posttoday

โลกสามารถเพิกถอนรางวัลโนเบลจาก 'ซูจี' ได้หรือไม่?

07 กันยายน 2560

นางซูจีไม่ใช่คนแรกที่ถูกวิจารณ์ให้ยึดคืนรางวัลโนเบลสันติภาพ ก่อนหน้านี้โอบามาก็เช่นกัน

นางซูจีไม่ใช่คนแรกที่ถูกวิจารณ์ให้ยึดคืนรางวัลโนเบลสันติภาพ ก่อนหน้านี้โอบามาก็เช่นกัน

โดย ... ชยพล พลวัฒน์

ออง ซาน ซูจี ผู้นำของพม่าและผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1991 ผู้ซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวแทนในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของเมียนมา กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากนานาชาตินับตั้งแต่วันจันทร์ ที่ผ่านมาจาก การที่นานาชาติกล่าวประนามการใช้ปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาลเมียนมาต่อกลุ่มมุสลิมโรฮีนจา หลายพันคน ที่ใช้ความพยามในการหลบหนีความรุนแรงจากรัฐยะไข่ ข้ามพรมแดนไปยังบังกลาเทศ

ภายหลังจากที่เกิดการประท้วงไปทั่วภูมิภาคในรัฐยะไข่ ส่งผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผูู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลเช่นเดียวกันกับเธอถึงความเหมาะสมว่าเธอยังคงควรคู่กับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่เคยได้รับในปี 1991 หรือไม่ พร้อมกับมีเสียงจากผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียหลายฝ่าย รณรงค์แคมเปญใน change.org เพื่อให้ยึดคืนรางวัลโนเบลสันติภาพจากเธอ ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้งานที่ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 361,852 คน

กระแสความไม่พอใจนางอองซานซูจี เริ่มแผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคในอาเซียนโดยเฉพาะชาติที่มีประชากรเป็นชาติมุสลิมจำนวนมากอย่างอินโดนีเซีย ในกรุงจาร์การ์ต้าเมืองหลวง มีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงจำนวนมากที่พวกเขาเรียกการกระทำของรัฐบาลเมียนมาต่อชาวโรฮีนจาว่าเป็น "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์"  หนึ่งในผู้ชุมนุมกล่าวว่า "โลกยังคงนิ่งเงียบต่อการสังหารหมู่ชาวมุสลิมโรฮีนจา"

ชะตากรรมของชาวมุสลิมโรฮีนจาได้เป็นที่ดึงดูดความสนใจ ของผู้คนทั่วโลก รวมถึงผู้ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลเช่นเดียวกับนางซูจี โดย ล่าสุด นางสาวมาลาลา ยูซัฟไซ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่อายุน้อยที่สุด ทวีตข้อความเรียกร้องให้ออง ซาน ซูจี ประณามการกระทำที่น่าอับอายต่อชาวโรฮีนจา โดยมาลาลาเผยว่า หลายปีที่ผ่านมาตัวเธอเองประณามการกระทำที่โหดร้ายทารุณต่อมนุษย์ด้วยกันหลายครั้ง และครั้งนี้เธอหวังว่าอองซาน ซูจี จะแสดงท่าทีเช่นเดียวกับเธอบ้าง เพราะผู้คนทั้งโลกและชาวโรฮีนจากำลังรอให้มุขมนตรีแห่งเมียนมาออกมาแสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าว

โลกสามารถเพิกถอนรางวัลโนเบลจาก 'ซูจี' ได้หรือไม่?

 ในปีที่แล้ว มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลหลายราย ได้แก่ นางสาว มาลาลา ยูซัฟไซ, เดสมอนด์ ทูทู และคนอื่นๆอีก 11 คน ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก "เตือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ในเมียนมา ซึ่งภายหลังที่มีการเปิดเผยจดหมายดังกล่าว มีผู้ใช้งานโซเชียลหลายราย ได้เรียกร้องให้ยึดคืนรางวัลโนเบลจากนางซูจี

โดยนางซูจีไม่ใช่คนแรกที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาสมกับรางวัลโนเบล โดยก่อนหน้านี้  นายบารัก โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2009 รวมถึงนาย ยัดเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ ก็เคยได้รับเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมเช่นเดียวกัน

ในการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมกับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพนั้นจะมีคณะกรรมการโนเบล เป็นผู้พิจารณาถึงคุณสมบัติและความเหมาะสมกับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ โดยคณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลทุกคนจะเป็นชาวนอร์เวย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภานอร์เวย์

นาย Gunnar Stalsett อดีตคณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลในปี1991 ซึ่งเป็นผู้พิจารณารางวัลโนเบลสันติภาพแก่นางซูจี กล่าวว่า "รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไม่เคยถูกเพิกถอนและไม่มีสถานะเป็นผู้พิพากษาเพื่อยึดคืนหรือตำหนิผู้ได้รับรางวัล" "หลักการที่เราปฏิบัติคือการตัดสินใจมอบรางวัลไม่ใช้มอบคำตัดสินแก่ผู้รับรางวัล" นาย Stalsett กล่าว " เมื่อการตัดสินใจของคณะกรรมการได้กระทำลงไปแล้วถือเป็นที่สิ้นสุด"  

 แต่ถึงอย่างไรก็ตามเสียงข่มวิจารณ์ต่อนางซูจีได้ กลายเป็นที่กล่าวถึงต่อสถานะขอเธอว่าเธอจะยังคงเป็น"นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย"ที่แท้จริงต่อชาวโลกหรือไม่