posttoday

อีกมุมจาก"ภูฏาน"อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด

07 พฤศจิกายน 2560

ผู้ลี้ภัยชาวภูฏานที่โลกลืม กับดัชนีความสุขซึ่งอาจไม่ใช้ความสุขที่แท้จริง

ผู้ลี้ภัยชาวภูฏานที่โลกลืม กับดัชนีความสุขซึ่งอาจไม่ใช้ความสุขที่แท้จริง

เมื่อกล่าวถึงราชอาณาจักรภูฏาน หลายคนคงนึกถึงทิวทัศน์อันสวยงามท่ามกลางเทือกเขาหิมาลัย แหล่งท่องเที่ยวเชิญนิเวศน์ ความเชื่อทางศาสนาพุทธ และสิ่งที่หลายต่อหลายคนกล่าวถึงภูฏานคือเป็นดัชนีความสุขมวลรวมของประเทศที่ภูฏานแสนจะภูมิใจ แต่ก็มีชาวภูฏาน บางส่วนที่คงไม่เห็นด้วย พวกเขาโต้แย้งด้วยเหตุผลที่ว่า หากภูฏานเป็นประเทศที่มีความสุขแล้วเหตุใด ประชากรชาวภูฏานถึง 1 ใน 6 ต้องอพยพไปยังนอกประเทศในฐานะผู้ลี้ภัย

แนวคิดดัชนีความสุขมวลรวมของประเทศ หรือ Gross National Happiness (GNH) เป็นไอเดียจากสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ภูฏาน ได้เสนอแนวคิด"ความสุขมวลรวมในประเทศมีความสำคัญมากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ" โดยหลักการสำคัญของแนวคิดแบบ GNH คือการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมสังคมอย่างยั่งยืนรวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและรักษาวัฒนธรรม นับตั้งแต่นั้นเป็นเวลาสามทศวรรษต่อมา ไอเดียดังกล่าวได้กลายเป็นโรดแมพในการวางแผนพัฒนาประเทศจนกระทั้งภายในปี 2008 แนวคิดดังกล่าวได้ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ

 

อีกมุมจาก\"ภูฏาน\"อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด

 

 แนวคิดดังกล่าวได้นำไปสู่การที่ชนกลุ่มน้อยทางตอนใต้ของภูฏานที่เรียกกันว่าชาวโลตชัมปา  "Lhotshampas" ซึ่งเป็นกลุ่มชาวภูฏานที่มีเชื้อสาย เนปาล ที่พูดภาษาภูฏานได้ ซึ่งมีอยู่หลายชนชาติพันธุ์ ตั้งแต่ชาว Kirat, Tamang, Magar, Brahman, Chhetri และ Gurung กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้อาศัยอยู่บริเวณทางตอนใต้ของประเทศ  ถูกรัฐบาลภูฏานซึ่งใช้แนวคิดดัชนีดังกล่าวค่อยๆครอบงำทางชาติพันธุ์ ทั้งบังคับเครื่องแต่งกายแบบภูฏานทางเหนือจำกัดสิทธิของชุมชนชาวเนปาลทางตอนใต้ของประเทศในการเคลื่อนย้ายและถือครอง ทรัพย์สิน การจัดสรรที่ดินในเส้นทางเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวหลัก โดยกีดกันคนชาวโลตชัมปา เกิดความไม่พอใจขึ้นในหมู่ ชาวโลตชัมปาจึงตั้งพรรค Bhutan Peoples' Party ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของตัวเองในการเข้าไปมีส่วนในการเมือง แต่ก็ยังถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐสภา อีกทั้งยังถูกกองทัพภูฏาน ปราบปรามอย่างหนักมีคนเสียชีวิตหลายร้อย และถูกจับอีกหลายพัน โดยอ้างว่าคนพวกนี้เป็นผู้ก่อการร้าย เป็นพวกคอมมิวนิสต์ มีอาวุธไว้ในครอบครอง จากนั้น รัฐบาลกรุงทิมพูได้ยัดเยียดภาษา, การแต่งกายและวัฒนธรรมของชาวทิเบตทางเหนือซึ่งเป็นวัตนธรรมหลักของชนชั้นปกครองภูฏาน แก่กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีอยู่ถึงเกือบสองในสามของประชากรทั้งประเทศ ทำให้แนวคิดของ GNH นักวิจารณ์มองว่าเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อที่รัฐบาลภูฏานใช้เพื่อกวาดล้างกลุ่มชาติพันธฺ์และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

อีกมุมจาก\"ภูฏาน\"อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด

 

 จนกระทั้งนำไปสู่การประท้วงใหญ่ของชาวภูฏานเชื้อสายเนปาลในช่วงทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลภูฏานได้ใช้มาตรการปราบปรามอย่างรุนแรง และมีการเปลี่ยนกฏหมายการถือสัญชาติในปี 1988 ส่งผลให้มีการผลักดันผู้ชาวภูฏานเชื้อสายเนปาลออกนอกประเทศ โดยรัฐบาลใช้นโยบายที่เรียกว่า One Country, One People เพื่อบังคับให้ชนกลุ่มน้อยซึมซับวัฒนธรรมและศาสนาแบบชาวภูฏาน

 ปัจจุบันตามรายงานของประเทศที่รับผู้ลี้ภัยชาวภูฏานตั้งแต่ปี 2011-2017 พบว่ามีชาวภูฏานราว 227,000 รายที่อพยพลี้ภัยในต่างประเทศ ยังไม่รวมถึงผู้ลี้ภัยอีกเกือบแสนคนที่รอการส่งตัวไปยังประเทศที่สามซึ่งติดอยู่ตามค่ายผู้อพยพบริเวณชายแดนบังกลาเทศ และ บริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ผู้อพยพส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในค่ายที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อยต้องอาศัยอยู่ในค่ายอพยพมาถึง 16 ปีแล้ว

อย่างไรก็ดีภายหลังที่ภูฏานจัดการเลือกตั้งเมื่อปี2013ที่ผ่านมา ภูฏานก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือนายเซอริง ทบเกย์ อดีตผู้นำฝ่ายค้าน นายทบเกย์ได้ตั้งคำถามต่อปรัชญาความสุขมวลรวมประชาชาตินี้ นายทบเกย์กล่าวไว้ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งว่า รัฐบาลภูฏานให้ความสำคัญกับ GNH มากเกินไป ที่ผ่านมา นโยบายทุกอย่างถูกวางเพื่อนำไปสู่ GNH เช่น ประชาธิปไตยเพื่อความสุขมวลรวม สื่อเพื่อความสุขมวลรวม การศึกษาเพื่อความสุขมวลรวม การเกษตรอินทรีย์เพื่อความสุขมวลรวม และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความสุขมวลรวม

อีกมุมจาก\"ภูฏาน\"อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด

 

 นายกรัฐมนตรีทบเกย์ กล่าวว่า แม้ว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจจะไม่ใช่เป้าหมายเดียว และไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่การที่รัฐบาลภูฏานที่ผ่านๆ มาหมกมุ่นอยู่กับ GNH ทำให้ละเลยปัญหาคนตกงาน ปัญหาคอรัปชั่น และปัญหาหนี้สิน จนมันรุนแรงเรื้อรังถึงทุกวันนี้ นายทบเกย์กล่าวเสริมว่า รัฐบาลได้ตั้ง "ผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนมากมาศึกษาว่า ความสุขคืออะไร และจะสอนประชาชนให้มีความสุขได้อย่างไร กลายเป็นว่า ความสุขไม่ใช่ความรู้สึกของปัจเจกบุคคล แต่กลับเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องได้รับการ "สอน" ให้รู้วิธีมีความสุข  สิ่งที่นายทบเกย์พูด ชี้ให้เห็นความกลับตาลปัตรที่สำคัญ นั่นคือ แทนที่ประชาชนจะเป็นคนบอกรัฐบาลว่าความสุขของพวกเขาคืออะไร และรัฐบาลควรออกนโยบายอะไรมาเพื่อสร้างความสุขให้ กลับกลายเป็นว่า รัฐบาลเป็นผู้มาบอกประชาชนว่าควรมีความสุขกับอะไร และควรมีวิถีชีวิตแบบใดจึงจะมีความสุข

ชาวภูฏานคนหนึ่งกล่าวว่า ทุกวันนี้ชาวภูฏานก็ยังยากจน ขาดสารอาหาร และคอรัปชั่นในวงราชการก็ยังสูงลิ่ว เขาถามว่า "ไหนล่ะคือความสุข?" เขากล่าวต่อว่า ในภูฏาน ความสุขนั้นผูกขาดโดยผู้มีอำนาจ พวกเขาขับรถหรู มีบ้านหลังใหญ่ เป็นเจ้าของร้านอาหารและโรงแรม กษัตริย์องค์ก่อนก็มีพระชายาถึง 5 พระองค์ ในขณะที่คน 1 ใน 6 ของประเทศต้องอพยพหนีความจนออกนอกประเทศ

 

อีกมุมจาก\"ภูฏาน\"อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด