posttoday

ค้นพบฟอสซิลตัวอ่อนในครรภ์ไดโนเสาร์ อายุ 240 ล้านปี

16 กุมภาพันธ์ 2560

นักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบฟอสซิลของตัวอ่อนในครรภ์ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง นับเป็นหลักฐานวิวัฒนาการครั้งสำคัญ ที่แสดงว่าไดโนเสาร์ก็ออกลูกเป็นตัว

นักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบฟอสซิลของตัวอ่อนในครรภ์ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง นับเป็นหลักฐานวิวัฒนาการครั้งสำคัญ ที่แสดงว่าไดโนเสาร์ก็ออกลูกเป็นตัว

ทีมนักวิทยาศาสตร์จีนได้ค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์ที่กำลังตังครรภ์ตัวหนึ่ง อายุ 240 ล้านปีเข้า แต่ที่พิเศษก็คือพวกเขาพบฟอสซิลของตัวอ่อนภายในครรภ์ของมันด้วย แทนที่จะอยู่ในเปลือกไข่ รายงานจาก Nature Comunications นั่นหมายความว่า สัตว์เลื้อยคลานในโลกล้านปีเองก็มีวิวัฒนาการออกลูกเป็นตัว เช่นเดียวกับบางสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน

ฟอสซิลดังกล่าวเป็นของ Dinocephalosaurus สัตว์เลื้อยคลานที่เป็นญาติกับไดโนเสาร์ และเป็นญาติห่างๆกับจระเข้ และนกในปัจจุบัน ปกติแล้วเจ้าตัวนี้จะอาศัยอยู่ในน้ำ เพื่อจับปลากินเป็นอาหาร โดยพวกเมื่อโตเต็มที่พวกมันจะมีความยาวอย่างน้อย 13 ฟุต และมีความโดดเด่นอยู่ที่ลำคอขนาดยาวมาก

โดยฟอสซิลของ Dinocephalosaurus ชิ้นล่าสุดนี้ถูกขุดค้นได้จากชั้นหินปูน ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่เคยถูกสำรวจไปเมื่อปี 2008

Jun Liu นักบรรพชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Hefei เป็นผู้สังเกตเห็นฟอสซิลตัวอ่อนขนาดเล็ก ภายในฟอสซิลของไดโนเสาร์ตัวดังกล่าว แต่ในตอนแรกนั้น Liu ยังไม่มั่นใจว่าฟอสซิลชิ้นนี้คือตัวอ่อนจริงๆ หรืออาหารมื้อสุดท้ายของมันกันแน่ เนื่องจากเยื่อห่อหุ้มตัวอ่อนได้สลายไปหมดแล้ว

แต่จากการวิเคราะห์ Liu และทีมมั่นใจว่าพวกเขาค้นพบตัวอ่อนในครรภ์เข้าแล้ว ด้วยเหตุผลบางประการ คือหนึ่ง พฤติกรรมการกินของ Dinocephalosaurus นั้นจะกินเหยื่อจากหัว มากกว่าส่วนท้ายของร่างกาย แต่ฟอสซิลขนาดเล็กที่พบนั้น หัยหน้าออกไปสู่ปาก หรือในทิสทางเดียวกับแม่ของมัน

และสอง พวกเขาพบเศษชิ้นส่วนของซากปลาที่คาดว่าเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของไดโนเสาร์ตัวนี้ ซึ่งแน่นอนว่าทิศทางของมันนั้นอยู่ในทิศตรงกันข้ามกับฟอสซิลตัวอ่อน อีกทั้งรอบๆก็ไม่มีเศษเปลือกไข่แต่อย่างไร ดังนั้นข้อสันนิษฐานว่าตัวอ่อนดังกล่าวนี้ เป็นลูกอ่อนของไดโนเสาร์ตัวอื่นที่ตกเป็นเหยื่อ หรืออาจถูกกินทั้งไข่จึงตกไป

หากเจ้า Dinocephalosaurus นี้กำลังตั้งครรภ์อยู่จริงๆ นี่จะเป็นการค้นพบครั้งสำคัญเลยทีเดียว และนับเป็นหลักฐานทางวิวัฒนาการครั้งใหญ่ที่แสดงให้เห็นว่าไดโนเสาร์ในยุคนั้นก็สามารถออกลูกเป็นตัวได้เช่นกัน

ส่วนสาเหตุของการวิวัฒนาการนั้น ทางทีมนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ปกติแล้วไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้จะขึ้นมาวางไข่บนบก เหมือนเต่า เนื่องจากตัวอ่อนยังคงต้องการออกซิเจนผ่านเปลือกไข่ การวิวัฒนาการให้พวกมันสามารถคลอดลูกเป็นตัวได้เลยนี้ น่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้แก่ลูกๆของพวกมัน