posttoday

นักธุรกิจรุ่นใหม่เวียดนาม ชี้ช่องค้าปลีกท้องถิ่นบูม

13 มิถุนายน 2559

จ๋าน เล นักธุรกิจหญิงเวียดนามคนรุ่นใหม่ ที่เข้ามาต่อยอดธุรกิจครอบครัวด้านผู้จัดส่งอาหาร

โดย...ดวงใจ จิตต์มงคล

จ๋าน เล นักธุรกิจหญิงเวียดนามคนรุ่นใหม่ ที่เข้ามาต่อยอดธุรกิจครอบครัวด้านผู้จัดส่งอาหาร สินค้าความงามและอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามไม่ต่ำกว่า 20 ปี ที่กำลังขยายธุรกิจใหม่ในอุตสาหกรรมความงาม โดยร่วมเป็นพันธมิตร (พาร์ตเนอร์) กับนักลงทุนไทย กลุ่มบริษัท ควอลิตี้ พลัส ด้วยมองเห็นโอกาสธุรกิจเครื่องสำอาง (คอสเมติก) ในเวียดนามที่เติบโตสูงต่อเนื่อง 

พร้อมนำโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากประเทศ ไทยมาปรับใช้เพื่อทำตลาดในเวียดนาม โดยใช้ฐานการผลิตสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางต่างๆ ในไทย และมีสำนักงานในโฮจิมินห์เป็นตัวแทนการจัดจำหน่าย (ดิสทริบิวเตอร์) และการทำตลาด

“ช่องทางการขายสินค้าความงามในเวียดนามปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะยังอยู่ในร้านเสริมสวย ซาลอนเป็นหลัก มีเจ้าของร้านเป็นผู้แนะนำผลิตภัณฑ์บริการต่างๆ” จ๋าน เสริม

ด้วยมองว่าอุตสาหกรรมความงามในเวียดนามจะยังเติบโตสูงต่อเนื่อง จากกำลังซื้อหลักผู้บริโภคกลุ่มผู้หญิงชาวเวียดนามที่หันมาดูแลสุขภาพผิวกายและผิวหน้ามากขึ้น และให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะที่มาจากประเทศไทยภายใต้ตราสัญลักษณ์การผลิต เมด อิน ไทยแลนด์ (Made in Thailand) ที่เข้ามาการันตีคุณภาพสินค้าได้เป็นอย่างดี

ขณะที่ภาพรวมตลาดเครื่องสำอางในเวียดนามปัจจุบัน มีคู่แข่งจากต่างประเทศหลายราย ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยทัศนคติผู้บริโภคเวียดนามที่มีต่อสินค้าความงามนั้น มองว่าสินค้าความงามจากเกาหลีจะเป็นตลาดระดับบน (พรีเมียม) มีราคาสูง ส่วนสินค้าความงามจากไทยจะเป็นตลาดระดับกลางทั่วไป เข้าถึงได้ง่ายกว่า พร้อมวางเป้าหมายเป็นผู้รับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) สินค้าความงามอันดับ 1 ในเวียดนามได้ ภายใน 5 ปีนับจากนี้

จ๋าน ยังมองถึงการขยายธุรกิจใหม่ด้านค้าปลีก ภายใต้ชื่อ “ไทยมาร์ท” (ThaiMart) ซึ่งจะเป็นร้านค้าปลีกพิเศษ (สเปเชียลตี้ สโตร์) เพื่อรองรับการทำตลาดและกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคในเบื้องต้น 2 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์ความงามดูแลผิวต่างๆ และ 2.กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยในอนาคตยังวางแผนขยายธุรกิจร้านไทยมาร์ทในรูปแบบแฟรนไชส์ สำหรับนักลงทุนท้องถิ่นเวียดนามที่สนใจขยายธุรกิจดังกล่าว เบื้องต้นวางไว้ใน 5 จังหวัด คือ 1.โฮจิมินห์ 2.ฮานอย 3.บิงฮอย 4.เบิ๋นเจ และ 5.หวงเต่า รวมถึงมองเห็นโอกาสการขยายสาขาธุรกิจในเขตแม่โขงเดลต้าที่เชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นๆ ที่อยู่ติดกับเวียดนามด้วย

ขณะที่อุตสาหกรรมค้าปลีกประเทศเวียดนามในปัจจุบันขยายตัวสูงติดต่อกันหลายปี โดยมีธุรกิจค้าปลีกที่เป็นแบรนด์ของคนท้องถิ่นจำนวนมาก อาทิ ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 700 แห่ง ภายใต้แบรนด์ต่างๆ เช่น บิ๊กซี เมโทร แม็กซิม เป็นต้น กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้ากว่า 300 แห่ง เช่น ห้างไดมอนด์ และร้านสะดวกซื้อมากกว่า 1,000 สาขา เช่น แฟมิลี่มาร์ท วินมาร์ท แต่ยังไม่มี
แบรนด์เซเว่นอีเลฟเว่น   

พร้อมปิดท้ายว่าในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (เอนด์ยูสเซอร์) เวียดนาม ไม่ได้กังวลหรือเกิดการต่อต้านสินค้าจากไทยแต่อย่างใดมากนัก แต่จากกระแสข่าวการคัดค้านธุรกิจค้าปลีกคนไทยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น มองว่าเป็นความเคลื่อนไหวของนักธุรกิจท้องถิ่นในเวียดนาม และภาครัฐที่จะออกมาดำเนินการเพื่อปกป้องธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นมากกว่า

ด้วยทิศทางค้าปลีกในเวียดนามเวลานี้ ยังมีโอกาสการเติบโตในอัตราไม่ต่ำกว่า 2 หลัก ต่อไปอีกยา