posttoday

10 ประเทศที่อ้าแขนรับผู้อพยพมากที่สุด

05 ตุลาคม 2559

ประเทศที่รับผู้อพยพมากที่สุดล้วนเป็นประเทศยากจน ประเทศเหล่านี้ต้องรับผิดชอบจำนวนผู้อพยพมากกว่าครึ่งของวิกฤติทั้งโลก สิ่งนี้กำลังสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียม

ประเทศที่รับผู้อพยพมากที่สุดล้วนเป็นประเทศยากจน ประเทศเหล่านี้ต้องรับผิดชอบจำนวนผู้อพยพมากกว่าครึ่งของวิกฤติทั้งโลก สิ่งนี้กำลังสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียม

องค์การนิทโทษกรรมสากลได้เผยแพร่อันดับ 10 ประเทศในโลกที่เปิดรับผู้อพยพมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นประเทศยากจน และมีจีดีพีรวมกันคิดเป็นเพียง 2.5% ของเศรษฐกิจโลก แต่บรรดาประเทศเหล่านี้รับภาระในการดูแลผู้อพยพเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนวิกฤติผู้อพยพทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้

รายงานที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาระบุว่า เหตุที่ประเทศเหล่านี้ต้องรับภาระก็เพราะมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศที่เกิดวิกฤติ ซึ่งกำลังสะท้อนความไม่เท่าเทียมกันของสัดส่วนความรับผิดชอบ ที่บรรดาประเทศร่ำรวยมีต่อประเทศยากจน

จำนวน 56% ของผู้อพยพทั้งหมด หรือคิดเป็นประมาณ 21 ล้านคนล้วนกระจายกันอยู่ใน 10 ประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา สำหรับอันดับหนึ่งได้แก่จอร์แดนที่มีจำนวนผู้อพยพมากถึง 2.7 ล้านคน ส่งผลให้จอร์แดนเป็นประเทศที่เปิดรับผู้อพยพ และผู้ลี้ภัยมากที่สุดในโลก

10 ประเทศที่อ้าแขนรับผู้อพยพมากที่สุด

อันดับที่ 2 คือตุรกี จำนวน 2.5 ล้านคน ตามมาด้วยปากีสถาน 1.6 ล้านคน และเลบานอนจำนวน 1.5 ล้านคน เหล่านี้คือประเทศที่รับผู้อพยพเกินหลักล้าน อันดับที่ 5 เป็นของอิหร่านมีจำนวนผู้อพยพ 979,400 คน ตามมาด้วยเอธิโอเปีย 736,100 คน, เคนยา 553,900 คน, อูกานดา 477,200 คน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 383,100 คน และอันดับที่ 10 ชาด 369,500 คน

10 ประเทศที่อ้าแขนรับผู้อพยพมากที่สุด

นอกจากนั้นองค์การนิรโทษกรรมสากลยังยกตัวอย่างให้เห็นความแตกต่าง ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ประเทศอังกฤษรับผู้อพยพจำนวนน้อยกว่า 8,000 คน ในขณะที่ประเทศจอร์แดนซึ่งมีจำนวนประชากรน้อยกว่าชาวอังกฤษถึง 10 เท่า และมีจีดีพีรวมเพียง 1.2% ต้องรับหน้าที่ในการดูแลผู้ลี้ภัยถึง 655,000 คน

ซึ่งทางองค์กรได้หาวิธีแก้ไขปัญหา โดยเสนอให้บรรดาประเทศร่ำรวยเหล่านี้รับผู้อพยพจำนวน 10% จากทั้งหมด เข้าไปในประเทศทุกๆปี เช่นเดียวกับที่แคนาดาทำเมื่อปีที่ผ่านมาด้วยการรับผู้อพยพชาวซีเรียจำนวน 3 แสนคนเข้าประเทศ

Salil Shetty เลขาธิการองค์การนิรโทษกรรมกล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่บรรดาผู้นำโลกต้องจริงจังในการแก้ไขปัญหา และคิดหาทางว่าประเทศของพวกเขา สังคมของพวกเขาจะมีส่วนช่วยเหลือผู้คนเหล่านี้ที่ต้องถูกบังคับให้ออกจากบ้านเพราะสงคราม และความรุนแรงได้อย่างไร รวมทั้งเป็นวิกฤติที่ต้องหาคำตอบว่าเหตุใดโลกที่ขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีเช่นปัจจุบัน ไม่สามารถหาบ้านให้แก่ผู้ลี้ภัยจำนวน 21 ล้านคนได้ ซึ่งคิดเป็นเพียง 0.3% จากสัดส่วนประชากรของทั้งโลก

 

ขอบคุณอัลจาซีรา