะมีเพียงเสียงกลองเคาะตีเป็นจังหวะให้คนเดินเท่านั้น ครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมประท้วงในขบวน Parade ประมาณหนึ่งหมื่นคน จนทำให้เกิดการสะท้อนถึงความต้องการดังไปถึงรัฐบาล และโด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน 

อีกครั้งหนึ่งที่โด่งดังเช่นกัน เกิดขึ้นที่ประเทศตุรกี เกิดจากความไม่พอใจรัฐบาลของประชาชนชาวตุรกี ที่รัฐบาลได้ออกกฎหมายมาหลายอย่าง ที่ถ้าดูแล้วเคล้ายๆจะไม่ค่อย

มีสาระด้วยซ้ำ จนทำให้ประชาชนไม่พอใจหรือไม่เห็นชอบด้วย จึงได้มีการนัดกันออกมาแสดงพลังด้วยการประท้วงแบบ Silent Protest ในปี 2013 ณ.จัสตุรัส Taksim Square ใจกลางเมืองอิสตันบลู เมืองหลวงของตุรกี 

โดยมีผู้นำการประท้วงที่ชื่อว่า Mr. Erdem Gunduz ซึ่งในครั้งนั้นก็สามารถเรียกร้องความสนใจของประชาคมโลกได้พอควร

ในขณะที่การประท้วงครั้งนี้ของชาวเมียนมา โดยกลุ่ม CDM ก็นำเอาการประท้วงแบบอาริยะขัดขืนมาใช้หลายรูปแบบ โดยในช่วงแรกๆของการประท้วง เช่นการเคาะกะทะ หม้อ ให้เกิดเสียงดังกระหึ่มไปทั่วเมืองย่างกุ้ง

จนกระทั่งลงมาสู่ท้องถนน แต่ก็กลายพันธุ์เป็นการประท้วงแบบที่เราเคยเห็นทั่วๆไปเสียแล้ว กระทั่งถูกปราบปรามจากรัฐบาลใหม่ SAC จนมีผู้ล้มตายไปหลายราย 

อีกทั้งมีการทำลายทรัพย์สินต่างๆของประชาชนผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไปเยอะมาก และเมื่อมีการกำหนดจากทางภาครัฐบาลว่า จะต้องให้การประท้วงจบสิ้นภายในวันที่ 27 มีนาคมนี้ ซึ่งจะเป็นวันกองทัพของประเทศเมียนมา จึงเชื่อได้ว่าจะมีการปะทะกันก่อนวันกองทัพเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน

ทางส่วนของผู้ประท้วง CDM จึงได้นำเอากลยุทธ์การประท้วงแบบใหม่ออกมาใช้ โดยกำหนดให้วันที่ 24-26 มีนาคมนี้ เป็นวันประท้วงแบบ Silent Protest ขึ้น ในวันดังกล่าวนี้ เวลา 9:00 น.ถึง 15:00 น. ขอให้ประชาชนทุกคน หยุดอยู่ในบ้าน โดยไม่ทำการใดๆ ไม่ต้องออกมาเดินประท้วงบนถนนหนทาง 

ขอให้ทุกคน “เงียบ” เพื่อแสดงพลังให้ทั่วโลกได้เห็นถึงความต้องการของฝ่ายผู้ประท้วง จึงได้เกิดผลอย่างที่เห็น คือทุกหนทุกแห่งเงียบเหงาไปอย่างที่เห็นนั่นแหละครับ เรามาดูว่าการประท้วงเช่นนี้ จะเกิดผลอะไรตามมา 

สิ่งแรกเลยคือธุรกรรมใดๆไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดความชะงักงันทันที ที่ตามมาคือประชาชนจะขาดรายได้ทั้งหมดทั้งประเทศ หากกระทำการเช่นนี้นานๆเข้า 

ผลดีอีกประการหนึ่ง คือไม่ต้องเกิดความสูญเสียชีวิตจากการปราบปรามของฝ่ายรัฐบาลหรือ SAC ผู้คนที่ประท้วงกันก็จะลดแรงกดดันไปชั่วขณะ 

ในทางเดียวกัน นานาประเทศก็จะหันมามองประเทศเมียนมา 

ส่วนผู้ที่เดือดร้อนที่สุดคือประชาชน ในส่วนของผู้มีอำนาจเขาไม่ได้มาเดือดร้อนด้วย เพียงแต่หากมีการลากยาวไป ก็จะส่งผลให้ประเทศเมียนมากลายเป็นประเทศล้มละลายทางด้านเศรษฐกิจได้ 

ในระยะสั้นผู้มีอำนาจหรือ SAC ก็ดีเหมือนกัน การปราบปรามก็ลดลง การประหัตประหารกันก็ลดลง ทหารก็จะได้พักแรงลงไป 

แต่ในแง่ลบ กลุ่ม SAC ในสายตาประชาคมโลกก็จะแย่ลงไปอีก แต่ด้วยความเป็นจริงแล้ว ผมคิดว่าทางเขาก็แย่อยู่แล้ว เขาจึงไม่ค่อยจะใส่ใจเท่าไหร่กับสายตาชาวโลกครับ 

แต่หลังจากพ้นกำหนดเวลาบ่ายสามโมงของวันศุกร์ที่ 26 มีนาคมเท่านั้นแหละ เราก็ได้เห็นภาพจาก Facebook ถ่ายทอดสดออกมาให้เห็นการปะทะกันเสียแล้ว 

.......เฮ้อ!!!! เห็นความสงบได้แค่สามวัน ก็ซัดกันต่อเสียแล้ว  เราคงจะทำได้เพียงขอภาวนาให้ทุกฝ่ายลดฐิติลงไปบ้าง ถอยหลังคนละก้าว แล้วนั่งจับเข่าคุยกันซะหน่อยก็ไม่ได้

.....เฮ้อ!!!! (ครั้งที่สอง) อย่าให้ประเทศบอบช้ำไปมากกว่านี้เลย.....พี่น้องเมียนมาเอ้ย !!!!