posttoday

จำคุกทายาทซัมซุง ฤาจะถึงจุดจบ'แชโบล'เกาหลีใต้?

02 กันยายน 2560

วิบากกรรมทายาท 'ซัมซุง' บททดสอบธุรกิจ'แชโบล'

วิบากกรรมทายาท 'ซัมซุง' บททดสอบธุรกิจ'แชโบล'

โดย...ชยพล  พลวัฒน์

ผลจากคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา ตามที่ศาลชั้นตั้นของเกาหลีใต้ มีคำพิพากษาให้นายลี แจ ยอง รองประธานซัมซุงกรุ๊ปผู้นำด้านเทคโนโลยีแดนโสมวัย 49 ปี มีความผิดฐานติดสินบนต่ออดีตประธานาธิบดีปาร์ก กึน เฮ ถือเป็นคดีคอร์รัปชันระดับสูงที่อื้อฉาวเพราะศาลจับได้ว่ามีการให้เงินให้ทองเพื่อได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีปาร์ก กึน เฮ ในขณะนั้นเพื่อให้เธอใช้อำนาจทางการเมืองเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของซัมซุง ไม่แต่เท่านั้น ทายาทคนสำคัญของซัมซุงคนนี้ยังโดนข้อหาให้การเท็จ ฉ้อโกง และซุกซ่อนสินทรัพย์ไว้ต่างแดนอีกด้วย

อัยการระบุว่าบริษัทยังเสนอบริจาคเงินราว 1,400 ล้านบาทให้องค์กรที่นางเช ซุน ชิล เพื่อนสนิทนางสาวปักคอยสนับสนุน การที่ศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 5 ปี ในข้อหาติดสินบน ฉ้อโกง และให้เงินบริจากแก่นางเชซุนซิล คนสนิทของอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้นั้น ซึ่งภายหลังถูกศาลพิพากษาถอดถอนออกจากตำแหน่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลายฝ่ายจึงจับตามองว่า การตัดสินจำคุกนายลีแจยองในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่่มต้นของจุดจบระบบธุรกิจแชโบลของเกาหลีใต้หรือไม่

 

จำคุกทายาทซัมซุง ฤาจะถึงจุดจบ'แชโบล'เกาหลีใต้? นายลี แจ-ยอง ขณะถูกควบคุมตัว

 

 "แชโบล" คือ กลุ่มธุรกิจครอบครัวขนาดยักษ์ หรือกลุ่มธุรกิจเอกชนระดับเรือธงของเกาหลีใต้ ที่มีรายได้รวมกันแล้วคิดเป็น จีดีพี ส่วนมากของประเทศเกาหลีใต้ หรืออาจสูงถึงประมาณ 80% ส่วนมากก็เป็นบริษัทชื่อดังที่เรารู้จักกันดีเช่น ซัมซุง, แอลจี, ฮุนได โดยหากย้อนกลับไปในช่วงปี 1960s ในยุคของประธานาธิบดีปาร์ก จุง-ฮี ซึ่งได้รับการเชิดชูจากการทำให้เศรษฐกิจของประเทศรุ่งเรือง ครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของระบบแชโบลที่กลายมาเป็นกระดูกสันหลังของชาติที่ทำให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้นเป็นต้นมา แชโบลได้กลายเป็นหนึ่งในองคาพยพที่สำคัญที่ทรงอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของเกาหลีในแทบทุกระดับ การเติบโตของธุรกิจของแชโบลเชื่อกันว่าได้รับการเอื้ออำนาจรัฐกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การพยายามแยกดุลอำนาจระหว่างแชโบลกับการเมืองของเกาหลีใต้เริ่มต้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1990 เมื่อรัฐบาลของประธานาธืบดี คิม ยอง-ซัม ได้ให้คำมั่นว่าจะควบคุมกลุ่มแชโบลไม่ให้ก้าวล่วงอำนาจรัฐหรือกรอบกฎหมาย แต่ทว่า ก็ยังมีกรณีกลุ่มแชโบลกระทำความผิดอยู่หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี การติดสินบน การหลบเลี่ยงภาษี

 

จำคุกทายาทซัมซุง ฤาจะถึงจุดจบ'แชโบล'เกาหลีใต้? นายมุน เจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

 

 จนกระทั่งในปี 1980 รัฐบาลเกาหลีใต้ออกกฏหมายต้านการผู้ขาดการค้าซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งหน่วยงานเฝ้าระวังการผูกขาดการค้าจากกลุ่มแชโบลขึ้นมา ทั้งนี้ การออกกฎหมายดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการตอบสนองต่อความหวั่นกลัวในสังคมที่มีเพิ่มมากขึ้นว่ากลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จะขยายการแสวงหาผลกำไรในการทำธุรกิจที่อยู่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมหลักที่ตนเองยึดครองในตลาดอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นการคุกคามต่อกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ก็เป็นพลังหลักของการสร้างงานภายในประเทศเช่นกัน ให้ถูกบีบออกจากวงจรการทำธุรกิจได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม แต่แม้จะมีความพยายามควบคุมอิทธิพลการดำเนินธุรกิจของกลุ่มแชโบลมากขึ้น แต่มาตรการดังกล่าวก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก เพราะกลุ่มแชโบลยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ทรงพลังของประเทศอยู่ดี

อย่างไรก็ตาม ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจช่วงปี 1997-2000 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในกลุ่มแชโบลลดลงอย่างมาก เนื่องจากชาวเกาหลีใต้มองว่า กลุ่มแชโบลเน้นการทำธุรกิจเผื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเป็นหลัก และกลุ่มแชโบลยังเป็นต้นเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ การบริหารของกลุ่มแชโบลยังขาดความโปร่งใส มีการติดสินบนและฉ้อโกงอย่างกว้างขวาง

จนกระทั่งล่าสุดเมื่อปลายปี 2016 หลังจากที่ชาวเกาหลีใต้หลายแสนคนออกมาประท้วงนางสาวปาร์กกึนเฮ อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และกลุ่มแชโบล ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนทางการเมืองของนางปาร์ก จนนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองและการถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง

จำคุกทายาทซัมซุง ฤาจะถึงจุดจบ'แชโบล'เกาหลีใต้? นางสาวปาร์ก กึน เฮ อดีตประธานาธิบดี

 นายมุน แจ อิน ประธานาธิบดี ซึ่งออกนโยบายในช่วงหาเสียงโดยหยิบยกประเด็นเรื่องการกวาดล้างการคอร์รัปชัน รับสินบน และขจัดอิทธิพลของกลุ่มแชโบลเป็นแคมเปญหลัก พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจหลายต่อหลายคนที่เป็นสายเหยี่ยวในมือปราบแชโบล เช่นแต่ตั้งนาย คิม ซัง โจ เป็นหัวหน้าสำนักงานตรวจสอบความโปร่งใส่โดยมุ่งตรวจสอบกลุ่มทุนขนาดใหญ่โดยเฉพาะ หรือการประกาศเก็บภาษีจากกลุ่มธุรกิจแชโบลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 เปอร์เซ็นต์ เป็นร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์ พร้อมประกาศว่าจะลด เครดิตภาษีสำหรับโรงงานและหน่วยวิจัยของบริษัทขนาดใหญ่อีกด้วย

 แต่ทั้งนี้ การชูนโยบายปฎิรูปแชโบลของนายมุน แจ อิน นั้นหลายฝ่ายกลับตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินคดีนายลี แจ ยอง นั้นเป็นเพียงการ "เชือดไก่ให้ลิงดู" เพียงเท่านั้น โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กตั้งข้อสังเกตว่า แม้นายมุน แจ อิน จะชูนโยบายการปฏิรูปกลุ่มแชโบล แต่นโยบายสำคัญของนายมุนที่ให้น้ำหนักมากที่สุดคือการ รับมือภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ

จำคุกทายาทซัมซุง ฤาจะถึงจุดจบ'แชโบล'เกาหลีใต้? ประธานบริษัทกลุ่มแชโบลให้การต่อศาล

 นอกจากนี้ ปัจจุบันกลุ่มแชโบลยังถือเป็นกุญแจสำคัญในการเจรจาต่อรองกับสหรัฐ หลังจากที่ผู้นำสหรัฐมีท่าทีต้องการให้สหรัฐและเกาหลีใต้ทบทวน ข้อการค้าเสรีที่ลงนามรวมกันใหม่ ที่นายทรัมป์มองว่า เป็นข้อตกลงที่ทำให้สหรัฐเสียผลประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปัจุบันยังคง ดำเนินอยู่ด้วยบริษัทใหญ่อย่างเช่นกลุ่มแชโบลเช่นนี้อยู่ต่อไปอย่างลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้วยเหตุนี้เอง บลูมเบิร์กจึงมองว่า คำพิพากษาจำคุกนายมุน จึงเป็นเพียงการลดแรงกดดันทางการเมืองและความเกรี้ยวโกรธของประชาชนลง ช่วยให้นายมุนไม่จำเป็นต้องแสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวท้าทายกลุ่มแชโบล และหันไปให้ความสำคัญกับนโยบายด้านอื่นๆ แทน ในขณะที่ระบบแชโบลจะคงอยู่และมีอิทธิพลในสังคมเกาหลีใต้ต่อไป

อย่างไรก็ดีคงต้องจับตามองต่อไปว่าคราวนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปกลุ่มแชโบลอย่างจริงจังของรัฐบาลหรือจะเป็นเพียงแค่หนึ่งเกมส์การเมืองที่ลดแรงกดดันของประชาชนเพียงเท่านั้น เพราะอย่างไรเสีย "แชโบล" ยังคงทรงอิทธิพลในเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ต่อไปอย่างเลี่ยงไม่ได้